教室の外:エピソードって思ったより大事だなあ

    เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปลองข้อสอบทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งในข้อสอบฉบับภาษาญี่ปุ่นที่ใช้สอบมีการแบ่งระดับเป็น Beginner-Intermediate-Advance ซึ่งแน่นอนว่าเราทำได้แบบกระท่อนกระแท่นถึง Intermediate ส่วน Advance ก็จะไม่ปล่อยเบลอไป ไม่อยากพูดถึงแล้ว มันเจ็บบบบ

              สิ่งที่น่าสนใจไม่ใช่การทำข้อสอบไม่ได้ของเราแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องบทความที่เราได้อ่านในส่วนของข้อสอบการอ่านระดับ Intermediate คือมันเป็นบทอ่านเกี่ยวกับเรื่อง エピソード EPISODE เอพิโสด!! ตอนเห็นบทความก็แบบ คิดในใจ อีกแล้วหรือจ๊ะ หลอกหลอนเก่งเหลือเกิน แต่อ่านไปแล้วเราก็พบประเด็นน่าสนใจอยู่ไม่น้อยทีเดียว (แต่เราหาบทความต้นฉบับไม่เจอ จำได้แต่เนื้อเรื่องคร่าว ๆ)

              อันนี้เป็นบทความเกี่ยวกับการจดจำและรับรู้ความหมายของคำคำหนึ่งในภาษาญี่ปุ่นของคนญี่ปุ่น อันนี้อาจจะเกี่ยวพันทั้งเรื่อง episode และเรื่อง Behaviorism ด้วย คือการจดจำคำต่าง ๆ จากที่ผู้ใหญ่สอนของเด็ก และอาจจะประกอบ UG หรือ Universal Grammar ของ Noam Chomsky อยู่เล็กน้อยด้วย UG ที่ว่าเป็นหลักการว่าด้วยเรื่องสมองของเราก็มีส่วนของการรับรู้และสร้างภาษาอยู่ตั้งแต่กำเนิดแล้ว ไม่ใช่การเลียนแบบพฤติกรรมผู้ใหญ่ทั้งหมด

Hello, it’s me. Chomsky~

              ในบทความเริ่มด้วยการเล่าว่า ในการใช้ชีวิตประจำวันของเราเนี่ย เรามีการแปลความหมายของสิ่งต่าง ๆ อยู่ในหัวตลอดเวลา เช่น เวลาเดินไปคอมบินิ ในหัวเรารับรู้นะว่าของในคอมบินิเนี่ยยังไม่ใช่ของของเราจนกว่าเราจะจ่ายเงิน เราถึงจะจัดการกับสิ่งที่เราซื้อมาอย่างไรก็ได้

    ซึ่งในบทความเขียนเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องการรับรู้ความหมายของคำ โดยในบทความยกคำว่า やわらかい (นุ่ม) ขึ้นมา แล้วเล่าว่าเด็กคงจะได้ยินคำนี้ครั้งแรก ตอนที่ผู้ใหญ่จับที่ผิวแล้วบอกว่าผิวของเด็กนุ่ม อันนี้ที่เราคิดว่าเป็น behaviorism แต่ระหว่างที่เติบโต ดำเนินชีวิตต่อมาเรื่อย ๆ เราก็จะสามารถรับรู้ความหมายของคำว่า やわらかい ได้ผ่าน episode ต่าง ๆ ที่เราได้พบเจอ เมื่อเราเจอคำนี้อีก สมองก็จะดึง episode ในความทรงจำของเราออกมาเพื่อบอกว่า やわらかい นี้ใช้ในความหมายใด

    ถึงแม้จะไม่สามารถนึก episode ที่เกี่ยวข้องกับคำดังกล่าวได้ทั้งหมด แต่ความหมายของคำที่เรารับรู้มาก็ยังคงอยู่ในสมอง ตรงนี้เราว่าเกี่ยวกับ UG ซึ่งมันไม่ใช่การรับมาโดยตรง แต่เป็นการรับความหมายมาแล้วเอามาตีความเองใหม่ แม้จะไม่เคยเจอมาก่อนก็สามรรถเข้าใจความหมายได้

    แต่วิธีการรับรู้ความหมายของคำศัพท์นี้จะเกิดก็ต่อเมื่อได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้ภาษานั้นเป็นหลัก เช่น หากอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เราก็จะรับรู้ความหมายของคำภาษาญี่ปุ่นผ่านการรับรู้ episode ต่าง ๆ เป็นหลัก ไม่ใช่การเปิดพจนานุกรมเพื่อหาความหมาย

    บทความก็พูดต่อไปถึงเรื่องการที่เด็กญี่ปุ่นเรียนเรียนภาษาอังกฤษแล้วไม่ใช่สามารถนำไปใช้ได้ ก็มีสาเหตุมาจากเรื่องที่ไม่ได้ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก การรับรู้ความหมายของศัพท์จึงต้องอาศัยการเปิดพจนานุกรม ไม่ใช่การรับรู้ผ่าน episode ที่จะทำให้เราสามารถรับความหมายของคำได้โดยไม่ต้องท่อง

    อ่านแล้วก็มาย้อนมองตัวเอง ตอนเรียนภาษาญี่ปุ่นช่วงแรก ๆ ก็เป็นแบบนั้นจริง ๆ อาศัยการท่องศัพท์แบบนกแก้วนกขุนทอง ท่องเสร็จ สอบ ลืม! แต่รู้สึกว่าหลังจากที่ได้เข้ามาเรียนในเอก อยู่ในสภาพที่รอบตัวมีการใช้ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น รูปแบบการจำศัพท์ของเราก็เริ่มเปลี่ยนไปเหมือนกัน ศัพท์ที่จำได้คือศัพท์ที่ใช้บ่อยในห้อง อาจารย์พูดขึ้นมาแล้วมันวนเวียนในหัว หรือมีอะไรสักอย่างเกี่ยวข้องกับมัน แต่ศัพท์ที่ท่องไปสอบแต่ละครั้งเนี่ย ไม่เหลือ! จบเพียงเท่านี้จ้า ไม่รู้เนื้อหาที่เขียนออกไปจะตรงกับบทความที่อ่านแค่ไหน แต่เห็นว่าน่าสนใจเลยอยากเอามาเล่าให้ฟัง

1 thoughts on “教室の外:エピソードって思ったより大事だなあ

ใส่ความเห็น