実際応用:内省することが何より

              การนำไปประยุกต์ที่ว่านี้ ไม่ใช่การนำการแนะนำตัวที่เรียนไปประยุกต์ตรง ๆ แต่เป็นการพยายามทบทวนข้อผิดพลาดของตัวเองซึ่งได้ทำไปในคาบเรียนสัปดาห์แรกนั่นเอง หลังจากทำก็รู้ถึงความสำคัญของการทบทวนกับการเรียนภาษาและการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

              เหมือนชีวิตปี 3 กลับไปเหมือนตอนที่เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นใหม่ คือแนะนำตัวถี่เหลือเกิน แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปคือ ตอนที่เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นใหม่ ๆ น่ะ อันนั้นมัน 入門・初級 แต่ที่เรียนอยู่ตอนนี้เนี่ย 上級を目指しながらの勉強 คือเรียนแบบโปร ที่เรียนอยู่ตรงนั้น จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อการสื่อสารแล้ว จุดประสงค์นี่มุ่งเพื่อการพูดให้เป็นธรรมชาติแบบชาวญี่ปุ่น ซึ่งยากมากกกกก เพราะไม่ได้เรียนตั้งแต่เด็ก ภาษาแม่ไม่ได้เอื้อต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นเลยแม้แต่น้อย (อาจจะมีส่วนที่เอื้อกันในตรงที่เราไม่รู้ก็ได้ จุดนี้ 対照言語学 ศาสตร์แห่งการศึกษาภาษาแม่เทียบกับภาษาญี่ปุ่นเพื่อการเรียนภาษาญี่ปุ่น มันต้องมาแล้วล่ะ)  และสภาพแวดล้อมที่นอกห้องเรียนที่เอื้อในการเรียนภาษาญี่ปุ่นน้อยมาก

              ในคาบสนทนาภาษาญี่ปุ่นในวันอังคารที่ผ่านมา (22 มกราคม) เรียนเรื่องการใช้ フィラー (ฟิลเลอร์: คำที่พูดเพื่อไม่ให้เกิดความเงียบระหว่างบทสนทนา แสดงให้คู่สนทนาเห็นว่า กำลังนึกหรือคิดอยู่ เป็นต้น ตัวอย่างคำเช่น あのう、その、まあ、なんか) สิ่งที่ยากที่สุดในการเรียนสิ่งนี้ก็คือ…

         แนะนำตัวโดยไม่ใช้ フィラー!!

              อาจารย์คนโดให้เงื่อนไขว่าจงแนะนำตัวกับเพื่อนโดยพยายามไม่ให้ใช้คำฟิลเลอร์เลย หากเผลอพูดจะต้องหยุดและเปลี่ยนผลัดการสนทนาทันที ปรากฎว่า…พูดได้สามคำต้องเปลี่ยนผลัด ไม่รู้เรื่องสักทีเพราะเผลอพูดฟีลเลอร์ตลอดเลย มันห้ามไม่ได้ เพราะพอนึกคำพูดไม่ออกปุ๊ป ปากนี่เผลอพูดฟิลเลอร์ก่อนเลย เพราะคิดว่าถ้าปล่อยให้บทสนทนาเงียบไปเลยน่าจะแย่กว่าการพูดอะไรออกมาสักอย่าง แม้จะไม่มีสาระอะไรก็ตาม (แล้วก็พบทีหลังว่า ฟิลเลอร์ก็มีสาระนะ มันสื่อความหมายนะ!)

              อาจารย์ให้อัดเสียงบทสนทนาไว้ แล้วมาฟังทีหลังพร้อมทั้งนับว่าตัวเองพูดคำฟิลเลอร์ไปเยอะขนาดไหน

              มาฟังอีกรอบแล้วก็อืม…ช่างน่าเกลียดอะไรขนาดนี้ ตอนพูดไม่เท่าไหร่ ตอนกลับมาฟังนี่สิ ทำให้รู้ว่าตัวเองติดพูดฟิลเลอร์เยอะมาก ตอนที่แนะนำตัวในคาบ App Jp Ling เมื่อสัปดาห์แรกนั่นพูดไม่เยอะเท่าไหร่เพราะพูดแค่สั้น ๆ แต่พอเป็นบสนทนายาว ๆ แล้วปรากฎว่าพูดเยอะมาก โดยเฉพาะคำว่า まあ บทสนทนา 3 นาที…

              พูดคำว่า まあ ไป 8 ครั้งถ้วน! ยังไม่รวมฟิลเลอร์อื่นอีก

              หลังจากที่ทดลองการแนะนำตัวโดยไม่ใช้ฟิลเลอร์ผ่านไป อาจารย์คนโดก็อธิบายว่า ไอจะไม่พูดฟิลเลอร์เลยก็คงไม่ได้หรอก แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่พอดีและใช้อย่างเหมาะสมต่างหาก เช่น ถ้าพูดว่า あのう แสดงว่ากำลังคิดอะไรอยู่สักอย่างนึง และ!!

              มีเราและเพื่อนจำนวนไม่น้อยที่ติดใช้คำว่า で เป็นฟิลเลอร์ อาจารย์บอกให้ระวังมาก ๆ เพราะอันนี้มันหมายถึง それで ซึ่งเป็นคำเชื่อม ถ้าใส่เข้ามาสุ่มสี่สุ่มห้า อาจจะทำให้คู่สนทนาคงเรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งที่เราพูดมากกว่าเดิม

              อาจารย์คนโดก็ให้ลองพูดอีกรอบ คราวนี้มีเรื่องมาให้เลือก 3-4 เรื่อง (ความทรงจำเลือนลาง จำได้แต่เฉพาะที่ตัวเองพูดไปเนี่ย) ซึ่งมีเรื่องเป้าหมายของปีนี้อยู่ ก็เลยเลือกยกหัวข้อนี้ขึ้นมาใช้ในบทสนทนา เป้าหมายปีนี้ก็คืออยากได้ทุนมง (แม้จะช่างห่างไกล ฮือออ) ก็คุยไปแล้วก็อัดเสียงเอาไว้ฟังที่หลังด้วย แต่คราวนี้อาจารย์สั่งให้ถอดเทปทั้งบทสนทนา ไม่ได้ให้จับแค่ฟิลเลอร์แล้ว หลังจากฟังแล้วก็ อืม…หายนะ

พอระวังไม่ให้ตัวเองพูดคำว่า まあ ก็ดันเผลอพูดคำอื่นแทนซะงั้น あのう、そうですね、その มาเต็ม

มันจะเผลอพูดอะไรนักหนา อยากตายไปเสียให้พ้น ๆ แง

              เศร้าอีกแล้ว

              แต่ไม่เป็นไร ได้วิธีเรียนแบบนี้มา ก็แค่พูดแล้วมาฟังทบทวน พยายามย้อนมาฟังสิ่งที่พูด เวลาพูดก็มีสติขึ้นหน่อย แม้จะพูดง่ายทำยากก็เถอะ แหะ ๆ

1 thoughts on “実際応用:内省することが何より

  1. จริงๆการใช้ フィラー มันห้ามไม่ได้หรอกค่ะ แต่อย่างที่อ.เขาว่าหากใช้มากไปหรือใช้บางตัวอาจจะทำให้รู้สึกว่าเราเป็นเด็ก มีสส.ญี่ปุ่นคนหนึ่งชื่อ 小泉進次郎 เขาบอกว่าเขาจะฟังเทปที่ตนเองพูด speech เสมอ และการฟังเสียงตนเอง(เพื่อจะได้นำไปแก้ไขทีหนูเรียกว่า 内省) นี้เป็นสื่อการสอนที่ดีที่สุดมากกว่าหนังสือหรือตำราใด ตอนแรกเขาพบว่าเขาใช้ フィラー มาก เขาเลยฝึกไม่ให้ตนเองใช้เลยค่ะ มีตย.youtube ที่เขาพูด 2 นาทีเกี่ยวกับความสำคัญของการฟังเสียงตนเองเพื่อนำไปปรับปรุงค่า (หากสนใจนะคะ) https://www.youtube.com/watch?v=9hF2ueHl8is

    Liked by 1 person

ใส่ความเห็น