実際応用:i+1

              หลายสัปดาห์ก่อนได้เรียนทฤษฎี i+1 ของ Krashen ผู้คิดทฤษฎี Input Hypothesis ด้วย ทฤษฏี i+1 ที่ว่านี้ คือการให้ input ที่มีระดับสูงกว่าภาษาของผู้เรียน 1 ระดับ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากกว่าการสอนอะไรที่ยากเกินไป นอกจาก i+1 แล้วปัจจัยที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ก็มีปริมาณของ input ที่ต้องมีจำนวนมากและเป็น comprehensible input (input ที่สามารถเข้าใจได้) ด้วย

              ในฐานะที่เราเป็นผู้เรียน เราชอบเรื่อง i+1 มาก รู้สึกว่า สิ่งที่เราเรียนมามันสามารถต่อยอดขึ้นไปได้เรื่อย ๆ หากช่วงใดที่ต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบวัดระดับแล้วต้องเรียนไวยากรณ์หรือรูปประโยคใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนเลยก็จะรู้สึกว่ายากมาก ๆ แต่ถ้าเคยเรียนสำนวนที่คล้ายกันมาก่อนก็จะเกิดการเชื่อมโยงได้

              แล้วช่วงนี้ เราก็สอนภาษาญี่ปุ่นอยู่ด้วยแหละ ก่อนหน้ามีน้องติดต่อมาอยากให้ช่วยสอนเพื่อสอบ N4 ตอนนั้นเราก็สอนเพราะคิดว่าไม่ได้เกินความสามารถเรามาก แต่ด้วยเวลาที่ค่อนข้างกระชั้นก็เลยสอนแบบอัด ๆ จนจบเล่มชั้นต้นไป พอน้องผ่าน N4 แล้ว น้องบอกว่าอยากสอบ N3 ต่อ เราก็เลยอะ เดี๋ยวสอนต่อก็ได้ พยายามสรรหาหนังสือมาสอน อันนี้คือแบบ no clue มาก ๆ เพราะตอนเราสอบ N3 เราไม่ได้อ่านหนังสืออะไรที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเลย อ่านสั่ว ๆ บวกกับความรู้ที่มีอยู่เดิม 55555

              เล่มที่เราไปเจอแล้วคิดว่าโอเคที่จะเอามาสอนน้องคือ Level Up ยกระดับการใช้ไวยากรณ์ญี่ปุ่น ชั้นกลาง ของสสท. เล่มนี้เพิ่งออกมาได้ไม่นาน เนื้อหาด้านในเน้นที่การอธิบายหัวข้อไวยากรณ์ในชั้นต้นเพิ่มเติมเสียส่วนมาก แต่ที่ยากก็คือ ศัพท์กับตัวอย่างที่ใช้ในเล่มที่ค่อนข้างยากเลยแหละ

              ตอนสอนน้องด้วยหนังสือเล่มนี้แรก ๆ เราก็เน้นไปที่การอธิบายการใช้กับอ่านตัวอย่างประโยคเสียส่วนใหญ่ แล้วไม่ได้ลด pace การสอนของตัวเองด้วย ยังสอนไวเหมือนตอนสอน N4 แต่ก็เริ่มรู้สึกละว่าน้องเริ่มรู้สึกอิหยังวะกับสิ่งที่เราสอน

แต่พอเรียนเรื่อง i+1 แล้วก็รู้สึกว่า เราควรต่อยอดจากส่วนที่น้องรู้มากกว่า เลยพยายามปรับรูปแบบการสอนของตัวเอง จากที่อธิบายหัวข้อไวยากรณ์ธรรมดา เราก็พยายามเน้นที่ประโยคตัวอย่าง ไม่ใช่แค่การใช้รูปประโยคใหม่ที่เรียน แต่พยายามทวนด้วยว่า ในประโยคนี้มีไวยากรณ์เก่าอะไรที่เคยเรียนไปบ้าง หรือศัพท์ที่เพิ่งเคยเจอใหม่ มีความหมายเหมือนหรือคล้ายกับศัพท์ตัวไหนที่รู้

              เช่น ในประโยคตัวอย่างของหัวข้อไวยากรณ์เรื่อง から มีประโยคตัวอย่างที่ว่า あさねぼうをしましたから、遅刻してしまいました。ตรงนี้น้องจะได้เรียนศัพท์ใหม่คือคำว่า 遅刻 (สาย) ซึ่งเราก็ทวนให้ศัพท์เก่าที่น้องรู้คือคำว่า 遅い กับ遅れる ไปด้วย แล้วก็จะทวนด้วยว่า สำนวน てしまう ใช้ในความหมายหรือกรณีไหนบ้าง

              พอทำแบบนี้มา 3-4 ครั้ง เรารู้สึกว่าน้องที่เรียนด้วยจับสิ่งที่เราสอนได้มากขึ้น ตัวไวยากรณ์เก่า ๆ ก็นึกได้เร็วมากขึ้นและตอนเรียนน้องหาวน้อยลง5555555 หลังจากนี้ก็จะพยายามค่อย ๆ ต่อยอดจากสิ่งที่น้องรู้แล้วสอนต่อไป

            i+1 จงเจริญ

2 thoughts on “実際応用:i+1

  1. i+1 จงเจริญจริงๆ(ชอบ) หลายคนพอรู้จัก concept นี้จึงได้เริ่มค่อยๆบอกข้อมูลไปทีละเล็กละน้อย เหมือนผู้เรียนจะขึ้นภูเขา คนสอนก็จะต้องค่อยๆสร้างบันไดให้ไปทีละขั้น งาน presentation ก็นำมาประยุกต์ได้นะคะ ค่อยๆบอกผู้ฟังไปทีละขั้น การนำมาประยุกต์ใช้สอน สอน 既習語彙+未習文法 หรือ 未習語彙+既習文法 แบบที่หนูทำก็ดีมากค่ะ

    ถูกใจ

ใส่ความเห็น