特別コーナー:仮説ランキング

              ก็เรียนทฤษฎีต่าง ๆ กันไปพอสมควรแล้วนะคะ แต่รู้สึกว่าเราไม่ค่อยได้สรุปทฤษฎีการเรียนเท่าไหร่เลย มีพูดแตะ ๆ บ้างตอนเล่าเรื่องอื่น วันนี้มีโอกาสได้เปิดชีททวน ๆ ที่เรียนไปก็เลยอยากมาจัดลำดับทฤษฎีการเรียนที่เรารู้สึกว่าชอบมาให้ดูกันค่า จะเป็นอย่างไรไปชมกันเลย

① Noticing Hypothesis (気付き仮説)

              สิ่งนี้เป็นทฤษฎีโดย Richard Schmidt เน้นไปที่การให้ผู้เรียนสังเกตตัวเอง แต่ต้องเป็นแบบตั้งใจและรู้สึกตัวคือ noticing consciously ด้วย การ noticing จะนำไปสู่การ intake หรือการรับรู้ความหมายและนำไปปรับระบบความรู้ภายในของตัวเอง กระบวนการจะเป็นแบบนี้

Input -> noticing/hypothesis testing/cognitive comparison -> intake

              จะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่การ noticing อย่างเดียวที่นำไปสู่การ intake แต่ hypothesis testing (ลองใช้ว่าจะสื่อได้หรือไม่) และ cognitive comparison (เทียบกับคนเก่งกว่า) ก็สามารถนำไปสู่การ intake ได้เช่นเดียวกัน การ noticing มี 2 ระดับ คือ แบบผิวเผิน จะรับรู้เพียงแค่มีการใช้อย่างไรบ้าง และระดับลึกซึ้ง ที่เราจะเห็นความแตกต่างของการใช้และความหมายได้มากขึ้น มีการใช้ hypothesis testing เพื่อ restructuring ตัวเอง คือปรับแก้ความรู้ของตัวเองที่มีให้ถูกต้องขึ้น

              แนวการสอนที่มาจากทฤษฎีนี้ก็พวก

              1. TBLT (Task-based language teaching)

              2. FonF (Focus on form) ให้ผู้เรียนรับ input กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การตระหนักรู้และ noticing เพื่อให้เชื่อมโยงความหมายกับรูปภาษา แนวการสอนนี้มีขึ้นเพื่ออุดช่องโหว่วของการสอนแบบ Focus on forms (สนใจแต่รูปภาษา) และ Focus on meaning (แค่สื่อสารรู้เรื่อง) ที่มีมาก่อนหน้า

              3. Processing instruction (อันนี้อาจจะไม่ได้มาจากทฤษฎีนี้อย่างเดียว) เป็นการให้ input ผู้เรียนและให้ผู้เรียนประมวลผลก่อน ทดสอบความเข้าใจแบบง่าย ๆ ก่อนจะให้ผู้เรียน output

เหตุผลที่ชอบ

              รู้สึกเป็นการเรียนรู้แบบกลาง ๆ ไม่ได้บังคับให้เรารับ input ที่อาจจะทำให้เบื่อจนมากเกินไป หรือไม่บังคับให้เราต้อง output โดยที่เราไม่มีความรู้มาก่อนซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเครียด นอกจากนี้ยังมีการทิ้งระยะเวลาให้ทบทวนตัวเองก่อนจะได้รับคำชี้แนะ ซึ่งเป็นเรื่องดี ทำให้เราได้ฝึกสังเกตตัวเอง ตอนที่เรียนจบแล้วไม่มีใครคอยชี้แนะได้ทุกครั้ง การสังเกตตัวเองของเราน่าจะช่วยในการเรียนรู้นอกห้องเรียนได้ดี รวมถึงการให้เรา noticing จะทำให้เราเรียนรู้และจำได้ฝังใจกว่าด้วย

② Sociocultural Approach/ Situated Learning

              ริเริ่มโดย Lev Semyonovich Vygotsky เน้นการเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม ไม่มีการแบ่งผู้เรียนผู้สอน แต่เป็นผู้เข้าร่วมและชี้แนะซึ่งกันและกัน ให้คนที่เก่งกว่าช่วยเหลือ ช่วยพัฒนาจากระดับที่ทำได้จริงไปสู่ระดับที่ควรจะทำได้ จะมี ZPD (Zone of Proximal Development) หรือพื้นที่รอยต่อพัฒนาการระหว่างสิ่งที่ทำได้จริงกับสิงที่จะเป็นไปได้ เน้นการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น อาจจะคล้าย i+1 (ที่เคยพูดไปในบทความก่อนหน้า และจะพูดต่อจากนี้ด้วย) แต่เน้นที่การมีส่วนร่วม ไม่ใช่ input

              มีสิ่งที่เรียกว่า Legitimate Peripheral Participation ด้วย คือการให้มีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับง่ายไปจนถึงระดับยาก จากรอบนอก (Peripheral) เข้าไปถึงข้างใน ถ้าหากเป็นเรื่องภาษาก็คือภาษาระดับง่ายจนถึงยาก เน้นการปฏิบัติจริงเป็นกลุ่มมากกว่าเรียนรู้แบบปัจเจก

เหตุผลที่ชอบ

              ชอบการที่มองผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ เน้นให้ปฏิบัติจริงและเข้าร่วมกิจกรรม ไม่ใช่การสอนหรือการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว รวมถึงบทบาทผู้สอนที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ครูที่สอนอยู่หน้าห้องเรียน แต่เป็นการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันระหว่างผู้เข้าร่วมด้วยกันเอง มีการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน ผู้สอนในทฤษฎีเป็นผู้ชี้แนะหรือช่วยเหลือเท่านั้น ผู้เรียนน่าจะรู้สึกกดดันน้อยกว่า

③ Interaction Hypothesis (インターアクション仮説)

              ทฤษฎีโดย Michael H. Long ดูคล้ายกับ ② แต่อันนี้เน้นการสนทนาแบบ face-to-face ระหว่างผู้เรียนภาษากับเจ้าของภาษา มีการใช้ communicative strategies ต่าง ๆ ทำให้การสื่อสารสามารถเป็นไปได้อย่างราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์ โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ คือ Self-repair (แก้ไขสิ่งที่ตัวเองพูด) confirmation check (ยืนยันว่าเข้าใจตรงกัน) request for clarification (ถามจุดทื่ไม่เข้าใจย้ำ) และ paraphrase (พูดใหม่ อาจจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น)

คุยกับคนญี่ปุ่นนี่บางคนได้ยินว่าเราพูดญี่ปุ่นได้ แต่ลืมถามเราว่าระดับไหน รัวซะ แง
ที่มา :
https://toyokeizai.net/articles/-/215039

              จะมีการใช้ negotiation of meaning คือพยายามสื่อสารจนกว่าจะสื่อสิ่งที่ตัวเองต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจได้หรือการส่ง comprehensible input และหลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ล้มเหลว ด้วยวิธีการสื่อสารแลกเปลี่ยนกับเจ้าของภาษานี้จะทำให้เกิดทั้ง positive evidence (บอกว่าทำอะไรถูกหรือดี และควรใช้ต่อในครั้งต่อไป) และ negative evidence (บอกว่าใช้อะไรผิด ควรแก้อะไร) ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้

เหตุผลที่ชอบ

              เป็นทฤษฎีที่หากสามารถทำได้จริง การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพมาก เพราะการสื่อสารในแต่ละครั้งเราจะได้ใช้ negotiation of meaning และได้ feedback มาเป็นทั้ง negative และ positive evidence ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับปรุงการใช้ภาษาของเราไปเรื่อย ๆ และ feedback นี้มาจากเจ้าของภาษาซึ่งใช้ภาษาได้เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว สิ่งที่ได้รับมาน่าจะเป็นประโยชน์มาก  แต่อาจจะติดปัญหาเรื่องข้อจำกัดเรื่องบุคคล หากไม่ได้ไปแลกเปลี่ยนเราไม่สามารถสนทนากับเจ้าของภาษาได้ตามใจต้องการอยู่แล้ว แล้วคนที่สนทนาด้วยก็ต้องมีการ feedback เราด้วย ตัวเขาเองก็ต้องร่วมสนทนากับเราแบบกระตือรือร้นซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นทุกคน

④ Input Hypothesis (インプット仮説)

              ทฤษฎีของ Stephen Krashen เน้นการให้ input ซึ่ง ไม่ใช่ว่าป้อนข้อมูลอะไรให้ผู้เรียนก็ได้ แต่ต้องเป็น comprehensible input คือสามารถเข้าใจได้ และ lots of input คือจำนวนมากด้วย และ input ที่ว่าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อยากกว่าผู้เรียนเพียงระดับเดียว (i+1) จึงจะส่งผลดีต่อผู้เรียนมากที่สุด  ผู้สอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนรับ input ได้ดีขึ้นด้วยการใช้ input enhancement คือเน้น อาจจะด้วยการไฮไลท์

ไฮไลท์ บางทีผู้เรียนรู้สึกว่าดูเหมือนสำคัญทั้งหน้าเลย ก็ไฮไลท์ทั้งหน้า แหะ ๆ
ที่มา :
https://www.yourdictionary.com/highlight

              แนวการสอนที่พัฒนามาจาก Input Hypothesis เช่น natural approach คือให้ input ที่เหมาะกับระดับของผู้เรียนโดยไม่อธิบายไวยากรณ์หรือการใช้ภาษา และ TPR (Total Physical Response) เน้นให้ฟัง ดู ปฏิบัติ ตอบสนองด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายและไม่บังคับให้ผู้เรียน output

เหตุผลที่ชอบ

              แนวการสอนและทฤษฎีนี้จะไม่สร้างความกดดันและภาระให้ผู้เรียนมากนัก เรียนแล้วสบายสำหรับผู้เรียน แต่หากขาดการกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ก็อาจจะไม่เกิดประสิทธิภาพและทำได้เพียงรับแต่ไม่สามารถก้าวสู่การ intake และ output ได้ ส่วนที่ชอบอีกส่วนคือการใช้ input แบบ i+1 ทำให้ผู้เรียนไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองกำลังเรียนเป็นสิ่งที่ยากเกินไป

⑤ Output Hypothesis (アウトレット仮説)

              ทฤษฎีโดย Merrill Swain เน้นให้ผู้เรียนรู้ GAP หรือช่องว่างระหว่างสิ่งที่ผู้เรียนทำได้และควรทำได้ เมื่อผู้เรียนรู้ช่องว่างก็จะทราบว่าต้องพัฒนาไปในทิศทางใด และพยายามมากแค่ไหน Output ที่ว่าต้องเป็น comprehensible output คือสามารถเข้าใจได้ด้วย ระหว่างที่ผู้เรียน output ก็จะเป็นการทดลองทฤษฎีในหัวผู้เรียนหรือ hypothesis testing ไปด้วยในตัวเอง

              แต่ผู้เรียนต้องมีการ noticing/cognitive comparison (เทียบกับคนที่เก่งกว่า) เพื่อ restructuring ในระหว่างที่ output และรับ feedback ด้วย เมื่อผู้เรียน restructuring และฝึกฝนไปเรื่อย ๆ จะเกิด automaticity/automatization คือฝึกฝนจนสามารถใช้เองได้โดยอัตโนมัติ

              แนวการสอนจากทฤษฎีนี้มี TBLT (Task-based Language Learning) คือให้เรียนรู้ผ่านการทำภารกิจให้สำเร็จลุล่วง มีทั้งแบบที่ให้ input ก่อนและให้ผู้เรียน output เลยแล้วค่อย input/feedback ทีหลัง

เหตุผลที่ชอบ

              ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เอง เจ็บเอง ผู้เรียนมีโอกาสที่จะจำข้อผิดพลาดตัวเองได้แม่นกว่า เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดลองใช้ทักษะทีผู้เรียนมี แต่หากไม่ให้ input ผู้เรียนก่อน อาจจะสร้างความกดดันให้แก่ผู้เรียนได้ โดยเฉพาะการเรียนในขั้นต้นที่ผู้เรียนยังมี input น้อย แต่หากเป็นผู้เรียนในระดับสูง การให้ output เลยน่าจะ challenging และสนุกมากกว่า

              ความจริงแล้วยังมี Affective Filter Hypothesis ด้วยแต่อันนี้ไม่สามารถให้ความเห็นอะไรได้ การให้ผู้เรียนเรียนแบบไม่มี anxiety เป็นเรื่องดีแต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่า anxiety แบบใดที่ส่งผลดีหรือผลเสียต่อผู้เรียน

              อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของเราจากที่เรียนมาหลายทฤษฎี ส่วนนึงที่เราจัดลำดับแบบนี้อาจจะเพราะประสบการณ์การเรียนภาษาญี่ปุ่นของเราเองนี่แหละ เรามีความทรงจำที่ไม่ค่อยดีกับการปล่อยให้ output แบบไม่รู้เหนือรู้ใต้แหละ ตอน feedback เราก็แอบกดดันเพราะกลัวผิด ก็เลยกลายเป็นความกลัวมากกว่าเรียนรู้ ฮือ

              แต่ว่า!

             ดูเหมือนทฤษฎีที่เราจะเรียนยังไม่หมด เปิดชีทแวบ ๆ ไปเจอ 「CLIL」 ไม่รู้จะเป็นยังไง คงต้องตามต่อใน blog หน้า!

6 thoughts on “特別コーナー:仮説ランキング

  1. ちなみに Top 3 ตอนนี้ของเราคงเป็น
    3 Input (วิธีการดูเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพดี)
    2 Noticing (ดูเป็นการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองไม่ว่าที่ไหน ถ้า Notice ได้อ่ะนะ)
    1 Sociocultural Approach (ซึบซับจากรบตัวอย่างแท้จริง ซึ่งจะมีคนช่วยให้เรา Notice)
    ละมั้ง
    仮説 วันนี้ก็สนุกจังเนอะ พรุ่งนี้ต้องสนุกกว่านี้แน่เลยเนอะ แฮมxxโร่

    ถูกใจ

ใส่ความเห็น