タスク4:空想作文

              *คำเตือน: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของ Avengers : Endgame 空想作文 เรื่อง 透明人間 ท่านใดที่ยังไม่อ่านรบกวนไปอ่านได้ที่นี่

              ปิดเทอมแล้วร่างกายชัตดาวน์โหมดการเรียนไปเรียบร้อย การขุดตัวเองขึ้นมาเขียน blog อีกครั้งเป็นอะไรที่ยากมาก อีกอย่างคือติดซีรีส์อยู่ด้วย เหงามากอยากได้เพื่อนเม้าท์มอย ใครอยากดูก็มาดูด้วยกันได้ ชื่อเรื่อง 初めて恋をした日に読む話 นำแสดงโดยฟุคุดะ เคียวโกะ เพลงประกอบละครคือเพลง HAPPY BIRTHDAY โดย back number ค่า มาถึงจุดนี้ก็รู้แล้วนะคะว่าอยากขายอะไร55555555

              เข้าเรื่องได้แล้วเนอะ เวิ่นเว้อเก่งจริง เวิ่นเว้อเก่งจนไม่มีคนเชื่อแล้วว่าเขียน blog เน้นสาระ (เพื่อน ๆ :ไหนสาระ อ่านมาตั้งแต่ entry แรกแล้วยังไม่เคยเจอเลย)

              วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง task สุดท้ายของการเรียนวิชานี้กัน task นี้มีชื่อว่า 空想作文 ภารกิจก็คือ…ไปเขียนอะไรมาก็ได้ 1 เรื่อง โห ยากกว่าเขียนรายงานส่งวิชาซะกุบุนอีก (ล้อเล่น อันนั้นยากกว่า) ยากตรงที่พอบอกโจทย์ว่าอะไรก็ได้แล้วมัน blank มาก เหมือนตอนถามเพื่อนว่าอยากกินอะไรแล้วเพื่อนตอบว่าอะไรก็ได้เลยอะ แต่สุดท้ายก็ออกมาสำเร็จจนได้เพราะมีเดดไลน์ ต่อไปเราก็จะเล่าแบ่งไป 2 ตอนคือ ระหว่างคิดและเขียน กับตอนรับฟีดแบค รวมถึงเรื่องของเพื่อน ๆ ด้วยค่า

1. ระหว่างคิดและเขียน

แรงบันดาลใจ

              ก็คือเราอะ เคยฟังเพลงของ back number (อีกแล้ว?) ชื่อว่าเพลง 半透明人間 (มนุษย์กึ่งล่องหน) แล้วเราชอบคำนี้มากอะ คือบอกเลยว่าเรื่องนี้ชื่อเรื่องมาก่อนเนื้อเรื่อง แต่งไปแต่งมาแล้วเป็นกึ่งล่องหนยากเลยให้เป็นมนุษย์ล่องหนไป เลยเหลือแค่ 透明人間 การที่เราจะเป็นมนุษย์ล่องหนสำหรับใครคนหนึ่งได้ก็มีอยู่ 2 สาเหตุ คือเขาตั้งใจเมิน ทำเป็นไม่เห็น กับไม่เห็นจริง ๆ ก็เลยเล่นกับคำนี้และสองประเด็นที่ว่านี้

และนี่ก็คือเพลงค่า
(เพื่อน: หยุดขายได้แล้ว!)

พล็อต

              พล็อตก็เลยเริ่มมา เป็นกลิ่นอายนิยายอกหัก เป้าหมายของการทำ task นี้คือ เราอยากเขียนแบบค่อย ๆ ปล่อย clue ไปเรื่อย ๆ ว่าตอนสุดท้ายจะเป็นยังไง เหมือนเรื่องแมวกับซุปมิโซะในตัวอย่างที่อาจารย์เอามาให้อ่าน แต่ดูเหมือนจะไม่ค่อยสำเร็จเท่าไหร่เพราะยังมีคนอ่านแล้วไม่เกทบ้าง555555 ก็ถือว่าเป็นตอนจบที่ตีความได้เองก็แล้วกันเนอะ

              Clue ที่เราค่อย ๆ ปล่อยสู่ปมว่าตัวเอกที่เป็น narrator ตายแล้วเนี่ยก็คือตัวเอกผู้ชายไม่เคยเห็นนางเอกเลย นางเอกก็เลยคิดว่าตัวเองโดนผู้ชายเมิน แต่ความจริงแล้วคือผู้ชายไม่เห็นจริง ๆ เพราะตัวเอกตายแล้ว อันนี้หาอะไรมาอุด plot hole ยากมาก ไม่รู้จะทำยังไงให้คนอ่านคิดว่าผู้ชายเมินแต่ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น เราก็เลยอาศัย flashback เรื่องคำสัญญาเอา เช่น ตอนตัวเอกสั่งกาแฟแล้วผู้ชายไม่เห็น แต่มีกาแฟไปเสิร์ฟตอนหลัง นั่นก็คือมาจากคำสัญญา อะไรแบบนี้

              คืองานนี้เราใช้เวลาเขียนแปบเดียว แบบเสร็จใน 2 ชั่วโมงและเกลาอีกนิดหน่อยก่อนส่ง แต่ที่คิดนานมากคือพล็อตกับวิถีอุดช่องโหว่วของพล็อตนี่แหละ นอนคิดอยู่หลายคืน แต่หาทางอุดแล้วก็ยังคงงงกันอยู่ว่าตัวเอกเห็นอะไรแล้วร้องไห้ทำไม

              ถ้าเป็นแบบที่เราคิดไว้ตอนแรกก็คือ นางเอกเห็นรูปของตัวเองพร้อมกระถางธูปในห้องที่ผู้ชายเข้าไปมองแล้วยิ้มให้บ่อย ๆ ก็เลยร้องไห้ แต่ก็คือแป้กเพราะให้ hint ไม่พอ แหะ ๆ เอาเป็นว่า เปิดให้ตีความตามสะดวกเลยค่า

2. Feedback

ไวยากรณ์

              1. 助詞 เป็น error ที่เกิดอยู่ซ้ำไปซ้ำมาเพราะความไม่รอบคอบมากกว่าความไม่รู้ บางอันก็คือเขียนแบบ stream of consciousness ไหลไปเรื่อยแบบเช็คอีกรอบก็มองข้ามอะไรแบบนี้ หรืออย่างเรื่อง は・が ก็ยังมีผิดบ้าง บางทีก็ใช้ が ไปทำให้ครอบคลุมเนื้อหาไปไม่ถึงท้ายประโยค

              2. คำศัพท์ บางคำเราใช้โดยไม่ได้เช็คความหมายว่าเข้าบริบทหรือเปล่า เช่น เราใช้คำว่า その時から ถาหากใช้คำนี้จะหมายความว่าเราทำอะไรติดต่อกันตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น แต่ถ้าแค่ปล่อยเวลาผ่านไปเฉย ๆ ก็ใช้ それから ก็พอ (ขอบคุณคุณยามาดะที่ชี้ทางสว่างด้วยค่า)

              อีกคำคือคำว่า くだらない  เราต้องการจะสื่อว่าไร้ประโยชน์ ทำไปก็ไม่เกิดประโยชน์ แต่อันนี้คือประมาณว่า ไม่มีค่าพอจะเอามาเป็นสาระหรือสนใจอะไรแบบนั้น คุณยามาดะแก้มาเป็น つまらない แต่เราก็ว่ายังไม่ตรง เลยแก้เป็น 無駄だ

              3. ภาษาผู้ชาย-ผู้หญิง ส่วนนี้ตอนเขียนลืมนึกถึงไปเลยว่าเขียนอะไรที่มันกึ่งนิยายแบบนี้ก็ควรจะใช้ภาษาแบบปุถุชนทั่วไปไม่ใช่ภาษาสุภาพตลอดเวลา ถามว่ารู้ไหมก็คือรู้แหละ แต่ลืมใส่ใจไปเลย ในเรื่องตัวละครชายก็เลยใช้ 私 ซะงั้น แก้แล้วค่า

              4. Aspect เรื่องใหญ่มากเพราะผิดตรงนี้เยอะมาก ประมาณ 30% ของสิ่งที่ผิดเลยอะ ผิดจนสงสัยต้องกลับไปค้นเรื่อง aspect ในหนังสือของวิชา intro jp ling มาอ่าน ได้ความเกี่ยวกับ aspect ดังนี้

              Aspect (アスペクト) เป็นหน่วยทางไวยากรณ์หน่วยหนึ่ง แปลไทยได้ว่าหน่วยการณ์ลักษณะ ใช้อธิบายสภาพหรือการกระทำว่าอยู่ในขั้นตอนใดของเรื่องราว เช่น เป็นช่วงเริ่มต้นการกระทำ ช่วงระหว่างการกระทำ ช่วงจบการกระทำ สภาพเกิดขึ้นโดยคาดหมายหรือไม่ได้คาดหมาย แสดงรูปด้วยกริยานุเคราะห์ (助動詞)

              Aspect มีหลายรูป ทั้ง している、する、した、してある แต่ aspect ที่เราใช้ผิดทั้งหมดก็คือเราลืมทำเป็นรูป ている ก็เลยขออธิบายโดยโฟกัสที่รูปนี้ aspect ているใช้ได้ทั้งหมด 4 กรณีด้วยกัน คือ

  • แสดงการอยู่ระหว่างดำเนินการกระทำ ใช้กับคำกริยาต่อเนื่อง เช่น 働いている、食べている
  • แสดงความต่อเนื่องของสภาพหลังการกระทำ ใช้กับคำกริยาฉับพลัน เช่น 死んでいる、来ている
  • แสดงสิ่งที่เป็นประสบการณ์ ปรากฏร่วมกับคำกริยากล่าวอ้าง แม้เป็นอดีตที่จบไปแล้ว เมื่อยกขึ้นมากล่าวใหม่ก็มีสภาพเหมือนทำสิ่งนั้นตลอดเวลา เช่น 彼はがんの新薬を発見している。
  • แสดงการกระทำต่อเนื่อง กรณีทำสิ่งนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า

              ที่เราผิดจะเข้าข่ายกรณีแรกกับกรณีที่เป็นการบอกสภาพเลยต้องใช้ ている นั่นเอง   

ที่มา: แปดประเด็นภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น โดย อาจารย์อัษฎายุทธ ชูศรี

              5. อื่น ๆ เช่น เรื่องเรียงคำ เรื่อง tense ตกな・のใน 文型 ที่ควรจะมีบ้าง หรือคำวิเศษณ์ด้านหน้าไม่สัมพันธ์กับการจบประโยค คือคำว่า つい ที่ควรจะจบประโยคด้วย てしまう จะเข้ากว่า แล้วก็ที่แก้ไม่หาย น่าจะเป็น 化石化 แล้วคือ ต้นประโยคขึ้นด้วยคำกริยาที่เติม の・こと ให้เป็นคำนาม ซึ่งท้ายประโยคก็ควรลงด้วยคำนามด้วยแต่ชอบลืม

3. รวมมิตรเรื่องของเพื่อน ๆ ที่ชอบ

– เรื่องน้องหมา

อันนี้ความไบแอสส่วนตัวล้วน ๆ คือ อ่อนไหวกับสัตว์มาก ๆ อ่านเรื่องนี้ เฉลยตอนจบว่า narrator เป็นหมาเท่านั้นแหละ โอโห ร้องไห้น้ำตานองหน้าเลย ฮือ  ชอบตรงที่เฉลยมาก ๆ มันแบบ 自然に出た เลยอะ ก่อนหน้านั้นดูไม่ได้ฝืนหรือพยายามอะไรเลย เป็นธรรมชาติและทำให้เชื่อเลยว่ายังไงคนเล่าก็ต้องเป็นคน พอเฉลย บวกกับการกระทำที่น้องหมาทำมาก่อนหน้าคือ แง อยากกอดหมา แต่หมาที่บ้านตัวเหม็นมาก เอาไว้ก่อน

– 6時のエレベーターの女

ถามว่าเดาเรื่องได้ไหม ก็ตอบเลยว่าเดาได้ แต่การดำเนินเรื่องทำให้เราว้าวได้ ชอบบรรยากาศหลอน ๆ ตอนเล่ากับความดันที่เรารู้สึกไปพร้อมกับตัวเอกที่เล่าด้วย คือจุดนั้นแบบ ตะโกนในใจตลอดเวลาว่าหนีไปปปป5555555 ส่วนที่หลอนนี่เพราะลิฟต์คณะนี่แหละ うわさ เยอะ กลัวสักวันจะเป็นแบบนั้น แง

– 祇園祭りに隠された秘密

อันนี้เป็นแบบไม่เฉลยตู้มเดียวแต่ค่อย ๆ มา ชอบการปล่อย hint แบบพอดีของเรื่องนี้ ค่อย ๆ ปล่อยเรื่อย ๆ ให้งงนิดหน่อยแล้วก็เฉลยด้วยหมัดเด็ด ตอนจบก็อิมแพคมาก จบแค่นั้นแหละ ให้เรารู้สึกตกใจแทนตัวละครเอา 555555555 เรื่องนี้ทำให้เราอยากอ่านตอนต่อเลย

タスク4:透明人間

彼とはもう別れた。

先週のことだ。けんかの原因ははっきり覚えておらず、けんかした後で何か起こったかも私の記憶になかったようだ。確か私たちのアパートから出て、ドラマみたいに雨も降って、私は歩道を歩いていて…。そして、目が覚めた。1年前に彼と一緒に住むことになったアパートではなく、自分が彼と付き合う前に買ったアパートで。状況をつかむことができたとたんに、涙が流れてしまった。

それから一週間が経ち、自分の部屋に閉じこもらずに外に出ることにした。しかし、目の前にあるのは彼の喫茶店だった。無意識にここに来たなんて自分に情けない。せっかくここまで来たから、わけがわからないが入ることにした。普通にカウンターに向かってゆき、普通にコーヒーを注文した。が、カウンターに立っている彼に無視され、注文もお金も受け取ってもらわなかった。ただ1週間しか経っていないのに、無視されるなんてありえないだろうと思った。

そこにしばらく立っていたが、彼は私の存在に気づいていなかったようだ。

そのままでは無駄だなあと思い、その代わりに彼と付き合っていた間にいつも座っている席に腰をかけた。幸いなことにその席は空いている。座ってボーっとして外を見ているうちに、彼が何も言わずにコーヒーカップをそっとテーブルの上に置き、カウンターに戻った。最初はわからないが、彼が言ったことを思い出した。

「俺の恋人になったら、一生コーヒーは無料だよ!」って。彼が約束を守ってくれたのだ。

あの日から2週間、私は毎日彼の喫茶店に通っている。毎日は相変わらず、言葉を交換せずに、目も合わずに、私は私の場所に、彼は彼の場所に。彼にとって私は透明人間なのかもしれない。私はただその席から彼を見る。いつも見えるのは彼がカウンターの後ろにある部屋へ入り込み、誰かに笑顔を見せることだ。

「その部屋の中を見て、いつもにこにこしてるって、誰がいるのかな?」といたずらにお客さんが彼に言った。

「彼女だよ!」と笑顔で答えた。

「えっ、会いたい会いたい!紹介してよ。」

「ダメ!彼女は私だけのものだから。」

そうか。そうだよな。私と別れてすぐ彼女ができたなんてずるい。

そうした日々は続き、私はまだバカみたいに彼の喫茶店に通っている。そこにいる時に、いつもその部屋をじっと見ていて、ついつい彼女のことをうらやましく感じてしまう。私はこんなバカなことをもうしたくない。そこで、私は決めた。一回だけ彼の新しい恋人の顔を見て、あきらめる。自分の新しい人生を始めたい。

彼がその部屋のドアを開けるときに、私はひそかに中を見た。

とたんに、涙が流れてしまった。

タスク3.5:ウォーミング・アップ空想作文

            ได้รับภารกิจที่อาจเรียกได้ว่าเป็นกึ่ง 目に浮かぶ描写 และเป็น 空想作文入門 ด้วย นั่นก็คือออ การเขียนเรื่องผีนั่นเอง อาจจะมึนงงว่าทำไมต้องเรื่องผี คือ คำสั่งของภารกิจนี้เป็นการแต่งเรื่องจาก sequence เหตุการณ์สั้น ๆ ที่อ่านตอนแรกแล้วก็รู้สึกว่าทำไมมันห้วนจนน่าสงสารขนาดนี้

เรื่องมีอยู่ว่า ตัวเอกไปเจอผี แล้วก็มีผีโผล่ออกมาอีกหลายตัว หนีเข้าบ้านหลังหนึ่งไปก็เป็นบ้านผีอีก สุดท้ายก็วิ่งหนีออกมาจนถึงทุ่งหญ้า เจอเพื่อนเพื่อนก็ช่วยปราบผีให้ จบ!

ที่มา: Naverまとめ
ตอนแรกจะใส่ผีน่ากลัว ๆ แต่กลัวคนเข้ามาอ่านตกใจ เอาอันนี้ละกัน เป็นผีที่น่ารักสุดในสายตาเราแล้ว555555

              ซึ่งอ่านแล้วก็ เอ๊ะ? ยังไงนะ ภารกิจที่ได้รับก็คือ เอาโครงเรื่องนี้ไปแต่งต่อยังไงก็ได้ แบบไม่รู้สี่รู้แปด เอาตามที่ชอบเอาที่สบายใจ สุดท้ายแล้วเราก็แต่งออกมาได้ประมาณนี้ ให้ชื่อเรื่องว่า バイトからの帰り道 แต่แทนที่จะเป็นเรื่องผีดันกลายเป็นนิยายรักอยู่กลาย ๆ สงสัยจะอ่านนิยายรักมากไปหน่อย 555555 จนได้คอมเมนต์มาจากเพื่อนว่า ควรเปลี่ยนชื่อเรื่องให้สื่อกว่านี้หน่อย

              คอมเมนต์ที่ได้มาจากเพื่อนที่ให้คะแนนเรา ส่วนมากที่ชอบเพราะมันเป็นนิยายรักนี่แหละ แต่ถ้าหากจุดประสงค์ของภารกิจนี้เป็นการเล่าเรื่องผีให้น่ากลัวเราว่าเราเขียนไม่ค่อยตรงจุดประสงค์เท่าไหร่ ต้นเรื่องก็อึน ๆ หน่อยเพราะต้องบรรยายปูเรื่อง ตรงนี้ก็อาจจะเป็นข้อติได้ เพราะรู้สึกเหมือนกันว่าอ่านแล้วไม่ engage เท่าไหร่ อาจจะทำให้คนเลิกอ่านตั้งแต่ต้นเพราะดูไม่น่าติดตาม แล้วก็บรรยายผีได้ไม่น่ากลัว นี่แหละปัญหา แต่เอาเป็นว่า task นี้มันจบแล้วเราก็เลยปรับปรุงตัวใน 空想作文 full ver. ไปแล้ว ต้องรอดูฟีดแบคชิ้นนั้นจากเพื่อน ๆ อีกรอบ

              ต่อไปก็เป็นการส่องกระจกชะโงกดูความโง่(?) เอ้ย ความผิดพลาดตัวเอง

  • ไวยากรณ์ต่าง ๆ
  • คำช่วย ก็ยังมีเผลอใช้ผิดอยู่ เช่น ใช้ を見える มึนจนสงสัยว่าตัวเองอยู่ปี 3 แล้วจริงเหรอ ส่วน を悲しむ อันนี้ทวนความรู้สมัยเรียนภาษาศาสตร์ญี่ปุ่นเบื้องต้นเลย พวก 形容詞 จะมีที่เป็นแบบแสดงอารมณ์(感情形容詞)กับแสดงลักษณะ(属性形容詞)เจ้า 悲しむ เนี่ย เป็นกริยาคู่กับ 悲しい ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์แสดงอารมณ์ ถ้าใช้ 悲しむ จะเป็นคำช่วย を จะแสดงอารมณ์ที่ลึกซึ้งมากกว่า ส่วน 悲しい จะใช้ に แสดงอารมณ์ไม่รุนแรงเท่า ประมาณนี้
  • กริยา ก็ยังเป็นปัญหาเพราะขาดการตรวจให้รอบคอบอีกนั่นแหละ ใช้ 近づける แทน 近づく บ้าง ผันกริยา 置く เป็น置きて บ้าง อยากตีตัวเองเลย5555555
  • การใช้คำบ่งชี้ เช่น あの・その ซึ่งมันมีหลักการว่าถ้าหากสองฝ่ายทั้งผู้ส่งและผู้รับสารรับรู้ร่วมกันว่าหมายถึงอะไรก็ใช้ あの ได้แต่ในเรื่องเราอาจจะเขียนถึงอะไรที่ผู้รับสารไม่สามารถทราบได้ว่าเราหมายถึงอะไรจึงไม่ควรใช้ あの
  • การดำเนินเรื่อง
  • เปิดเรื่อง จากชีทที่อ.ให้มาหลังจากที่ผลัดกันอ่านของเพื่อนแล้ว ลักษณะการเปิดเรื่องมีประมาณนี้
    • เปิดด้วยบทสนทนา
    • เปิดด้วยประโยคที่ให้ภาพแบบมีการเคลื่อนไหว
    • เปิดด้วยสถานการณ์ที่ประหลาด
    • เปิดด้วยการพูดเป็นนัยว่าจะมีอะไรเกิดต่อจากนี้
    • เปิดแบบไม่มีอะไรเลย

ซึ่งของเราเนี่ยเป็นการเปิดแบบไม่มีอะไรเลย ก็คือเปิดแบบไม่ได้สื่อว่าตอนจบจะเป็นยังไง แค่เราจะเล่าโดยปล่อย clue ไปเรื่อย ๆ แต่ดูท่าจะไม่สำเร็จเพราะอ่านแล้วก็น่าเบื่ออยู่ อันนี้จะเอาไปปรับในงานหน้า

  • การดำเนินเรื่อง รู้สึกว่าเปลี่ยนอารมณ์เรื่องเร็วไปหน่อย คิดถึงแฟนอยู่ดี ๆ อยู่ ๆ ก็กลัวผีเฉยเลย5555 ตอนแต่งเองก็รู้สึกแปลก แต่งเสร็จมาอ่านทวนก็รู้สึกแปลกอีกแต่ก็ไม่รู้จะแก้ยังไงเหมือนกัน แล้วก็ เราไม่ค่อยบรรยายให้เห็นภาพเท่าไหร่ ส่วนมากก็บรรยายด้วยประโยคเรียบ ๆ ส่วนหนึ่งเพราะคลังศัพท์ในหัวก็ค่อนข้างน้อยด้วยแหละ
  • ตอนจบ โดยทั่วไปมี 3 แบบด้วยกัน
    • จบด้วยเรื่องน่ายินดี
    • กลับมาที่จุดเริ่มต้น อันนี้คือเคยอ่านที่ไม่ใช่ในคลาสนี้ อ่านแล้วจะเป็นฟีลแบบ อ่านทั้งหมดมาทำไม555555
    • จบแบบ ทั้งหมดอะ เข้าใจผิด!

เรานี่ไม่รู้จะเรียกตอนจบตัวเองว่าแบบไหนดี ไม่สามารถ categorized ตอนจบที่ตัวเองเขียนเข้าใน 3 แบบที่เขียนมาได้ เราจะเรียกมันว่าความเฉพาะตัวก็แล้วกัน แหะ ๆ

ที่มา : irasutoya

              นอกจากให้เขียนเองแล้วอ.ก็ยังให้ตัวอย่างที่คนญี่ปุ่นเขียนมาด้วย ส่วนตัวเราชอบเรื่อง 民宿のお味噌汁 เป็นเรื่องเล่าที่ดำเนินเรื่องให้ตอนจบรู้สึก เอ๊ะ? ได้ แต่ก็ไม่ได้มาตอนจบทีเดียวตู้มเลยนะ เขาพยายามปล่อย clue มาอยู่ตลอดเรื่อง ส่วนประโยคจบคือ impact มาก ตอนอ่านจบคือว้าวแรง

              สรุปแล้วภารกิจนี้ก็สนุกอยู่นะ แบบได้แหกกฎการเขียนที่เคยเขียนมาตั้งแต่เรียนภาษาญี่ปุ่นเลย ก่อนหน้านี้ก็เขียนพวก 作文 อะไรแบบนี้เยอะอยู่หรอกเพียงแต่ก็เป็น academic writing แบบกลาย ๆ คือเขียนมีรูปแบบและเป็นรูปธรรมชัดเจน ใส่จินตนาการอะไรไม่ได้มาก ออกความคิดเห็นได้บ้างแต่ก็ไม่ได้สนุกเหมือนเขียนอันนี้อะเนอะ

タスク3.5:バイトからの帰り道

バイトからの帰り道

※ที่เป็นตัวหนาไม่ได้มีนัยใดทั้งสิ้นนอกจากเป็นจุดที่โดนแก้ แหะ ๆ

夜11時ぐらい、レストランでのバイトシフトが終わった。僕はいつもと同じように歩きなれた線路沿い道を歩いて家に向かっていた。早くこの辺りを通して帰りたかったが、目に溢れている涙のせいで道がよく見えなくて、思い通りのペースで歩けなかった。今は手をつないで一緒に歩いているはずだったのになあ、と僕は思った。3日前に亡くなった彼女と。思えば思うほど悔しく感じた。なぜその日、彼女と一緒に帰らなかったのだろうと。僕と一緒だったら、強盗にあったときは僕は少しでも助けられるのかなとこの3日間ずっと思っていた。この帰り道が嫌になってしまっても避けることができないなんてもっと悔しい。ただ一つの帰り道だから仕方がなかった。

歩いて歩いて、道も妙に暗くなってしまった。いつもだったらこの帰り道はコンビニや居酒屋ばかりで暗いスポットはほとんどなかった。今日は変だなあと思うと、道の向こうに人間の存在薄く見えた。いや、薄くて、見下ろしたら足が見えなかったから人間はずがないだろう。お化けかもしれないと思ったら、彼女のこと悲しんでいるけど怖がりの僕は怖くなってしまった。怖くて何もかもはっきり見えてなかったのに、パーッと逃げ出した。後ろの方に気をつけながら走っていたが、どれだけ走っても距離が縮まってしまった。後ろを一瞬だけ振り返ったのに、もう一度前に向いたら目の前は行き止まりだった。しかも、一人だったお化けはどの方向からわからないが次々と出てきた。

お化けがどんどん増えてきて、見渡したらコンサート場の中にいるようにお化けが目に余るぐらい多かった。でも、コンサート場の中にいる雰囲気ではなく、今は怖さでいっぱいだった。怖くて息が弾んでおり、逃げ場を必死に探していた。通覧してみると近くに電気がついている家が見つかった。中には人間のような姿が見えて少し安心した。僕は静かに動いて、一歩ずつその家の方に近づいていった。しかし、十分気を付けないせいで道に置いてあるごみ箱にぶつかってしまい、音がしてお化けは全部僕の方に向いた。

まずいと思い、僕は全力で走り出した。追いてくるお化けを無視して僕が見えた家に入り込んだ。不思議なことに目の前にある家は僕の家にそっくり似ていた。しかも、家にいる人は僕の彼女だ。ありえない。彼女はもう…。「松本君…」と彼女はつぶやきながら、僕に近づいてきた。僕も一瞬彼女だと思って彼女の方に歩き出した。しかし、近づくにつれて彼女の顔はだんだん変わってきて別人になってしまった。その時、僕は気づいた。それは彼女ではない。僕の彼女に化けたお化けだ。きれいだった僕の彼女の顔は血まみれになり、笑顔もおかしくなってきた。僕はまた怖くなってその家から逃げ出した。

止まる間もなく僕は暗い道を歩いて野原まで走った。お化けたちもしつこく僕を追いかけていた。どうしたらいいかわからないときに目に入ったのは人間の姿のようだ。その姿は向きを変えて「松本くん!」と叫んだ。あの人は間違いなく親友の櫻井くんだった。でもまだ確信できないと思って、彼に近づかないことにした。どうしようもなくただじっとその場に立っていた。「後ろ!」と櫻井くんに注意されたが、僕は何もできなかった。突然、彼が高速で僕の方に走って「えいっ。」といってやってくるお化けたちをやっつけてくれた。少し時間をかけてやっとお化けは全部倒れてしまった。

「助かった、櫻井くん」と僕は言った。

彼は何も返事しないで、ただ笑った。それで、櫻井くんは僕の亡くなった彼女の姿に少しずつ変わってしまい、彼女が消える前に短い言葉を口にした。「元気でいてね」って。

ขอบคุณประโยคจบ แรงบันดาลใจจากเพลง ハッピーエンド-back number (มันขายของอีกแล้ว แง)

タスク3 : 目に浮かぶ描写

ตอนได้ยินชื่อ task ครั้งแรกก็แบบ เอาละ งานเข้าละ ใหม่แบบ ใหม่จริง ๆ ไม่เคยทำสิ่งนี้มาก่อน ในใจก็คิดจะทำได้ไหม ทำได้หรือเปล่า พอทำออกมาแล้วก็ทำออกมาได้ไม่ค่อยดีจริง ๆ นั่นแหละ เราเป็นคนที่ค่อนข้างด้นสดไม่เก่ง อย่างในคาบ conver ตอนจับหัวข้อ 1分スピーチ คือในหัวมันเรียบเรียงประเด็นไม่ได้ก็เลยพูดวนไปมา ผลจากการทำ task นี้ก็เหมือนกันเลย พูดวนอยู่จุดเดิม แถมใช้คำซ้ำ บางคำก็ผิดความหมายไปเลย

    ข้อความด้านล่างนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งแรกที่ทำ task เลย คือให้ดูรูปที่เป็นการ์ตูน 4 ช่องเรื่อง 赤ちゃんと犬 ช่องแรกเป็นรูปทารกมองหมาแล้วทำท่าจะเข้ามาเล่นด้วย ช่องสองเป็นตอนที่เด็กคลานมาหน้าชนกับหมา แล้วก็ตกใจ ช่องสามอยู่มาลีนนท์ เอ้ย ไม่ใช่ ช่องสาม เป็นรูปเด็กที่น่าจะปิ๊งไอเดียว่า ต้องเข้าจากด้านหลังหมาถึงจะไม่รู้ตัว แต่ระหว่างที่กลับตัวคลานอยู่ หมาก็หันหน้ากลับไปอีกด้าน และในช่องสี่ ช่องสุดท้ายเป็นรูปเด็กที่คลานกลับทางแล้ว แต่ก็ยังคลานมาชนกับหน้าหมาอยู่ก็เลยตกใจและงงว่าเกิดอะไรขึ้น!

(เอาจริงคุณหมาคิ้วท์จะตาย ถ้าเป็นแมวก็คือเด็กโดนแมวสักยันต์ห้าแถวแล้ว)
ที่มา: https://wanchan.jp/osusume/detail/1499

    ดูรูปไม่เข้าใจก็เลยเล่าข้ามตรงที่หมาหันตัวกลับด้วยอะ คนฟังบอกเข้าใจแต่เราเนี่ยแหละไม่เข้าใจเอง5555 อันนี้เราถอดเทปจากที่พูดตอนแรกสุด ได้ดังนี้…

 ある家に、(うん)あのう、赤ちゃんと犬が一匹います。(うん)えー、ある日、赤ちゃんが、あのう、犬の背に乗って、なんか、遊びたいかなあと思っていますが、あのう、えー、犬に乗るためには犬の後ろから、のす、乗る、乗るんですね。(うん)はい。でも、ええ、赤ちゃんは(はい…)はい?(はう)はいまわって、はいまわっても見えるのは犬の、犬の後ろじゃなくて、犬の前です。(うん)犬の顔。(うん)ですから、乗れないと思って、また、あっ、はい回り始めました。(うん)はい。そして、はい回って、はい回って、後ろから犬に乗ろうとしたが、また犬の顔があった。(うんうん)ありました。ええ、ですから、(うん)赤ちゃんは犬の背中に乗れませんでした。はい。終わりです。

*ในวงเล็บคือ あいづち หรือการตอบรับจากคู่สนทนา

    ก็มีใช้รูปประโยคผิดเต็มไปหมด เช่น 犬の背に乗って พอพูดงี้แล้วเหมือนลำดับเหตุการณ์เลยอะ อ่านแล้วแปลก ๆ ส่วน はいまわる ก็คือรู้จาก ณ จุดนั้นที่พี่โต้บอกว่า คลานคือ はう ไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อนและไม่รู้วิธีใช้ ผลก็คือ มั่ว!

    หลังจากส่งอันนี้ไป อ.ก็ให้แก้ส่งกลับไปอีกรอบนึง โดยก่อนจะแก้ก็ได้ดูงานที่คนญี่ปุ่นเป็นคนเขียนในเรื่องเดียวกัน เลยได้เห็นเทคนิคอะไรหลายอย่างที่คนญี่ปุ่นใช้ รวมถึงการหลากคำด้วย

  1. นอกจากบรรยายว่ามีตัวละครไหนบ้างแล้ว ก็ยังบรรยายลักษณะของตัวละครด้วย เช่น わんぱく小僧といった様子の赤ちゃんが、自分と同じくらいの大きさの犬 ทำให้จินตนาการภาพได้ชัดว่าตัวละครตัวใหญ่แค่ไหน หมาตัวเท่าไหน
  2. นอกจากบรรยายให้เห็นภาพ ยังมีการใส่ความคิดให้ตัวละครด้วย เช่น ตอนเด็กมองหมา ถ้าเป็นเราก็คงบอกว่าเด็กอยากเล่นกับหมาเฉย ๆ แต่มีคนญี่ปุ่นบางคนที่ใส่ความคิดและแรงจูงใจของเด็กเพื่อเพิ่มภูมิหลังให้เรื่องด้วย เช่น 「金太郎が熊に乗っているみたいに、僕も犬に乗りたいな。」หรือสาเหตุที่เด็กงุนงงก็อธิบายเพิ่มว่า ด้วยความคิดของเด็กเลยไม่เข้าใจว่าทำไมถึงยังคลานไปเจอหน้าของหมาอีก
  3. จะมีการใส่กริยาวิเศษณ์ (副詞) เพื่อให้ภาพเหตุการณ์ชัดขึ้น เช่น 突然 そっと ぱちっと
  4. ฉาก climax จะบรรยายค่อนข้างยาวมีการใส่ความคิดของตัวละครเพิ่มอารมณ์
  5. คำที่หลากคำได้ก็จะหลาก เช่น คำว่าด้านหลังมีคำว่า 後方 背中 後ろ 背後
  6. ใช้คำกริยาประสม (複合動詞) สร้างให้ภาพชัดขึ้น เช่น 忍び寄る 回り込む

    พอจับสังเกตได้แล้วก็เลยเอาไปปรับแก้ด้วยตัวเองก่อนแล้วก็รับคำแนะนำจากอาจารย์มาเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยได้ดังนี้

 ある家に、赤ちゃんと犬がいつも一緒にいます。その犬は赤ちゃんが生まれる前からその家にいます。ということは、赤ちゃんが生まれてからずっと、犬が友達でいてくれていたのです。(2)ある日、赤ちゃんは人が馬に乗ることをテレビで見かけて、楽しそうだからそのようなことがしたくなりました。しかし、赤ちゃんの家ではテレビで見た馬はいなくて、どうしたらいいかわかりませんでした。すると、友達である犬の眠り姿が赤ちゃんの目に入ったので、犬に乗ればいいんじゃないと思うようになりました。そこで、赤ちゃんは眠っている犬にはいはいしながら(3)そっと近づいていこうと思いましたが、犬に気づかれてしまってもう乗れなくなってしまいました。でも、赤ちゃんはどうしても乗りたかったので、今度は背後から(3)そっと(6)忍び寄って乗ろうとしました。赤ちゃんは犬の背後が目に入ったら乗れると思いながら、向きを変えてハイハイをしました。(3)ようやく動きおわって、犬のしっぽが見えるはずだっと思ったのに、そこに犬の顔がありました。赤ちゃんは状況をつかむことができなくて、(2)自分が別の方向へはいはいをして回り込んだのになぜ思い通りに犬の背中に乗れないのかと思いました。しかし、赤ちゃんが犬の背後から乗れないことは赤ちゃんのやり方のせいではなく、犬が向きを変えたからです。実は、犬は赤ちゃんが生まれてから、飼い主の愛情が感じなくなってしまって、ずっと恨みを持っていました。ですから、赤ちゃんとは全く一緒に遊びたくないのです。

*ตัวหนา: อ.แก้มาให้

ตัวเอียง: แก้ตามที่จับจุดมาจากที่คนญี่ปุ่นเขียน ตัวเลขในวงเล็บคือตามข้อสังเกตด้านบน

จุดแก้

  • そこで ตอนแรกใช้ ですから แต่พอมาดูความเชื่อมโยงแล้ว 2 ประโยคนี้ไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลกันชัดขนาดนั้น อ.เลยแนะนำว่าใช้เป็น そこで มีนัยว่ากำลังจะเข้าจุด climax แทนดีกว่า
  • 乗ろうとしました ตอนแรกใช้ 乗ろうとしています แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่ใช้เวลานานใช้แค่ しました ก็พอ
  • 状況をつかむ ตอนแรกใช้คำว่า 現状をつかむ อ.ก็บอกว่า ใช้ 状況 เยอะกว่า ไปเปิด http://nlt.tsukuba.lagoinst.info แล้วก็ เอ จริงแฮะ5555

ส่วนอันนี้สงสัยเพิ่ม ใช้ 実態 ในบริบทนี้ได้ไหมนะ

  • はいはいをして回り込んだ ตอนแรกใช้แค่ はいはいをまわった เลย แต่พออ.แก้ให้แล้วก็รู้สึกว่าเห็นภาพขึ้นจริง ๆ ด้วย แต่เรายังใช้กริยาประสมไม่ค่อยเก่งอะ ไม่ค่อยกล้าใช้ด้วย😂😂
  • やり方のせい ตรงนี้ตอนแรกไม่มี のせい (ผลจาก…ซึ่งไม่ค่อยดีเท่าไหร่) แต่พอใส่แล้วเห็นการเชื่อมโยงมากขึ้น

    สำหรับ task นี้ รู้สึกว่ายาก แล้วก็ทำได้ไม่ค่อยดีเลยสักรอบ 555555 ทำใจแล้ว ทำดีสุดได้แค่นี้ ฮือ เอาใหม่ task หน้า!

タスク3:まだ完成じゃないけど

              ถึงจะจั่วหัวว่า task 3 แต่ task นี้ก็ยังไม่สมบูรณ์ดีเท่าไหร่หรอก ยังอยู่ในช่วงตบ ๆ เคาะ ๆ ให้เข้าที่เข้าทางอยู่ แต่ก่อนจะเข้าเรื่องว่า task นี้ทำอะไรบ้าง เราอยากแนะนำบุคคลใหม่ให้ทุกคนได้รู้จัก นอกจากคุณ Krashen ที่คร่ำหวอดในวงการภาษาศาสตร์ กับทฤษฎี Input Hypothesis ที่เรียนไปร้องว้าวไป คราวนี้ถึงตา output hypothesis กันบ้าง

              ผู้ที่เสนอทฤษฎี output นี้คือคุณ Merrill Swain คนนี้เอง

              เธอเชื่อว่าการสร้าง output จะช่วยให้ผู้เรียนภาษาตระหนักว่า สิ่งที่ตนทำได้ กับสิ่งที่ตนควรทำได้มีความต่างกันมากเท่าไหร่ ซึ่งการรู้ว่ามีความห่างเท่าไหร่นี้ ทำให้ผู้เรียนรู้ว่าตัวว่าต้องพัฒนาตนเอง และเสนอเรื่อง comprehensible output คือ output ที่คู่สนทนาสามารถเข้าใจได้ด้วย

              พออ่านเรื่อง comprehensible output กับตัวอย่างบทสนทนาคนเล่าเรื่อง 1 litre of tear แล้วก็นึกถึงตัวเองตอนที่ทดสอบระดับการสนทนากับอ.คนโดเมื่อตอนปี 2 เทอม 1 ตอนนั้นก็คือเข้าไปคุยแบบ ควรจะสบายแต่กดดันจนเกือบหายใจไม่ออก 55555555 เรื่องที่จำได้แม่นสุดคืออ.คนโดถามว่างานอดิเรกคืออะไร เราตอบว่าอ่านหนังสือ อ.ก็เลยถามต่อว่าช่วงนี้อ่านหนังสืออะไรอยู่ ตอนนั้นเพิ่งอ่านฆาตกรรมบนเนิน D (D坂の殺人事件) ของเอโดกะวะ รัมโปฉบับแปลไทยจบ

ของสำนักพิมพ์ JLIT ปกคอมมิคหล่อมากกกกกกกกก
หาซื้อได้ทั่วไปแต่ปกคอมมิคน่าจะไม่มีแล้วแหละ แหะ ๆ

              เท่านั้นแหละ เซนเซให้เล่าว่าเรื่องเป็นไง โอโห ตอนนั้นคือมืดแปดด้าน เล่าเองไม่เข้าใจเองแล้ว ตอนนั้นก็พยายามเล่าแบบงง ๆ อ.คนโดก็พยายามทำความเข้าใจแบบงง ๆ เหมือนกัน จากตอนนั้นก็เลยรู้ว่าจุดอ่อนตัวเองน่ะเป็นการเล่าเรื่องนี่แหละ ผลการทดสอบสนทนาตอนนั้นได้ 上中級 ตอนนี้อยากลองไปแก้มือสักครั้ง ไม่รู้จะขึ้นหรือยัง555555

                แล้วคือไอเรื่อง output ที่ว่านี่เกี่ยวกับ task 3 แบบตรง ๆ เลย คือใน task นี้เนี่ย ชื่อเก๋ ๆ ว่า 目に浮かぶ描写 หรือการเล่าให้เห็นภาพ อ.กนกวรรณให้ดูภาพแล้วเล่ายังไงก็ได้ให้คู่สนทนาเข้าใจว่าภาพมันเป็นยังไง ตอนนั้นก็คือต้องรวบรวมสติ เข้าใจภาพแล้วเล่าเลย ศัพท์ก็นึกไม่ออก ภาพก็เข้าใจไม่หมด ออกมากระท่อนกระแท่นพอสมควร แต่พี่โต้ก็ยังปลอบใจว่าเข้าใจนะ แหะ ๆ เป็น white lie หนูรับได้ค่ะ

              สำหรับเรา สิ่งที่ยากกว่าคิดศัพท์ไม่ออก คือการเล่าเรื่องให้เป็นลำดับและมี climax มากกว่า หลังจากถอดเทปเสียงของตัวเอง และอ่านที่คนญี่ปุ่นเขียนแล้ว รู้สึกว่าคนญี่ปุ่นเขาค่อนข้างเล่าเรื่องเป็นลำดับขั้นและมีจุด climax ด้วย น่าจะแบบ 起承転結 ที่เราคุ้นเคยกันดี เราก็เลยรู้ว่า gap เราเนี่ย เหนือกว่าเรื่องศัพท์หรือรูปประโยค คือการเรียบเรียงให้เข้าใจมากกว่า

              แต่ก็คือ ลองเขียนแก้แบบตั้งสติ ลองลำดับเรื่องแล้วเขียนไปแล้ว จะเป็นยังไงโปรดตามต่อบล็อคต่อไป

タスク2:手際のよい説明

              เคยมั้ย? มีคนมาถามทาง

              ในสยามนี่แหละ ไอเราอะ บางที่ไปถูกนะ แต่ไม่รู้จะอธิบายยังไงว่ามันไปยังไง หรือบางทีเดินเองยังหลงเองเลย อย่าถามหนูววว (โดยเฉพาะ Central World หลงทางในห้าง is not a joke!)

              ไอทักษะการบอกทางเนี่ย เรียนตั้งแต่สมัยอะกิโกะ โตะ โทะโมะดะจิ เรียนตั้งแต่สมัยอะกิโกะ ณัฐฐา (ชื่อนี้หรือเปล่านะ?) ปิยะ และสุนีย์อยู่ม.5 เรียนมานาน แต่ที่เรียนไปไม่เคยได้ใช้จริงเลย แถมมาเรียนซ้ำอีกรอบตอนปี 2 ก็บอกเลยว่า คนญี่ปุ่นมาอ่านน่าจะหลงไปจากสยามไปถึงวัดพระแก้ว เขียนอธิบายเก่งจริง ๆ

              มาเรียนรอบนี้ก็ task ที่คุ้นเคย ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง เขียนอธิบายทางจากบีทีเอสช่องนนทรี จุดหมายอยู่ที่อาคารบรมราชกุมารี แต่แน่นอนว่ามันพิเศษเพราะมีคำว่า 手際のよい!! คำนี้ไม่ได้ประดับมาเล่น ๆ เพราะต้องเขียนอธิบายทางให้เข้าใจง่ายจริง ๆ ด้วย เขียนให้เข้าใจง่ายนี่แหละ เขียนยาก ในใจอยากพิมพ์ว่า グーグルマップを使って行ってください。แต่จิตใจด้านใฝ่เรียนก็เพียรพยายามเขียนออกมาเป็นการเขียนอธิบายที่ยาวจนไม่รู้คนญี่ปุ่นเขาจะเลิกอ่านแล้วเดินมั่ว ๆ เองมั้ย

Image result for bts ช่องนนทรี
Image result for bts สยาม

              ปกติเขียนเรียงความหรืออะไรที่ยาว ๆ ก็ไม่เคยมีความเห็นใจต่อผู้อ่าน ปั่นให้เสร็จแล้วส่งอย่างเดียว เริ่มรู้สึกผิดต่ออ.โคยะมะ อ.นะกะอิ และอ.อิเคะทะนิขึ้นมาแบบเล็ก ๆ เหล่าอาจารย์ต้องทนอ่านเรียงความที่ปราศจาก empathy ของเรามาปีเต็ม ๆ

              รอบนี้เลยตั้งเป้าหมายว่า จะพยายามเขียนแบบเห็นใจผู้อ่าน ลำบากตัวเองหน่อย (อะไรนะ ไม่หน่อย?) แต่น่าจะบรรลุเป้าหมายและจุดประสงค์ของการเขียนจริง ๆ

              ก็นี่เขียนเพื่อให้คนญี่ปุ่นไปให้ถูกที่นี่ จะให้คนเขียนอ่านรู้เรื่องคนเดียวมันก็…

              หลังจากที่เขียนเองดราฟต์แรก ได้ฟีดแบคจากเพื่อนในห้อง ดูตัวอย่างที่คนญี่ปุ่นเขียน และตัวอย่างที่คุณยะมะดะที่มาร่วมคลาสด้วยหนึ่งครั้งช่วยเขียนมาให้แล้ว ลิ้งค์ด้านล่างนี้เป็นฉบับไฟนอลที่เราคิดว่า ส่วนตัวเราโอเคแล้วคนอ่านก็น่าจะถึงจุดหมายได้แหละ จะแปะเลยก็กลัวลายตา แยกไปดีกว่า 😉 文学部へ迷わずににたどり着ける詳しい道のり

              แต่ที่เขียนฉบับไฟนอลไปเนี่ย ก็พบว่าตัวเองมีข้อผิดพลาดที่ตัวเองมองข้ามอยู่ไม่น้อยทีเดียว

1. ด้านเนื้อหา

              1.1 ตั๋ว: เราลืมนึกไปว่า คนญี่ปุ่นอาจจะใช้เครื่องซื้อตั๋วบีทีเอสไม่เป็น และอาจจะไม่รู้ว่าบีทีเอสมีเครื่องที่รับแต่เหรียญ (ลืมนึกถึงตอนที่ยืนงงอยู่หน้าตู้ขายตั๋วรถไฟที่ญี่ปุ่นเลย) มาถึงก็เชิญขึ้นชาญชาลาไปสนามกีฬาแห่งชาติเลยจ้า แล้วก็เรื่องตั๋ว มันมีตั๋วที่ขาออกต้องสอด ถ้าคนญี่ปุ่นเห็นตัวอย่างจากคนข้างหน้าที่ใช้แรปบิทแตะออก มันก็น่าจะไม่เปิด

Image result for ตั๋วบีทีเอสใหม่
อันนี้บัตรบีทีเอสแบบใหม่ แตะเข้า สอดออก คนญี่ปุ่นที่เคยมาไทยก่อนหน้าอาจจะงงเพราะของเก่าเป็นแบบสอดเข้าสอดออก

              1.2 จุดสังเกต: มองข้ามจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นพวกเสียงประกาศว่ากำลังจะถึงสถานี อันนี้คิดว่ามีประโยชน์มาก เพราะมองแผนที่ในรถไฟฟ้า บางทีก็ไม่ค่อยช่วยอะไรเท่าไหร่ แล้วก็เวลาลงจากสถานีมา จุดสังเกตที่เป็นร้านใหญ่ ๆ หรือห้างก็ช่วยได้มาก อันนี้เราคิดว่าเราทำได้ค่อนข้างดีนะ แต่รู้สึกว่า ของคุณยะมะดะซังดีมาก ๆ โดยเฉพาะที่บอกว่าตรงข้ามตึกบรมฯ มีตึกที่เหมือนวัดไทยอยู่ อันนั้นคือเด่นมาก แต่สงสัยชินตาเลยลืมนึกถึงว่ามันเป็นจุดสังเกตที่ดีมาก

อีกอย่างคือเรื่องรูปร่างตึก เราไม่ได้เขียนอธิบายเรื่องตึกรูปตัว L แต่เขียนแค่ว่ามีโรงอาหารกับร้านกาแฟ True Coffee นั่นก็คิดว่าละเอียดแล้วนะ แต่เขาคิดเรื่องตึกรูปตัว L ด้วยอะ เนี่ย empathy ของจริง

              1.3 ภาษาที่ใช้บอกสถานที่: ในไทยส่วนมาก็มีสองภาษาคือไทยกับอังกฤษ (มีจีนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ) ถ้าหากเราถอดเป็นคะตะคะนะทั้งหมด คนญี่ปุ่นก็น่าจะลำบากอยู่ไม่น้อย จุดนี้เลยคิดว่า ใช้ภาษาอังกฤษไปน่าจะดีกว่า (ยกเว้นที่คุ้น ๆ กัน แบบที่ญี่ปุ่นก็มีแบบเซเว่น) แล้วก็ตึกบรมราชกุมารีที่เป็นจุดหมาย หน้าตึกพี่เขาไม่มีตัวอักษรภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยเลย! อันนี้ถ้าอธิบายรูปร่างตึกประกอบกับบอกว่ามีตัวอักษรไทยเขียนอยู่ก็น่าจะดีขึ้น

              1.4 ความถูกต้อง: ก็คือบอกทาง แต่บอกผิดนั่นเอง ตอนให้ลงรถที่สยาม กว่าจะถึงทางออกที่ต้องแตะบัตร มันต้องลง 2 ชั้น แต่ดันเขียนไปว่าลงแค่ชั้นเดียว ขอเชิญนั่งกลับไปบางหว้าและสำโรงเลยค่า แง555555

2. ด้านการใช้ภาษา

              2.1 การใช้คำ: เราค่อนข้างมีปัญหาเรื่องการหลากคำ โดยเฉพาะในดราฟต์แรก เราใช้คำศัพท์ซ้ำเยอะมากเพราะไม่รู้จะใช้คำอะไรแทน เช่น

              ลงรถเราก็ 降りる อย่างเดียว ทั้งที่มันมีคำที่ใช้แทนได้ และประหยัดตัวอักษรกว่าเช่นคำว่า 下車する

              คำว่า まっすぐに行く เราก็ใช้คำว่า 直進する แทนได้

              คำว่า 右・左に曲がる เราก็ใช้ 右折・左折する แทนได้

              หรือคำอื่นที่มีคำที่ดีกว่าใช้ เช่นคำว่า を通る เปลี่ยนมาใช้ 通過する จะสื่อความมากกว่า

              ซึ่งศัพท์เหล่านี้มาจากตัวอย่างที่อาจารย์ให้มา ที่เป็นบอกทางไปมหาวิทยาลัยวาเซดะ เราจะรู้ได้ทันทีว่าคนญี่ปุ่นมีวิธีการใช้คำหรือหลากคำให้ไม่ซ้ำกันยังไง อันนี้เข้าหลัก 良質なインプット หรือเปล่านะ55555 แต่คิดได้ทันทีว่าการเพิ่มศัพท์เป็นสิ่งสำคัญมาก เราจึงตัดสินใจที่จะอ่านนิยายญี่ปุ่น!

              นอกจากหลากคำแล้วก็มีการใช้คำผิดนี่แหละ สกรรมกริยา อกรรมกริยา รู้สึกว่ามั่วไปหมด ยืนเข้าแถวต้องใช้ 並ぶ ไม่ใช่ 並べる สิ แล้วก็ 進める กับ 進む ชอบสับสนและจำสลับกัน

              2.2 การใช้คำช่วย: อันนี้เป็นสิ่งที่เหมือนตัวเองจะเคยรู้มาก่อนแต่ก็ลืม (化石化 ถามหา รู้สึกจะคอนเซปต์เรื่อง で待つ กับ に待つ หรือเปล่านะ?) คือลงรถที่สถานีไหน ใช้คำช่วย で降りる ไม่ใช่ に降りる! ฟังไม่ผิด ถ้า に降りる นี่ให้ฟีลเหมือนตกลงไปในสถานีที่เป็นหลุมมากกว่าหรือเปล่านะ

              แม้จะตรวจจับความผิดพลาดของตัวเองได้อยู่ไม่น้อย แต่เราคิดว่า task ชิ้นนี้เป็นชิ้นที่เราทำได้ค่อนข้างดีนะ (ขอชมตัวเองหน่อย แหะ) เราคิดว่าเราบรรลุเป้าหมายของตัวเองอยู่แหละ แม้จะมีงงบางจุด แต่เราว่าหากเราให้คนญี่ปุ่นอ่านสิ่งนี้ เราน่าจะพาเขาจากช่องนนทรีมาที่ตึกบรมฯ ได้อยู่นะ Task นี้ยาก แต่สนุก! สนุกตรงที่ต้องพยายามนึกนี่แหละว่า ถ้าคนอ่านเป็นคนที่ไม่เคยมาสถานที่ที่เราอธิบายเนี่ย เราต้องทำยังไง ต้องหาจุดสังเกตให้เขายังไง ต้องระวังตรงจุดไหนบ้าง บางอย่างมันเป็นสิ่งที่เรามองข้ามตลอด แต่พอต้องนึกถึงคนอื่นแล้ว นั่นเป็นจุดเล็ก ๆ ที่หากสังเกตได้จะช่วยคนอื่นได้มากทีเดียว

タスク2:手際のよい説明「文学部へ迷わずにたどり着ける詳しい道のり」

และนี่ก็คือออออออ งานไฟนอลดราฟต์ของงานนี้ค่า

文学部へ迷わずにたどり着ける詳しい道のり

 BTSチョンナンシ駅からチュラロンコン大学文学部BRKビールまでは、次のような道のりです。まず、BTSチョンナンシ駅のホームからナショナルスタジアム行きの電車に乗車し、サイアム駅で下車します。サイアム駅から、チュラロンコン大学文学部BRKビルに行くために方法が2つあります。1つ目は歩いていくこと、2つ目はCU SHUTTLE BUSで行くことです。

 1つ目は、アンリードゥナン通りに沿って、歩くことです。まず、到着ホームから、2階下り、6番の出口に出てください。6番の出口には、KARMARTというピンク色の化粧品屋があります。そこの出口を出て、高架橋を進みましょう。大通りを渡らずに、最初に目に入った右側の階段を下りてください。アンリードゥナン通りに沿って、文学部の門まで800メートル程度とにかく曲がらずに直進します。チュラ―の歯学部と獣医学部、そして、PATUMWAN DEMONSTRATION SCHOOLの門を通り、バス停を通過したら右手に見えるのは文学部の門です。その門を右折してください。先に見えるのは食堂とTrue Coffeeという喫茶店があるビルですが、そのビルを通り過ぎ、隣にあるビルまで行きます。入口の上に三角形のような形が付いている白いビルがBRKビルです。

 2つ目は、チュラロンコン大学のバスで行くことです。そのバスはピンク色をしているCU SHUTTLE BUSというバスです。CU SHUTTLE BUS(ここからはCU SHUTTLE BUSを短くバスと呼びます)に乗るためのバス停は2ヵ所あります。1つ目は徒歩の方法と同じルートです。バス停は階段を下りてからすぐ、セブンイレブンの前にあります。制服を着ている学生が並んでいるなら、一緒に並ぶとよいです。2つ目のバス停はLIDO(リドー)という映画館の前です。サイアム駅の2番目の出口を出て、階段を下りてからWATSONSという青緑色の化粧品屋の方へ向かってください。WATSONSを通過して、その次がバス停です。ここで注意してほしいのは、セブンイレブンまで行かないことです。文学部に行くバスは1番です。1番のバスに乗りましょう。バスは交差点と大学の正門でそれぞれ左に曲がって、直進して右にカーブする三叉路のところが文学部のバス停です。そこでバスを降りて、BRKビルは右手にある高いビルです。注意点はCU SHUTTLE BUSが日曜日に走らないことです。

タスク1.1:魅力的な自己紹介(続く)

              ในบล็อคแรกที่เขียนไปนั้นนนนน ( จิ้มเลยค่า ขออนุญาตขายของ ใครยังไม่อ่านไปอ่านได้นะค้า) เป็น ค่อนข้างเป็น prompt self-introduce คืออยู่ ๆ เธอก็มา ไม่ได้ให้เวลาเตรียม (ใจ) จึงออกมาแบบงง ๆ มึน ๆ พูดจบก็แบบ เอ๊ะ ตะกี้พูดไรนะ ภาษาคนเหรอ

              แต่ถึงมีเวลาให้เตรียมก็ยังออกมางง ๆ มึน ๆ อยู่ดีนั่นแหละ แหะ ๆ เข้าเรื่อง ก็คือหลังจากแนะนำตัวแบบพูด ก็มาถึงการแนะนำตัวแบบเขียนนั่นเองงงงงง (เหมือนจะต่อยอดไปสู่พวก 自己アピール ได้ด้วย ซึ่งอันนี้ ทั้งในคาบคอนเวอร์ และคาบซะกุบุนก็ต้องทำเหมือนกัน คิดว่าคงมีประโยชน์อยู่ไม่น้อย) แต่การจะโยนตู้มมาให้เขียน อาจารย์กนกวรรณก็ให้ไกด์ไลน์มาเล็ก ๆ น้อย ๆ คือให้ตัวอย่างการเขียนแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นที่พอจะทำให้ตราตรึงในจิตใจของผู้ฟังได้บ้าง

              หลัก ๆ ก็มี การพยายามเสนอว่าตัวเองจะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้ฟังได้ การบอกว่าได้เรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ต่าง ๆ การเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบันว่ามีส่วนไหนดีขึ้นบ้าง ซึ่งการแนะนำตัวแบบนี้จะทำให้เราสามารถอวดตัวเองโดยไม่โดนอีกฝ่ายหมั่นไส้ได้

              เป้าหมายในการเขียนแนะนำตัวเราก็ตั้งไว้แบบนั้นแหละ เขียนไม่ให้ชาวบ้านหมั่นไส้และสามารถอวดตัวเองได้ด้วย แต่ถามว่าสำเร็จหรือไม่นั้น….

              ไม่รู้เหมือนกันอะ ยังไม่ได้ให้เพื่อนลองอ่านเลย แหะ ๆ

              รอบนี้เราเลือกใช้เทคนิคเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบัน ว่าเราได้เรียนรู้อะไรสักอย่างหนึ่งและทำให้ตัวเราเปลี่ยนแปลงผ่านเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งที่เลือกเขียนไปคือ ประสบการณ์ตอนม.ปลาย เข้าไปตอนแรกเลยก็ด้วยความที่เป็นคนคุมงานกลุ่มมาตลอด คราวนี้ก็เสนอตัวคุมอีกแหละ แต่ดันพังเพราะไม่วางแผนและไม่สนเพื่อน จากประสบการณ์นี้ก็ได้เรียนรู้เรื่องการวางแผนและการพยายามสื่อสารกับเพื่อนเพิ่ม

    ส่วนเป้าหมายที่ว่าจะพยายามเขียนไม่ให้ยกตัวเองเกินไป หากเพื่อน ๆ อยากอ่านและคอมเมนต์สิ่งที่เราเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นก็สามารถอ่านได้นะคะ แปะไว้ด้านล่างแล้ว ช่วยดูให้หน่อยว่าแบบนี้มันดูน่าหมั่นไส้หรือเปล่า55555 (อันนี้เวอร์ชั่นแก้ตามคำแนะนำของอ.กนกวรรณแล้ว ส่วนเรื่องข้อผิดพลาดที่เกิดกับดราฟต์แรก ขอเชิญด้านล่างค่ะ)

              私にとって、物事をする上に、最も大切なのは計画性と協調性であると信じている。そして、そのようなことを持っている人になれるように努力している。計画性と協調性の大切さを知ったのは高校のときに経験したことのおかげ。高校1年のとき、あるグループレポートのリーダー役を担当していた。最初は自分が優秀な人なので、リーダーに選ばれたかもしれないとうぬぼれで、実はそうではなかったと気づいてきた。自らは、計画など立てなくて管理できると信じていたが、結局は管理しにくく仕事が手に負えなかった。締め切りも迫っており、あれもこれも終えそうになかった。その時に思い付いたただ一つの解決方法は、リーダーの責任なので自分一人ですべてをやることだった。

 しかし、それは大間違いだった。仕事を完成させたかったのに、なかなかできなかった私は、友人と一緒に行った方が早いのではないかと言われた。皆で努力して、お互いを助け合うことのおかげで、ようやくそのレポートが無事に終わった。事前に計画を立てなかったことと友人ときちんと話し合わなかったせいで、困難な状況になった。この経験から、計画性と協調性の重要性を改めて認識した。そのことを学んだ私は、常に心に留めて人生を送りたいと思っている。    

              หากเทียบกับที่เขียนส่งและที่อาจารย์ให้คำแนะนำเรื่องการแก้มา ปัญหาหลัก ๆ ของเราก็คือ

  • เรื่องความสะเพร่าตอนใช้คำช่วย
  • การใช้คำเชื่อม คือ ใช้ それで ซึ่งได้รับคำแนะนำมาว่า そして ดีกว่า ก็ยังสับสนอยู่นิดหน่อยแต่จะไปค้นหาเพิ่มค่ะ
  • การใช้คำผิดความหมาย บางทีก็ตามความเคยชิน ไม่ได้เปิดพจนานุกรมเช็ค มั่นใจเกินเหตุ ลื่นตกเหวเลย แหะ ๆ เช่นคำว่า 自慢 กับ うぬぼれ ไอเราก็คิดว่าเหมือนกันก็เลยใช้คำที่เป็นคันจิเพราะคิดว่าเป็นภาษาเขียนมากกว่า ความจริงแล้ว 自慢 ใช้เวลาอวดตัวเองกับคนอื่น แต่ うぬぼれ กว้างกว่า คือทั้งหลงตัวเองและบางทีก็ไปอวดคนอื่นด้วย แล้วก็คำว่า 思い出した ที่แก้เป็น 思い付いた แล้ว อันนี้มาลองดูดี ๆ ก็รู้อยู่ว่า ไอคำว่า “นึกออก” นี้มันไม่ใช่นึกสิ่งที่เคยประสบพบเจอแต่มันคือนึกวิธีการใหม่ต่างหาก
  • ใช้ภาษาพูด เช่น ใช้ やる แทน 行う
  • การหลากคำ แม้จะพยายามหลากแล้วก็ยังใช้คำซ้ำเยอะมาก เพราะกลัวเอา synonym มาใช้แล้วจะผิดความหมายไป จะเห็นได้ว่า คำว่า 知る รัวมาก
  • การเรียงประโยค อันนี้เป็นประโยคที่อาจารย์แนะนำว่าหากเขียนเรียงใหม่จะเข้าใจง่ายขึ้นคือ
    管理できると自らは信じていたので計画などを立てようとしなかったが、仕事が手に負えないほど管理しにくかった。
    เป็น
    自らは、計画など立てなくて管理できると信じていたが、結局は管理しにくく仕事が手に負えなかった。

    มาอ่านของที่อาจารย์แก้มาแล้วรู้สึกมันอ่านง่ายและสมู้ทขึ้นมาก ๆ เหมือนเราพยายามแปลประโยคภาษาไทยในหัวจากประโยคว่า “ไม่ได้วางแผนเพราะคิดว่าตัวเองจะจัดการได้ แต่งานมันกลับจัดการยาก” ก็ไม่เข้าใจในหัวตัวเองเหมือนกันว่าทำไมแปลออกมาแบบนี้

              ข้อผิดพลาดที่เหลือก็เป็นเพราะไม่เคยเห็นตัวอย่างการใช้และไม่เข้าใจเซ้นส์การใช้ก็เลยเลี่ยงไปเลย ซึ่งคิดว่าบางทีตัวเองอาจจะต้องแหกคอกกล้าเขียนกล้าพูดเสียตั้งแต่ตอนนี้ ตอนที่ยังมีคนคอยแก้ให้ดีกว่า

              ส่วนที่ได้พัฒนาตัวเองจริง ๆ จากงานเขียนนี้ก็คือการพยายามเขียนอวดตัวเองให้ดูไม่อวดตัวเองนี่แหละ ในมุมมองของตัวเองถือว่าเป็นการได้ชาเลนจ์สิ่งใหม่ ๆ แต่เมื่อให้คนอื่นแล้วสิ่งที่ตัวเองต้องการทำนั้นสำเร็จหรือไม่ก็ไม่สามารถรู้ได้ อีกอย่างหนึ่งก็คือเราแคร์เรื่องการคิดแบบคนญี่ปุ่นมากขึ้น แต่ก่อนก็ไม่ได้คิดอะไรเพราะคิดว่า mindset คนญี่ปุ่นเป็นไงก็ไม่เห็นเป็นไรเลย แต่ในเมื่อเรียนภาษาญี่ปุ่นในระดับนี้แล้วเราก็ควรจะรับมาทั้งภาษาและความคิดของคนญี่ปุ่นด้วย

              เหนื่อยอะ พบกันใหม่บล็อคหน้าดีกว่า เย้

タスク1:魅力的な自己紹介

              วันนี้เริ่มคลาสแรกของวิชา App Jp Ling หลังจากคุยเรื่องวิชากันไปพอสมควร อาจารย์ก็เปิด task แรกให้ทำเลย ก็คือการแนะนำตัว ในใจคิด…อีกแล้วเหรอ แนะนำตัวมาทั้งชีวิต (ที่เรียนภาษาญี่ปุ่น) แล้วอะ แต่เพราะหน้าคำว่า 自己紹介 มีคำว่า 魅力的な ขยาย เลยค่อนข้างคาดหวังว่า เราจะพบสิ่งใหม่ หรืออะไรที่แตกต่าง อะไรที่ทำให้แนะนำตัวแล้ว เพื่อนจะลืมชื่อทันที 55555555

Image result for 自己紹介

              เป็นการเรียนที่ตื่นเต้นมาก มาถึงเปิดทอปิคให้มา 4 อัน คือ การทักทาย บอกชื่อ บอกสิ่งที่กำลังศึกษาหรือวิจัยอยู่ และวิธีการคลายเครียด โดยไม่มีหลักการอะไรให้มาก่อน เส้นทางท้าทายเหมือนตอนเขียนนิยายแบบไม่ได้วางพล็อตก่อน และแอบหลอน ๆ เหมือนตอน 1分スピーチ ที่กดดันน้อยกว่านิดนึง ตอนนั้นอาจารย์เริ่มที่อาร์ต หลังจากเถียงกันยกใหญ่ว่าจะเริ่มที่ใคร เราเป็นคนที่ 2

              และด้วยนิสัยที่ มีกฎก็จะทำตามกฎ ไม่ชอบแหกเพราะกลัวผิด อาจารย์ให้หัวข้อมาเท่าไหนก็พูดเท่านั้นเลย ไม่มีการเพิ่มเติมอะไรทั้งสิ้น ตอนพูดอาจารย์ให้อัดเสียงไว้ด้วย สคริปต์ที่พูดได้แค่ประมาณ 20 วินาที ก็ออกมาได้ประมาณนี้

 こんにちは。私はティダーラットと申します。今は、あのう、流行語について研究しています。ストレスを解消する方法はBL小説を読むことです。はい。ありがとうございます。

              เห็นแล้วก็คิด…นี่เรียนภาษาญี่ปุ่นมาจะ 6 ปีจริงแล้วหรือตัวฉัน ทำไมพอได้ prompt topic ทีไรมันพูดไม่ออก เรียบเรียงไม่ได้ทุกที หลังพูดก็ฟังของพี่โต้กับพี่มายพูด รู้สึกว่าพี่ทั้ง 2 คนมีการใส่ episode ให้กับเรื่องราวของตัวเองเพิ่มเติม ซึ่งเรานึกได้ทันทีก่อนที่จะดูวิดีโอของคนญี่ปุ่นด้วยซ้ำว่าส่วนนี้เป็นส่วนที่เราขาด (ส่วนหนึ่งก็เพราะอาจารย์พูดเรื่องการใส่ episode ไปแล้วก่อนหน้านี้)

              ชอกช้ำ แต่มนุษย์เราโง่เพื่อที่จะฉลาดขึ้น หลังมองสคริปต์ง่อย ๆ ของตัวเอง และได้ฟังวิดีโอการแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นที่อาจารย์เอามาเปิดให้ดู ก็ได้เห็นข้อบกพร่องในการพูดแนะนำตัวของตัวเอง และได้เห็นส่วนที่คนญี่ปุ่นทำกันจนเป็นธรรมชาติ แต่เรายังทำไม่ได้

              1. ส่วนข้อบกพร่องของตัวเอง ก็คือ นิสัยหรือว่า くせ ของคนไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่น ไม่รู้ว่าเพราะภาษาไทยที่แม้ในภาษาพูดก็มักจะไม่ละประธานหรือเปล่า ทำให้เราติดการใช้คำว่า 私は ขึ้นต้นเสียเยอะ อันนี้โดนติตอนวิชาเขียนมาเหมือนกัน แต่ก็ยังเผลอทำเหมือนเดิม และอาจจะเป็นไปตามที่อาจารย์บอกว่า คนไทยจะพูดแบบ 私中心 (มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตัวเอง) มากกว่าคนญี่ปุ่นที่เป็นแบบ 相手中心 (จุดศูนย์กลางอยู่ที่ผู้ฟัง)

              นอกจากนี้ก็ ใช้คำฟิลเลอร์ค่อนข้างเยอะ ด้วยความที่เรียนมานาน ๆ การปล่อยให้เกิดเดดแอร์ไม่ค่อยน่าพิสมัย ก็เลยติดการพูด あのう นู่นนี่ แต่ใน 20 วินาทีที่พูด มีฟิลเลอร์ออกมาถึง 2 คำก็นับว่าเป็นความถี่ที่ค่อนข้างสูงและไม่น่าพอใจสำหรับตัวเองด้วย

              ในส่วนของวิธีการเล่าเรื่องก็คือ เป็นคนเถรตรงมาก ให้มาแค่ไหนก็พูดไปเท่านั้น ลืมนึกว่าถ้าจะทำให้คนจดจำมันก็ต้องมีการใส่ episode หรือเรื่องราวอะไรสักอย่างไปด้วย หลังจากนี้ก็คงจะคำนึงถึงจุดนี้มากขึ้น และกำลังพยายามทำให้เป็นนิสัยอยู่ สุดท้ายเป็นจุดที่อาจารย์มาชี้ให้เห็นตอนเปิดผลสำรวจให้ดู ก็คือ คนไทยค่อนข้างติดการใช้คำว่า 今 ละคือ…เราก็เผลอใช้เหมือนกัน อาจจะติดมาจากไวยากรณ์ภาษาไทยที่ไม่มี tense เลยต้องใช้คำระบุเวลาเพื่อให้ชัดเจน แต่บางทีในภาษาญี่ปุ่นมันไม่ต้องมีก็ได้

              2. ส่วนที่คนญี่ปุ่นทำกันจนเป็นธรรมชาติ ที่สังเกตได้ก็คือ มีความหลากหลายค่อนข้างสูง ไม่เหมือนผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวต่างชาติที่ค่อนข้างจะจำเป็น pattern มากกว่า แค่ตอนบอกชื่อก็มีทั้งลงท้ายด้วย です、と申します、といいます แต่คนไทยส่วนมากก็คิดกับความคิดที่ว่า と申します เหมาะสมที่สุดอยู่ หรือเรื่องการพูดอะไรสักอย่างหนึ่ง คนไทยจะติดการขึ้นด้วยหัวข้อ (เช่น ストレス解消方法は…) แต่คนญี่ปุ่นจะมีการสลับเอาหัวเรื่องไปไว้ด้านหลังด้วย (เช่น …がストレス解消法です。)

              ตอนพูดเรื่องต่าง ๆ ก็จะมีการใส่เรื่องราวเพิ่มเติม หรือที่เรียกว่า episode เช่น ตอนที่อธิบายเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ ก็จะมีการขยายความหากเข้าใจได้ยาก หรือมีการบอกก่อนว่าทำไมถึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องนี้ เพื่อเสริมความเข้าใจให้กับผู้ฟัง แสดงให้เห็นถึงลักษณะเด่นของคนญี่ปุ่นเรื่องการคำนึงถึงผู้ฟังที่ค่อนข้างมาก การคำนึงถึงผู้ฟังนี้ก็รวมไปถึงการพยายามมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และการพยายามนำเรื่องของผู้ที่พูดก่อนหน้ามาเกี่ยวโยงกับเรื่องของตัวเองด้วย เพื่อแสดงความใส่ใจว่าตัวเองก็ตั้งใจฟังสิ่งที่คนอื่นพูดอยู่เช่นกัน

              อีกอย่างหนึ่งที่สังเกตได้คือคนญี่ปุ่นจะชอบใช้การพูดเกริ่นด้วย ですが、ですけど、ですけれども รู้สึกว่าเป็นการเรียกความสนใจผู้ฟังได้ด้วย แบ่งวรรคการพูดให้เป็นธรรมชาติและน่าฟังได้ด้วย สุดท้ายก็คือการพูดแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นจากวิดีโอ สามารถเชื่อมเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งได้อย่างไม่ขัดหูขัดตา เช่น ตอนจะเปลี่ยนจากเรื่องที่กำลังวิจัยไปวิธีคลายเครียด ก็จะสร้างความเชื่อมโยงว่า เพราะวิจัยมันเครียดก็เลยต้องคลายเครียดด้วย

              หลังจากได้เรียนรู้และแก้ไขข้อบกพร่องตามที่สังเกตได้ สคริปต์ก็ออกมาเป็นเช่นนี้

 みなさん、こんにちは。ティダーラットと申します。今、研究していることなんですが、日本人とタイ人の流行語の使用について興味を持っているので、語源と社会との関係の場面で研究を行っています。それをするには結構ストレスがたまるので、そのストレスを解消するにはいつもBL小説を読んでいます。小説を読みすぎることもあるんですが、これから研究にも頑張りたいと思います。よろしくお願いします。

              ตรงนี้ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่นิดหน่อยตามที่อาจารย์เคาะมา คือเรื่องใช้ 今 แล้วก็บางส่วนยังขยายความได้ไม่เพียงพอ เช่น BL小説 สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยอาจจะไม่ทราบว่ามันคืออะไร อาจจะต้องอธิบายเพิ่มเติมเป็น …男同士の恋愛というBL小説を読んでいます。

              คิดว่ากว่าจะพูดแบบนี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องมีการเตรียมตัวอะไร น่าจะต้องใช้การฝึกฝนพอสมควรทีเดียว สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อนจ้า แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้า 😉