タスク2:手際のよい説明

              เคยมั้ย? มีคนมาถามทาง

              ในสยามนี่แหละ ไอเราอะ บางที่ไปถูกนะ แต่ไม่รู้จะอธิบายยังไงว่ามันไปยังไง หรือบางทีเดินเองยังหลงเองเลย อย่าถามหนูววว (โดยเฉพาะ Central World หลงทางในห้าง is not a joke!)

              ไอทักษะการบอกทางเนี่ย เรียนตั้งแต่สมัยอะกิโกะ โตะ โทะโมะดะจิ เรียนตั้งแต่สมัยอะกิโกะ ณัฐฐา (ชื่อนี้หรือเปล่านะ?) ปิยะ และสุนีย์อยู่ม.5 เรียนมานาน แต่ที่เรียนไปไม่เคยได้ใช้จริงเลย แถมมาเรียนซ้ำอีกรอบตอนปี 2 ก็บอกเลยว่า คนญี่ปุ่นมาอ่านน่าจะหลงไปจากสยามไปถึงวัดพระแก้ว เขียนอธิบายเก่งจริง ๆ

              มาเรียนรอบนี้ก็ task ที่คุ้นเคย ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง เขียนอธิบายทางจากบีทีเอสช่องนนทรี จุดหมายอยู่ที่อาคารบรมราชกุมารี แต่แน่นอนว่ามันพิเศษเพราะมีคำว่า 手際のよい!! คำนี้ไม่ได้ประดับมาเล่น ๆ เพราะต้องเขียนอธิบายทางให้เข้าใจง่ายจริง ๆ ด้วย เขียนให้เข้าใจง่ายนี่แหละ เขียนยาก ในใจอยากพิมพ์ว่า グーグルマップを使って行ってください。แต่จิตใจด้านใฝ่เรียนก็เพียรพยายามเขียนออกมาเป็นการเขียนอธิบายที่ยาวจนไม่รู้คนญี่ปุ่นเขาจะเลิกอ่านแล้วเดินมั่ว ๆ เองมั้ย

Image result for bts ช่องนนทรี
Image result for bts สยาม

              ปกติเขียนเรียงความหรืออะไรที่ยาว ๆ ก็ไม่เคยมีความเห็นใจต่อผู้อ่าน ปั่นให้เสร็จแล้วส่งอย่างเดียว เริ่มรู้สึกผิดต่ออ.โคยะมะ อ.นะกะอิ และอ.อิเคะทะนิขึ้นมาแบบเล็ก ๆ เหล่าอาจารย์ต้องทนอ่านเรียงความที่ปราศจาก empathy ของเรามาปีเต็ม ๆ

              รอบนี้เลยตั้งเป้าหมายว่า จะพยายามเขียนแบบเห็นใจผู้อ่าน ลำบากตัวเองหน่อย (อะไรนะ ไม่หน่อย?) แต่น่าจะบรรลุเป้าหมายและจุดประสงค์ของการเขียนจริง ๆ

              ก็นี่เขียนเพื่อให้คนญี่ปุ่นไปให้ถูกที่นี่ จะให้คนเขียนอ่านรู้เรื่องคนเดียวมันก็…

              หลังจากที่เขียนเองดราฟต์แรก ได้ฟีดแบคจากเพื่อนในห้อง ดูตัวอย่างที่คนญี่ปุ่นเขียน และตัวอย่างที่คุณยะมะดะที่มาร่วมคลาสด้วยหนึ่งครั้งช่วยเขียนมาให้แล้ว ลิ้งค์ด้านล่างนี้เป็นฉบับไฟนอลที่เราคิดว่า ส่วนตัวเราโอเคแล้วคนอ่านก็น่าจะถึงจุดหมายได้แหละ จะแปะเลยก็กลัวลายตา แยกไปดีกว่า 😉 文学部へ迷わずににたどり着ける詳しい道のり

              แต่ที่เขียนฉบับไฟนอลไปเนี่ย ก็พบว่าตัวเองมีข้อผิดพลาดที่ตัวเองมองข้ามอยู่ไม่น้อยทีเดียว

1. ด้านเนื้อหา

              1.1 ตั๋ว: เราลืมนึกไปว่า คนญี่ปุ่นอาจจะใช้เครื่องซื้อตั๋วบีทีเอสไม่เป็น และอาจจะไม่รู้ว่าบีทีเอสมีเครื่องที่รับแต่เหรียญ (ลืมนึกถึงตอนที่ยืนงงอยู่หน้าตู้ขายตั๋วรถไฟที่ญี่ปุ่นเลย) มาถึงก็เชิญขึ้นชาญชาลาไปสนามกีฬาแห่งชาติเลยจ้า แล้วก็เรื่องตั๋ว มันมีตั๋วที่ขาออกต้องสอด ถ้าคนญี่ปุ่นเห็นตัวอย่างจากคนข้างหน้าที่ใช้แรปบิทแตะออก มันก็น่าจะไม่เปิด

Image result for ตั๋วบีทีเอสใหม่
อันนี้บัตรบีทีเอสแบบใหม่ แตะเข้า สอดออก คนญี่ปุ่นที่เคยมาไทยก่อนหน้าอาจจะงงเพราะของเก่าเป็นแบบสอดเข้าสอดออก

              1.2 จุดสังเกต: มองข้ามจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นพวกเสียงประกาศว่ากำลังจะถึงสถานี อันนี้คิดว่ามีประโยชน์มาก เพราะมองแผนที่ในรถไฟฟ้า บางทีก็ไม่ค่อยช่วยอะไรเท่าไหร่ แล้วก็เวลาลงจากสถานีมา จุดสังเกตที่เป็นร้านใหญ่ ๆ หรือห้างก็ช่วยได้มาก อันนี้เราคิดว่าเราทำได้ค่อนข้างดีนะ แต่รู้สึกว่า ของคุณยะมะดะซังดีมาก ๆ โดยเฉพาะที่บอกว่าตรงข้ามตึกบรมฯ มีตึกที่เหมือนวัดไทยอยู่ อันนั้นคือเด่นมาก แต่สงสัยชินตาเลยลืมนึกถึงว่ามันเป็นจุดสังเกตที่ดีมาก

อีกอย่างคือเรื่องรูปร่างตึก เราไม่ได้เขียนอธิบายเรื่องตึกรูปตัว L แต่เขียนแค่ว่ามีโรงอาหารกับร้านกาแฟ True Coffee นั่นก็คิดว่าละเอียดแล้วนะ แต่เขาคิดเรื่องตึกรูปตัว L ด้วยอะ เนี่ย empathy ของจริง

              1.3 ภาษาที่ใช้บอกสถานที่: ในไทยส่วนมาก็มีสองภาษาคือไทยกับอังกฤษ (มีจีนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ) ถ้าหากเราถอดเป็นคะตะคะนะทั้งหมด คนญี่ปุ่นก็น่าจะลำบากอยู่ไม่น้อย จุดนี้เลยคิดว่า ใช้ภาษาอังกฤษไปน่าจะดีกว่า (ยกเว้นที่คุ้น ๆ กัน แบบที่ญี่ปุ่นก็มีแบบเซเว่น) แล้วก็ตึกบรมราชกุมารีที่เป็นจุดหมาย หน้าตึกพี่เขาไม่มีตัวอักษรภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยเลย! อันนี้ถ้าอธิบายรูปร่างตึกประกอบกับบอกว่ามีตัวอักษรไทยเขียนอยู่ก็น่าจะดีขึ้น

              1.4 ความถูกต้อง: ก็คือบอกทาง แต่บอกผิดนั่นเอง ตอนให้ลงรถที่สยาม กว่าจะถึงทางออกที่ต้องแตะบัตร มันต้องลง 2 ชั้น แต่ดันเขียนไปว่าลงแค่ชั้นเดียว ขอเชิญนั่งกลับไปบางหว้าและสำโรงเลยค่า แง555555

2. ด้านการใช้ภาษา

              2.1 การใช้คำ: เราค่อนข้างมีปัญหาเรื่องการหลากคำ โดยเฉพาะในดราฟต์แรก เราใช้คำศัพท์ซ้ำเยอะมากเพราะไม่รู้จะใช้คำอะไรแทน เช่น

              ลงรถเราก็ 降りる อย่างเดียว ทั้งที่มันมีคำที่ใช้แทนได้ และประหยัดตัวอักษรกว่าเช่นคำว่า 下車する

              คำว่า まっすぐに行く เราก็ใช้คำว่า 直進する แทนได้

              คำว่า 右・左に曲がる เราก็ใช้ 右折・左折する แทนได้

              หรือคำอื่นที่มีคำที่ดีกว่าใช้ เช่นคำว่า を通る เปลี่ยนมาใช้ 通過する จะสื่อความมากกว่า

              ซึ่งศัพท์เหล่านี้มาจากตัวอย่างที่อาจารย์ให้มา ที่เป็นบอกทางไปมหาวิทยาลัยวาเซดะ เราจะรู้ได้ทันทีว่าคนญี่ปุ่นมีวิธีการใช้คำหรือหลากคำให้ไม่ซ้ำกันยังไง อันนี้เข้าหลัก 良質なインプット หรือเปล่านะ55555 แต่คิดได้ทันทีว่าการเพิ่มศัพท์เป็นสิ่งสำคัญมาก เราจึงตัดสินใจที่จะอ่านนิยายญี่ปุ่น!

              นอกจากหลากคำแล้วก็มีการใช้คำผิดนี่แหละ สกรรมกริยา อกรรมกริยา รู้สึกว่ามั่วไปหมด ยืนเข้าแถวต้องใช้ 並ぶ ไม่ใช่ 並べる สิ แล้วก็ 進める กับ 進む ชอบสับสนและจำสลับกัน

              2.2 การใช้คำช่วย: อันนี้เป็นสิ่งที่เหมือนตัวเองจะเคยรู้มาก่อนแต่ก็ลืม (化石化 ถามหา รู้สึกจะคอนเซปต์เรื่อง で待つ กับ に待つ หรือเปล่านะ?) คือลงรถที่สถานีไหน ใช้คำช่วย で降りる ไม่ใช่ に降りる! ฟังไม่ผิด ถ้า に降りる นี่ให้ฟีลเหมือนตกลงไปในสถานีที่เป็นหลุมมากกว่าหรือเปล่านะ

              แม้จะตรวจจับความผิดพลาดของตัวเองได้อยู่ไม่น้อย แต่เราคิดว่า task ชิ้นนี้เป็นชิ้นที่เราทำได้ค่อนข้างดีนะ (ขอชมตัวเองหน่อย แหะ) เราคิดว่าเราบรรลุเป้าหมายของตัวเองอยู่แหละ แม้จะมีงงบางจุด แต่เราว่าหากเราให้คนญี่ปุ่นอ่านสิ่งนี้ เราน่าจะพาเขาจากช่องนนทรีมาที่ตึกบรมฯ ได้อยู่นะ Task นี้ยาก แต่สนุก! สนุกตรงที่ต้องพยายามนึกนี่แหละว่า ถ้าคนอ่านเป็นคนที่ไม่เคยมาสถานที่ที่เราอธิบายเนี่ย เราต้องทำยังไง ต้องหาจุดสังเกตให้เขายังไง ต้องระวังตรงจุดไหนบ้าง บางอย่างมันเป็นสิ่งที่เรามองข้ามตลอด แต่พอต้องนึกถึงคนอื่นแล้ว นั่นเป็นจุดเล็ก ๆ ที่หากสังเกตได้จะช่วยคนอื่นได้มากทีเดียว

7 thoughts on “タスク2:手際のよい説明

  1. เออ อยากจะบอกคนญี่ปุ่นว่า グーグルマップを使って行ってください น่าจะเข้าใจกว่ามาถามคนไทยอย่างเรา ๆ 55555 พี่เห็นด้วยเรื่องตั๋วนะ คือพี่ลืมไปเลยว่าBTSยังเป็นหยอดเหรียญอยู่อ่ะ (ปกตินั่งMRTไปกลับเป็นหลัก) ถ้าไม่เขียนบอก คนญี่ปุ่นคงเอ๋อมากแน่ ๆ

    ถูกใจ

  2. เราเข้าใจความรู้สึกที่อยากเลี่ยงการซ้ำคำดีเลยย
    แต่เราก็แอบคิดว่า สมมุติถ้านี่คือสถานการณ์การบอกทางจริงๆ คำและไวยกรณ์ก็ควรจะเรียบง่ายที่สุดรึป่าวนะ (อันนี้พดถึงของตัวเองด้วย) แอบ เป้าหมายมันก็คือ ให้ไปให้ถึงอ่ะ ดังนั้น คนอ่าน (ต่อให้เป็นคนญี่ปุ่น) เขาคงไม่ได้สนใจความเท่ของคำไรมาก ให้ฉันไปให้ถึงจุดหมายละกัน แต่โอเคการเลือกคำมันก็แล้วแต่ (และหลายๆครั้งเราก็อยากลองใช้คำหรูอะเนอะ) ดังนั้น คำอ่ะเราว่าจะเป็นคำไหนก็ได้ 降りるー下車する 右に曲がるー右折する แต่มันควรจะเหมือนกันตั้งแต่ต้นจนจบให้อ่านง่ายด้วยรึป่าวนะ

    หรือ อย่างตัวอย่างบอกทางไปวาเซดะที่อาจารย์ให้ลองอ่านก็เหมือนกัน บางอันก็แอบมีความขี้เล่นมาด้วยไรงี้ แอบรู้สึกว่าไม่ต้องมีก็ได้ยังไงไม่รู้
    แต่อันนี้ก็คงแล้วแต่นิสัยคนด้วยแหละเนอะ แฮะๆ

    Liked by 1 person

  3. การบอกทาง สิ่งที่สำคัญสุดคือความถูกต้อง ตามมาด้วยความเข้าใจง่าย งานของซุยกะมีความเข้าใจง่ายสูงมาก(น่าชมเชย) มีการนำเสนอภาพรวมก่อนว่ามีสองวิธี แล้วค่อยๆนำเสนอข้อมูลไปทีละส่วน ทำให้ผู้อ่านติดตามได้ง่าย การเขียน blog สรุปว่าได้เรียนรู้อะไรก็ทำได้ดีค่ะ มีการเปรียบเทียบวิธีใช้ของเรากับคนญี่ปุ่นและสรุปสิ่งที่เราได้เรียนรู้ได้ดี มีตย.ประกอบด้วย แต่อย่างที่หนูว่าการบอกทางในอนาคตอาจจะไม่จำเป็น(หรือเปล่า)เพราะใช้ google map ก็น่าจะได้ 555 อาจจะต้องเปลี่ยน task แนวใหม่…ในอนาคต

    Liked by 1 person

  4. อยากใช้คำได้หลากหลายเหมือนกัน อย่างเช่นคำว่า 直進、左折・右折、通過 เราเพิ่งรู้จักคำพวกนี้ ส่วนเรื่องตั๋วแล้วก็วิธีการซ้ือตั๋ว จะอธิบายให้ละเอียดขึ้นก็ดีนะ เห็นด้วยเลย

    ถูกใจ

  5. เฮดบล็อกน่ารักมากอ่ะ เหมือนน้องกำลังเปิดเว็บขายแตงโด 5555 น่ารักๆๆ // พี่เข้าใจๆ ตอนเขียนครั้งแรกก็ไม่ได้คิดละเอียดขนาดนั้นว่า เออ ต้องบอกเขาว่าให้ไปแลกเหรียญนะ ต้องลงสถานีมา 2 ชั้นนะ (คือแค่คิดว่า เขาก็คงจะเดาออกแหละว่าต้องหา 改札口) แต่ถ้าเราอธิบายละเอียด เขาก็คงใช้เวลาหลงน้อยลง// มีการพูดถึง 化石化 ด้วย ดีๆ ได้เรียนรู้คำศัพท์ 右折 左折 ด้วย 勉強になりました (‘ v ‘)

    ถูกใจ

  6. เราเห็นด้วยที่บอกว่าบางคำบอกเป็นอังกฤษไปเลย ไม่ต้องพยายามเปลี่ยนไปเป็นคะตะคะนะทั้งหมด เพราะบางที่เราแปลงผิดด้วย หรือมันยิ่งทำให้เข้าใจยากเนอะ (หลักๆคือลำบากตัวเรานี้แหละ) อันนี้ไม่เกี่ยวกับเนื้อหานะแต่โดยส่วนตัวถ้าอยู่แถวสยามแล้วใส่ชุดนิสิต ชอบโดนถามทางว่าซอยจุฬานี้ซอยจุฬานั้นอยู่ตรงไหนหรอ ซึ่งนี้อยู่มาสามปีคือซอยต่างๆ ไม่รู้เลยอยู่ตรงไหน ต้องมาเป็นสถานที่เลยถึงจะตอบได้ ฮ่าๆ

    ถูกใจ

ใส่ความเห็น