特別コーナー:仮説ランキング2

              หลังจากที่สอบจบแล้วก็ได้เวลาเคลียร์ blog กันแล้วววว อันดับแรกเราจะมาพูดสิ่งที่เราเกริ่นไว้ตอนที่ลำดับทฤษฎีสอนภาษาที่เราชอบใน blog ที่แล้ว คือเราลำดับ input hypothesis, interaction hypothesis, output hypothesis, noticing hypothesis, affective filter hypothesis และ sociocultural approach/situated learning ไป แต่ตอนนั้นที่ยังไม่ได้เรียน CLIL ก็เลยยังไม่ได้ลำดับเข้า วันนี้จะมาพูดถึงเจ้า CLIL นี่กัน

              CLIL มีชื่อเต็มว่า content and language integrated learning มีชื่อเล่นน่ารัก ๆ เป็นภาษาญี่ปุ่นว่า クリル (คุริรุ) แนวคิดที่จะเรียนภาษาไปพร้อม ๆ กับการใช้ภาษานั้เพื่อเรียนรู้เนื้อหารหรือสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้ เชื่อม “เนื้อหา” กับ “ภาษา” เข้าด้วยกัน เป็นแนวการสอนที่ไม่ได้พัฒนาเฉพาะทักษะภาษา แต่พัฒนาระบบวิธีคิด การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่นและการเข้าใจวัฒนธรรมของผู้อื่นด้วย

              แนวการสอนนี้บูรณาการแนวคิดที่มีอยู่เดิมหลายแนวคิดด้วยกัน เช่น input hypothesis, content-based instruction, scaffolding, active learning, project work หัวใจของ CLIL มี 4 อย่างด้วยกันคือ

              1. Content มีความรู้ 2 ระดับ คือ ระดับเข้าใจได้ และระดับทำได้ จะทำให้เปลี่ยนระดับจากเข้าใจได้เป็นทำได้ ต้องให้ผู้เรียนเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหา จะทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาระดับลึกได้

              2. Communication มี 3 รูปแบบคือ

  • Language of learning เรียนรู้ตัวภาษา สำนวน ไวยากรณ์
  • Language for learning เรียนรู้วิธีการใช้ภาษา ผ่านการหาข้อมูลหรือทำรายงาน
  • Language through learning เรียนรู้ผ่านการใช้ภาษาจริง ฟัง พูด อ่าน เขียน พัฒนาทั้งด้านภาษาและคิดวิเคราะห์

              3. Cognition พัฒนาการคิดวิเคราะห์ จากระดับต่ำ (LOTS) ไปถึงระดับสูง (HOTS) อ้างอิงตาม Bloom’s Taxonomy

https://s3-us-west-2.amazonaws.com/prodengblogs/assets/2018/07/29428436431_170dc675d7_o1.png
Bloom’s Taxonomy เวอร์ชั่นละเอียดขึ้นนิดหน่อย
ที่มา:
https://www.english.com/blog/content-and-language-integrated-learning/

              พัฒนาเป็นลำดับขั้น ตั้งแต่จำได้ เข้าใจ ใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า และสร้างสรรค์ผลงานของตัวเองได้ โดยกระบวนการกว่าจะถึงขั้นสุดท้ายได้ก็ต้องมีการชี้แนะหรือ scaffolding ที่ดีช่วยผู้เรียนก้าวไปทีละขั้นด้วย

              อันนี้ไปค้นเพิ่มเติมมา เวลาตั้งคำถามของแต่ละขั้นก็เปลี่ยนคำกริยาที่ใช้ไปเรื่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามขั้นตอน แต่เป็นภาษาอังกฤษแหละ ถ้าเป็นภาษาญี่ปุ่นคงต้องแปลอีกรอบเพราะหาแบบภาษาญี่ปุ่นไม่เจอ แหะ ๆ จากตาราง พอเราเปลี่ยนคำ ก็จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาจาก Remember>Understand>Apply>Analyze>Evaluate>Create ไปพร้อมกัน

              ตัวอย่างเช่น หากพูดถึงเรื่องสัตว์ การนำคำกริยาในตารางมาช่วยสร้างคำถามก็จะเป็นประมาณนี้

  • Remember – Can you name 10 different animals that live in the rainforest?
  • Understand – Can you predict what animals eat?
  • Apply – Can you complete a simple food chain?
  • Analyze – Can you categorize animals into different classifications? (mammal, reptile, fish etc.)
  • Evaluate – Can you recommend ways to protect an endangered species?
  • Create – Can you create a new habitat for an endangered species of their choice?

              4. Community/Culture การเรียนแบบนี้จะทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมผู้อื่น ผ่านกิจกรรมพวก peer learning

              ถ้าถามว่า CLIL สำหรับเราอยู่ในลำดับไหน?

             คำตอบก็คือ ระบุไม่ได้ เพราะคิดว่าตัวเองไม่เคยเรียนอะไรแบบนี้ไม่ว่ากับภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่น ตอนที่เรียน Intensive English Program ตอนม.ต้น ก็เหมือนจะคล้าย ๆ CLIL แต่มันก็เป็นแค่ในวิชาภาษาอังกฤษ วิชาเนื้อหาวิชาอื่นเราก็ยังใช้ภาษาไทยในการเรียนอยู่ ส่วนภาษาญี่ปุ่นยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย ยังไม่เคยลองเรียนวิชาเนื้อหาด้วยเลคเชอร์ภาษาญี่ปุ่นล้วน และคิดว่าถ้าหากไปเรียนก็คงงงและใช้เวลาปรับตัวสักพักเลยแหละ

              แต่ด้วยแนวคิดการบูรณาการข้อดีของแต่ละแนวการสอนมาใช้ ได้เรียนเนื้อหาและภาษาไปพร้อมกัน แต่ปัญหาคือถ้าผู้สอนไม่จัดการเรียนการสอนอย่างดี ก็อาจจะทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจเนื้อหา หรือภาษาไปพร้อมกันได้ แต่หากมีบุคลากรที่มีศักยภาพเพียงพอในการสอน แนวคิดนี้ก็น่าจะมีประสิทธิภาพมากทีเดียว และอ้างอิงจาก https://www.english.com/blog/content-and-language-integrated-learning/ (อันนี้เป็นกรณีภาษาอังกฤษ) การเรียนแบบนี้เหมาะสำหรับเด็กที่ไม่ชอบเรียนภาษา เขาก็จะได้เรียนภาษาผ่านเนื้อหาไปด้วย คงเรียกว่าซึมซับไปแบบไม่รู้ตัว และสำหรับคนไม่ชอบเรียนเนื้อหาแต่ชอบเรียนภาษาก็น่าจะสนุกกับการเรียนภาษาผ่านเนื้อหาไปด้วย

             เหนือกว่าการเรียนภาษาคือการส่งเสริมให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล การมีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการสื่อสาร และมีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ถ้าหากเป็นแนวคิดที่สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะดังกล่าวได้ก็คงน่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

             สำหรับ blog นี้ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ เจอกันใหม่ blog หน้าค่าาาา

1 thoughts on “特別コーナー:仮説ランキング2

ใส่ความเห็น