タスク1.1:魅力的な自己紹介(続く)

              ในบล็อคแรกที่เขียนไปนั้นนนนน ( จิ้มเลยค่า ขออนุญาตขายของ ใครยังไม่อ่านไปอ่านได้นะค้า) เป็น ค่อนข้างเป็น prompt self-introduce คืออยู่ ๆ เธอก็มา ไม่ได้ให้เวลาเตรียม (ใจ) จึงออกมาแบบงง ๆ มึน ๆ พูดจบก็แบบ เอ๊ะ ตะกี้พูดไรนะ ภาษาคนเหรอ

              แต่ถึงมีเวลาให้เตรียมก็ยังออกมางง ๆ มึน ๆ อยู่ดีนั่นแหละ แหะ ๆ เข้าเรื่อง ก็คือหลังจากแนะนำตัวแบบพูด ก็มาถึงการแนะนำตัวแบบเขียนนั่นเองงงงงง (เหมือนจะต่อยอดไปสู่พวก 自己アピール ได้ด้วย ซึ่งอันนี้ ทั้งในคาบคอนเวอร์ และคาบซะกุบุนก็ต้องทำเหมือนกัน คิดว่าคงมีประโยชน์อยู่ไม่น้อย) แต่การจะโยนตู้มมาให้เขียน อาจารย์กนกวรรณก็ให้ไกด์ไลน์มาเล็ก ๆ น้อย ๆ คือให้ตัวอย่างการเขียนแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นที่พอจะทำให้ตราตรึงในจิตใจของผู้ฟังได้บ้าง

              หลัก ๆ ก็มี การพยายามเสนอว่าตัวเองจะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้ฟังได้ การบอกว่าได้เรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ต่าง ๆ การเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบันว่ามีส่วนไหนดีขึ้นบ้าง ซึ่งการแนะนำตัวแบบนี้จะทำให้เราสามารถอวดตัวเองโดยไม่โดนอีกฝ่ายหมั่นไส้ได้

              เป้าหมายในการเขียนแนะนำตัวเราก็ตั้งไว้แบบนั้นแหละ เขียนไม่ให้ชาวบ้านหมั่นไส้และสามารถอวดตัวเองได้ด้วย แต่ถามว่าสำเร็จหรือไม่นั้น….

              ไม่รู้เหมือนกันอะ ยังไม่ได้ให้เพื่อนลองอ่านเลย แหะ ๆ

              รอบนี้เราเลือกใช้เทคนิคเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบัน ว่าเราได้เรียนรู้อะไรสักอย่างหนึ่งและทำให้ตัวเราเปลี่ยนแปลงผ่านเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งที่เลือกเขียนไปคือ ประสบการณ์ตอนม.ปลาย เข้าไปตอนแรกเลยก็ด้วยความที่เป็นคนคุมงานกลุ่มมาตลอด คราวนี้ก็เสนอตัวคุมอีกแหละ แต่ดันพังเพราะไม่วางแผนและไม่สนเพื่อน จากประสบการณ์นี้ก็ได้เรียนรู้เรื่องการวางแผนและการพยายามสื่อสารกับเพื่อนเพิ่ม

    ส่วนเป้าหมายที่ว่าจะพยายามเขียนไม่ให้ยกตัวเองเกินไป หากเพื่อน ๆ อยากอ่านและคอมเมนต์สิ่งที่เราเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นก็สามารถอ่านได้นะคะ แปะไว้ด้านล่างแล้ว ช่วยดูให้หน่อยว่าแบบนี้มันดูน่าหมั่นไส้หรือเปล่า55555 (อันนี้เวอร์ชั่นแก้ตามคำแนะนำของอ.กนกวรรณแล้ว ส่วนเรื่องข้อผิดพลาดที่เกิดกับดราฟต์แรก ขอเชิญด้านล่างค่ะ)

              私にとって、物事をする上に、最も大切なのは計画性と協調性であると信じている。そして、そのようなことを持っている人になれるように努力している。計画性と協調性の大切さを知ったのは高校のときに経験したことのおかげ。高校1年のとき、あるグループレポートのリーダー役を担当していた。最初は自分が優秀な人なので、リーダーに選ばれたかもしれないとうぬぼれで、実はそうではなかったと気づいてきた。自らは、計画など立てなくて管理できると信じていたが、結局は管理しにくく仕事が手に負えなかった。締め切りも迫っており、あれもこれも終えそうになかった。その時に思い付いたただ一つの解決方法は、リーダーの責任なので自分一人ですべてをやることだった。

 しかし、それは大間違いだった。仕事を完成させたかったのに、なかなかできなかった私は、友人と一緒に行った方が早いのではないかと言われた。皆で努力して、お互いを助け合うことのおかげで、ようやくそのレポートが無事に終わった。事前に計画を立てなかったことと友人ときちんと話し合わなかったせいで、困難な状況になった。この経験から、計画性と協調性の重要性を改めて認識した。そのことを学んだ私は、常に心に留めて人生を送りたいと思っている。    

              หากเทียบกับที่เขียนส่งและที่อาจารย์ให้คำแนะนำเรื่องการแก้มา ปัญหาหลัก ๆ ของเราก็คือ

  • เรื่องความสะเพร่าตอนใช้คำช่วย
  • การใช้คำเชื่อม คือ ใช้ それで ซึ่งได้รับคำแนะนำมาว่า そして ดีกว่า ก็ยังสับสนอยู่นิดหน่อยแต่จะไปค้นหาเพิ่มค่ะ
  • การใช้คำผิดความหมาย บางทีก็ตามความเคยชิน ไม่ได้เปิดพจนานุกรมเช็ค มั่นใจเกินเหตุ ลื่นตกเหวเลย แหะ ๆ เช่นคำว่า 自慢 กับ うぬぼれ ไอเราก็คิดว่าเหมือนกันก็เลยใช้คำที่เป็นคันจิเพราะคิดว่าเป็นภาษาเขียนมากกว่า ความจริงแล้ว 自慢 ใช้เวลาอวดตัวเองกับคนอื่น แต่ うぬぼれ กว้างกว่า คือทั้งหลงตัวเองและบางทีก็ไปอวดคนอื่นด้วย แล้วก็คำว่า 思い出した ที่แก้เป็น 思い付いた แล้ว อันนี้มาลองดูดี ๆ ก็รู้อยู่ว่า ไอคำว่า “นึกออก” นี้มันไม่ใช่นึกสิ่งที่เคยประสบพบเจอแต่มันคือนึกวิธีการใหม่ต่างหาก
  • ใช้ภาษาพูด เช่น ใช้ やる แทน 行う
  • การหลากคำ แม้จะพยายามหลากแล้วก็ยังใช้คำซ้ำเยอะมาก เพราะกลัวเอา synonym มาใช้แล้วจะผิดความหมายไป จะเห็นได้ว่า คำว่า 知る รัวมาก
  • การเรียงประโยค อันนี้เป็นประโยคที่อาจารย์แนะนำว่าหากเขียนเรียงใหม่จะเข้าใจง่ายขึ้นคือ
    管理できると自らは信じていたので計画などを立てようとしなかったが、仕事が手に負えないほど管理しにくかった。
    เป็น
    自らは、計画など立てなくて管理できると信じていたが、結局は管理しにくく仕事が手に負えなかった。

    มาอ่านของที่อาจารย์แก้มาแล้วรู้สึกมันอ่านง่ายและสมู้ทขึ้นมาก ๆ เหมือนเราพยายามแปลประโยคภาษาไทยในหัวจากประโยคว่า “ไม่ได้วางแผนเพราะคิดว่าตัวเองจะจัดการได้ แต่งานมันกลับจัดการยาก” ก็ไม่เข้าใจในหัวตัวเองเหมือนกันว่าทำไมแปลออกมาแบบนี้

              ข้อผิดพลาดที่เหลือก็เป็นเพราะไม่เคยเห็นตัวอย่างการใช้และไม่เข้าใจเซ้นส์การใช้ก็เลยเลี่ยงไปเลย ซึ่งคิดว่าบางทีตัวเองอาจจะต้องแหกคอกกล้าเขียนกล้าพูดเสียตั้งแต่ตอนนี้ ตอนที่ยังมีคนคอยแก้ให้ดีกว่า

              ส่วนที่ได้พัฒนาตัวเองจริง ๆ จากงานเขียนนี้ก็คือการพยายามเขียนอวดตัวเองให้ดูไม่อวดตัวเองนี่แหละ ในมุมมองของตัวเองถือว่าเป็นการได้ชาเลนจ์สิ่งใหม่ ๆ แต่เมื่อให้คนอื่นแล้วสิ่งที่ตัวเองต้องการทำนั้นสำเร็จหรือไม่ก็ไม่สามารถรู้ได้ อีกอย่างหนึ่งก็คือเราแคร์เรื่องการคิดแบบคนญี่ปุ่นมากขึ้น แต่ก่อนก็ไม่ได้คิดอะไรเพราะคิดว่า mindset คนญี่ปุ่นเป็นไงก็ไม่เห็นเป็นไรเลย แต่ในเมื่อเรียนภาษาญี่ปุ่นในระดับนี้แล้วเราก็ควรจะรับมาทั้งภาษาและความคิดของคนญี่ปุ่นด้วย

              เหนื่อยอะ พบกันใหม่บล็อคหน้าดีกว่า เย้

3 thoughts on “タスク1.1:魅力的な自己紹介(続く)

  1. เขียนดูไม่น่าหมั่นไส้นะ กลับกัน อ่านแล้วรู้สึกเอ็นดูที่ต้องรับผิดชอบงานคนเดียวมากกว่า T T ส่วนตัวพี่ว่าเขียนเปรียบเทียบชัดดีแล้วก็ชอบที่มีสรุปว่าสุดท้ายทำอะไรพลาดแล้วได้เรียนรู้อะไร เป็นเทคนิคการเขียนที่ดีเลยแหละ

    ถูกใจ

ใส่ความเห็น