特別コーナー:敬語の特別講義

「お電話ありますか?」

การที่อาจารย์ยกประโยคนี้ขึ้นมาเปิดเลคเชอร์ อธิบายเรื่องไปสักพักแล้วเราเกททันทีว่ามันเป็นมุกนี่ทำให้รู้สึกดีได้จริง ๆ ด้วยความแอคทีฟของอาจารย์ตอนสอนและการเปิดที่ดี มี first impression ที่ดีทำให้วันนั้นเป็นเลคเชอร์ที่สนุกไม่น้อยเลย

敬語

สิ่งที่คนญี่ปุ่นเองก็ยังต้องเรียน ส่วนต่างชาติอย่างเราก็เรียนแต่เหมือนได้แค่ผิว ๆ สุดท้ายเวลาไปทำงานก็น่าจะต้องไปเรียนใหม่อีกรอบอยู่ดี สิ่งที่เราเรียนไปในชั้นต้นก็คือจับต้องไม่ค่อยได้และเอาไปใช้จริงยากอยู่ ส่วนมากได้ใช้แค่ตอนทำข้อสอบ แต่การจะสอน 敬語 ให้ผู้เรียนชั้นต้นเป็นโปรเลยก็คงจะยากไปอยู่ดีแหละเนอะ

อันนี้เป็นตารางสรุปเรื่อง 敬語 ในตำราเรียนชั้นต้นที่เคยเรียนหรืออ่านช่วงเตรียมสอบแพทญี่ปุ่น

อันนี้จากเล่มภาษาญี่ปุ่น ไวยากรณ์เตรียมสอบ ของสุภา ปัทมานันท์ ช่วยชีวิตไว้ตอนสอบแพทไม่น้อย
อันนี้จากเล่มไวยากรณ์ระดับ 3 สำหรับเตรียมสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ก็คือตั้งแต่สมัย JLPT ยังไม่เป็น N5-N1 แต่เล่มนี้ดีอยู่ ช่วยชีวิตไว้ตอนเตรียมสอบแพทและ N4 ตอนม.ปลายเยอะเหมือนกัน

ในตารางที่แปะไปทั้ง 2 อันเป็นรูปแบบที่เรียกว่า 不規則形 คือไม่เป็นไปตามกฎ เป็นข้อยกเว้น อีกแบบคือ 規則形 คือการผันที่มีระเบียบแบบแผน เช่น การผันรูปยกย่องให้เป็น お~になる หรือ ~られる หรือการผันรูปถ่อมตัวให้เป็น お~する

น่าจะสังเกตได้ว่าเล่มแรกคือเป็นฉบับสำเร็จรูปให้ท่องไปสอบจริง ๆ เลย ส่วนอีกเล่มมีการอธิบายเพิ่มเติมก็เหมือนจะเข้าใจขึ้นมานิดนึงแต่สำหรับผู้เรียนชั้นต้นมาอ่านก็คงเอ๊ะ? อยู่พอสมควร ขนาดว่าเราเรียนมาถึงระดับกลางปลาย ๆ แล้วบางอันยังเอ๊ะเลยว่าทำไมกัน แหะ ๆ มันจะเป็นความแบบ จำอันนี้ไปแล้วยังไงต่อ ต้องใช้ตอนไหน ผันยังไง ยกกรณีตัวอย่างที่ประสบด้วยตัวเองก็คือ ตอนคาบคอนเวอร์ (อีกแล้ว?) มีเรียนเรื่องเคโกะแล้วให้ผันประโยคประมาณนี้

今日、先生が大学に来る。

ให้ผัน 2 ระดับ คือระดับที่ใช้พูดกับเพื่อนและใช้พูดกับคนที่อาวุโสกว่า ตอนนั้นก็ผันไปแบบนี้

ระดับเดียวกัน : 今日、先生が大学に来る。

ระดับสุภาพ : 今日、先生が大学にいらっしゃいます。

ปรากฏว่าคนโดะเซนเซบอกว่า อันแรกควรใช้เป็น 今日、先生が大学にいらっしゃる คือต้องผันเป็นรูปยกย่องแต่เป็นรูปธรรมดาไม่ใช่รูปสุภาพ ได้คำอธิบายมาว่าเป็นการกระทำของอาจารย์เลยต้องยกย่องแต่คนที่เราพูดด้วยไม่จำเป็นต้องใช้รูปสุภาพด้วย ซึ่งตรงกับเลคเชอร์ที่ได้ฟังไปเลย

การใช้ก็จะแบ่งออกเป็น 6 แบบดังตารางนี้

  普通形 丁寧形
尊敬形 お~になる お~になります
基本形 ~ます
謙譲形 お~にする お~にします

              การตัดสินว่าจะใช้รูปไหนตอนหนต้องพิจารณาว่า

  1. เราอยู่ในสถานะใด ทั้งต่อคนที่ปรากฎในเรื่องที่กำลังพูด และต่อคู่สนทนา
  2. คนที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่ในสถานะใด : หากพูดถึงคนที่เรายกย่อง เช่น อาจารย์ในเรื่องที่สนทนาเราต้องใช้ 尊敬形 แต่การเลือกว่าจะใช้เป็น 普通・丁寧形 นั้นต้องพิจารณาคู่สนทนาในขณะนี้ด้วย
  3. คนที่เรากำลังสนทนาด้วยอยู่ในสถานะใด : หากคู่สนทนามีสถานะสูงกว่าหรือไม่สนิทก็ต้องใช้รูปสุภาพหรือ 丁寧形 แต่ถ้าเป็นเพื่อนหรือสนิทกันจะใช้ 普通形

สรุปได้ว่าการใช้ 敬語 มี 2 ระดับ คือ ต่อผู้ที่เราพูดถึงในหัวข้อสนทนา (素材敬語) และต่อคู่สนทนาของเรา (対話敬語)

  1. 素材敬語  尊敬語                ใช้ยกย่องการกระทำของอีกฝ่าย

    謙譲語                ใช้ถ่อมการกระทำของตัวเองเพื่อยกย่องอีกฝ่ายโดยอ้อม

2. 対話敬語    丁寧語                ใช้แสดงความสุภาพต่อคู่สนทนา

แต่ประเภทของ 敬語 ไม่ได้มีแค่เพียง 3 ประเภทนี้เท่านั้น ยังมี

  1. 丁重語 ซึ่งสามารถจัดเป็นประเภทหนึ่งของ 謙譲語 ก็ได้ ใช้แสดงความสุภาพต่อคู่สนทนาจึงต้องมีคู่สนทนาและใช้รูป 丁寧形 เสมอ เช่นคำว่า ござる、おる ซึ่งคำเหล่านี้ไม่สามารถใช้รูป 普通形 ได้เพราะดังที่บอกไปว่าใช้แสดงความสุภาพต่อคู่สนทนา หากไม่มีคู่สนทนาก็ใช้ไม่ได้
  2. 美化語 เติม お・ご เพื่อให้ดูเป็นการใช้คำแบบงดงาม ชั้นสูง

สรุปแล้วว่าในเลคเชอร์นี้ ส่วนมากก็จะเป็นความรู้ที่เคยเรียนมาแล้วทั้งจากคาบไวยากรณ์ คาบสนทนา รวมไปถึงคาบภาษาศาสตร์สังคมด้วย แต่การอธิบายของอาจารย์ทำให้เข้าใจเรื่องการใช้มากขึ้นว่าจะใช้ในสถานการณ์ไหนบ้างและมีเกณฑ์ในการเลือกใช้อย่างไรได้แบบคร่าว ๆ

2 thoughts on “特別コーナー:敬語の特別講義

ใส่ความเห็น