特別コーナー:1行で伝える技

              สิ่งที่ชอบมากที่สุดของคลาสนี้ก็คือ การบอกว่าอยากเรียนอะไรก็ได้เรียนนี่แหละค่ะ! สมใจอยากมาก

              ตอนคาบแรกที่อาจารย์ให้ตอบแบบสอบถาม(?) ตอนแรกก็นึกไม่ออก แต่ก็นึกถึงตอนดูรายการทีวีญี่ปุ่นบ่อย ๆ ก็จะมีโฆษณาคั่น เราก็สังเกตว่า โฆษณาแทบทุกตัวเลยจะมีประโยคปิดหนึ่งประโยคที่แบบ สั้น ๆ แต่สื่อความทั้งโฆษณาได้เลย รู้สึกว่ามันอิมแพคดี ก็เลยบอกไปว่าอยากเรียนเรื่องนี้ ตรงนี้ก็คือนับถืออาจารย์มาก ๆ ที่ไปค้นคว้าหาหนังสือและทำเนื้อหามาให้เรียนจนได้ ประทับใจ

อย่างโฆษณาช็อคโกแลตเมจิอันนี้ ชอบ がんばったひとは、甘えていいんだ。
ส่วนโฆษณาเบียร์คิรินอันนี้ก็คือ さっ、一緒に。

              ที่จริงแล้วความเหมือนจะไม่มีอะไรในประโยคสั้น ๆ ก็มีเทคนิคในการแต่งขึ้นมา แล้วกว่าจะได้แต่ละประโยคก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย กว่าจะสำเร็จก็ต้องผ่านถึง 4 ขั้นตอนทีเดียว เราจะอธิบายโดยยกตัวอย่างประกอบจากที่เราทำในห้องไปด้วย เราเลือกโปรโมทเพลงของ back number ค่า (อีกแล้วเหรอ?)

絞る→広げる→選ぶ→磨く

1. 絞る

              เรียกง่าย ๆ ว่าการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (target) จะให้ดีที่สุดก็คือกำหนดให้ละเอียดเลยว่า สินค้า โฆษณาหรือข้อความนี้ต้องการจะส่งไปถึงใคร จะให้ละเอียดก็ต้องกำหนดไปถึงเพศ อายุ หน้าที่การงาน พื้นฐานครอบครัว หูย เยอะแยะมากมาย เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายเราก็จะไปสู่ขั้นต่อไป

              ตรงนี้เรากำหนดให้กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะโปรโมทเพลงเป็นเพศชายและหญิง อายุอยู่ในช่วง 10-29 ปี (10代‐20代) เป็นกลุ่มคนที่มีความรัก ไม่ว่าจะเป็นรักแบบสมหวัง ไม่สมหวังอกหักรักคุด รักเขาข้างเดียว และเป็นกลุ่มคนที่ฟังเพลงแนว Pop/Rock

2. (アイデアを)広げる

              เขียนสิ่งที่อยากจะบอกออกมาให้มากที่สุด สิ่งที่อยากบอกนี่ก็คือบุคลิกภาพของสินค้าหรือสิ่งที่เราอยากจะโปรโมทใน 1 ประโยค อยากจะบอกอะไรเกี่ยวกับสินค้าให้ผู้บริโภครับทราบก็เขียนออกมาให้หมดโดยไม่จำกัดจินตนาการขอตัวเอง ไม่ต้องคิดมาก แค่ปล่อยให้ flow ออกมา

              ในขั้นตอนนี้เราเขียนประโยคออกมาหลายประโยคมากแต่จะขอไปเขียนรวบกับขั้นตอนต่อไปเพราะมันเชื่อมกันค่ะ

3. 選ぶ

              เอาสิ่งที่เขียนทั้งหมดมาจัดหมวดหมู่แล้วเลือกประโยคที่เรารู้สึกว่าเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่เรากำหนดไว้มากที่สุด ด้านล่างเป็นตารางหมวดหมู่ของประโยคที่เราเขียนค่ะ

ストーリー 歌詞と歌の美しさ 聞くときの気持ち
– 主人公の思いが伝わる
– 誰でも歌の内容に沈む
– 実態を想像できる
– 歌幸せそうなのに実はたとえの話である失恋ソング
– メロディーとともに歌詞
– 深い意味を持つ歌
– 詞簡単な言葉で、深い意味
– 切ない失恋ソング
– 泣ける歌
どんな切ない恋でも、ぴったりな歌がある

              ประโยคที่เราเลือกมาก็คือ どんな切ない恋でも、ぴったりな歌がある เพราะว่ากลุ่มเป้าหมายที่เรากำหนดไว้ตอนแรก ก็มี range อายุค่อนข้างกว้าง อีกทั้งเรื่องราวความรักของแต่ละคนก็น่าจะไม่ได้เหมือนกันไปทั้งหมด เราก็เลยยกจุดขายเรื่องความรักหลายแบบที่อยู่ในเพลง back number ขึ้นมา

4. 磨く

              ขั้นตอนสุดท้ายคือการขัดเกลา 1行 ของเราให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายและติดหู ฟังแล้วจำได้ไปพร้อม ๆ กัน ขั้นตอนนี้ก็มีเทคนิคอยู่ด้วย นั่นก็คือ…

  • ละคำช่วย เปลี่ยนลำดับคำ หรือจบด้วยคำนาม เช่น そうだ京都、行こう。เป็นการละคำช่วย
  • ซ้ำคำให้เกิดจังหวะ หรือใช้ศัพท์ 3 คำที่ลงท้ายเสียงเหมือนกัน เช่น うまい やすい はやい
  • เล่นกับการใช้ตัวอักษรคันจิ ฮิรางานะ คาตาคานะ จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันแม้เขียนศัพท์คำเดียวกัน เช่นคำว่า 可愛い かわいい カワイイ KAWAII
  • ใช้คำที่ไว้ใช้เวลาส่งเสียงเรียกหรือทักทาย เช่น お~いお茶 หรือ さっ、一緒に ที่เรายกมาตอนแรกก็เข้าข่ายอันนี้ค่า
  • เทคนิค 対句 (ให้มีเสียงที่คล้ายกันหรือจังหวะคล้าย ๆ กัน) เช่น 一人がつまらない人は、二人でいても退屈です
  • ใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติจะให้อารมณ์มากกว่า เช่น ใช้ キンキンに冷やしたビール แทน よく冷やしたビール
  • ใส่คำว่า プチ、ちょい、たて、生、とろ、癒し、ナチュラル・シンプル、ノン・フリー・レス、ご褒美、たまには、一流・贅沢、大人、〇〇だけ、NO.1、プレミアム・ワンランク上 คำพวกนี้จะทำให้รู้สึกถึงความพิเศษหรือลักษณะเฉพาะตัวของสินค้ารวมถึงบ่งบอกบุคลิกหรือลักษณะของผู้ใช้ที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกดีไปด้วย

ส่วนประโยคที่เราเลือกมา เอามาเกลา ๆ ตบ ๆ ตี ๆ แล้วก็ได้ออกมาว่า

キミだけの恋バナにぴったりな歌

              เทคนิคที่เราเลือกมาใช้คือการเติมคำว่า だけ เข้าไปทำให้คนที่ฟังเนี่ยรู้สึกพิเศษ และใช้คำว่า 恋バナ ซึ่งย่อมาจากคำว่า 恋話 ที่แปลว่าเรื่องราวความรัก น่าจะให้อารมณ์ที่รู้สึกว่าวัยรุ่นเข้ากับความเป็น Pop/Rock มากกว่าใช้คันจิทั้งหมด เช่นเดียวกับคำว่า キミ ที่ใช้คาคาคานะแทน

              ตอนเรียนเรื่องนี้คือรู้สึกสนุกมาก ส่วนนึงเป็นเพราะเป็นหัวข้อที่เราเสนอไปเองและอีกส่วนคือชอบลักษณะเฉพาะตัวของภาษาญี่ปุ่นที่มีส่วนช่วยให้ประโยคหนึ่งประโยคสร้างอิมแพคได้ คือมันสามารถสร้างเทคนิคได้จากลักษณะของภาษาเลย เช่น การมีตัวอักษร 3 แบบ หรือคำเลียนเสียงธรรมชาติที่มีอยู่เยอะมาก

              สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน เอาไว้พบกันใน blog สุดท้ายนะคะ 😉

タスク4:空想作文

              *คำเตือน: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของ Avengers : Endgame 空想作文 เรื่อง 透明人間 ท่านใดที่ยังไม่อ่านรบกวนไปอ่านได้ที่นี่

              ปิดเทอมแล้วร่างกายชัตดาวน์โหมดการเรียนไปเรียบร้อย การขุดตัวเองขึ้นมาเขียน blog อีกครั้งเป็นอะไรที่ยากมาก อีกอย่างคือติดซีรีส์อยู่ด้วย เหงามากอยากได้เพื่อนเม้าท์มอย ใครอยากดูก็มาดูด้วยกันได้ ชื่อเรื่อง 初めて恋をした日に読む話 นำแสดงโดยฟุคุดะ เคียวโกะ เพลงประกอบละครคือเพลง HAPPY BIRTHDAY โดย back number ค่า มาถึงจุดนี้ก็รู้แล้วนะคะว่าอยากขายอะไร55555555

              เข้าเรื่องได้แล้วเนอะ เวิ่นเว้อเก่งจริง เวิ่นเว้อเก่งจนไม่มีคนเชื่อแล้วว่าเขียน blog เน้นสาระ (เพื่อน ๆ :ไหนสาระ อ่านมาตั้งแต่ entry แรกแล้วยังไม่เคยเจอเลย)

              วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง task สุดท้ายของการเรียนวิชานี้กัน task นี้มีชื่อว่า 空想作文 ภารกิจก็คือ…ไปเขียนอะไรมาก็ได้ 1 เรื่อง โห ยากกว่าเขียนรายงานส่งวิชาซะกุบุนอีก (ล้อเล่น อันนั้นยากกว่า) ยากตรงที่พอบอกโจทย์ว่าอะไรก็ได้แล้วมัน blank มาก เหมือนตอนถามเพื่อนว่าอยากกินอะไรแล้วเพื่อนตอบว่าอะไรก็ได้เลยอะ แต่สุดท้ายก็ออกมาสำเร็จจนได้เพราะมีเดดไลน์ ต่อไปเราก็จะเล่าแบ่งไป 2 ตอนคือ ระหว่างคิดและเขียน กับตอนรับฟีดแบค รวมถึงเรื่องของเพื่อน ๆ ด้วยค่า

1. ระหว่างคิดและเขียน

แรงบันดาลใจ

              ก็คือเราอะ เคยฟังเพลงของ back number (อีกแล้ว?) ชื่อว่าเพลง 半透明人間 (มนุษย์กึ่งล่องหน) แล้วเราชอบคำนี้มากอะ คือบอกเลยว่าเรื่องนี้ชื่อเรื่องมาก่อนเนื้อเรื่อง แต่งไปแต่งมาแล้วเป็นกึ่งล่องหนยากเลยให้เป็นมนุษย์ล่องหนไป เลยเหลือแค่ 透明人間 การที่เราจะเป็นมนุษย์ล่องหนสำหรับใครคนหนึ่งได้ก็มีอยู่ 2 สาเหตุ คือเขาตั้งใจเมิน ทำเป็นไม่เห็น กับไม่เห็นจริง ๆ ก็เลยเล่นกับคำนี้และสองประเด็นที่ว่านี้

และนี่ก็คือเพลงค่า
(เพื่อน: หยุดขายได้แล้ว!)

พล็อต

              พล็อตก็เลยเริ่มมา เป็นกลิ่นอายนิยายอกหัก เป้าหมายของการทำ task นี้คือ เราอยากเขียนแบบค่อย ๆ ปล่อย clue ไปเรื่อย ๆ ว่าตอนสุดท้ายจะเป็นยังไง เหมือนเรื่องแมวกับซุปมิโซะในตัวอย่างที่อาจารย์เอามาให้อ่าน แต่ดูเหมือนจะไม่ค่อยสำเร็จเท่าไหร่เพราะยังมีคนอ่านแล้วไม่เกทบ้าง555555 ก็ถือว่าเป็นตอนจบที่ตีความได้เองก็แล้วกันเนอะ

              Clue ที่เราค่อย ๆ ปล่อยสู่ปมว่าตัวเอกที่เป็น narrator ตายแล้วเนี่ยก็คือตัวเอกผู้ชายไม่เคยเห็นนางเอกเลย นางเอกก็เลยคิดว่าตัวเองโดนผู้ชายเมิน แต่ความจริงแล้วคือผู้ชายไม่เห็นจริง ๆ เพราะตัวเอกตายแล้ว อันนี้หาอะไรมาอุด plot hole ยากมาก ไม่รู้จะทำยังไงให้คนอ่านคิดว่าผู้ชายเมินแต่ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น เราก็เลยอาศัย flashback เรื่องคำสัญญาเอา เช่น ตอนตัวเอกสั่งกาแฟแล้วผู้ชายไม่เห็น แต่มีกาแฟไปเสิร์ฟตอนหลัง นั่นก็คือมาจากคำสัญญา อะไรแบบนี้

              คืองานนี้เราใช้เวลาเขียนแปบเดียว แบบเสร็จใน 2 ชั่วโมงและเกลาอีกนิดหน่อยก่อนส่ง แต่ที่คิดนานมากคือพล็อตกับวิถีอุดช่องโหว่วของพล็อตนี่แหละ นอนคิดอยู่หลายคืน แต่หาทางอุดแล้วก็ยังคงงงกันอยู่ว่าตัวเอกเห็นอะไรแล้วร้องไห้ทำไม

              ถ้าเป็นแบบที่เราคิดไว้ตอนแรกก็คือ นางเอกเห็นรูปของตัวเองพร้อมกระถางธูปในห้องที่ผู้ชายเข้าไปมองแล้วยิ้มให้บ่อย ๆ ก็เลยร้องไห้ แต่ก็คือแป้กเพราะให้ hint ไม่พอ แหะ ๆ เอาเป็นว่า เปิดให้ตีความตามสะดวกเลยค่า

2. Feedback

ไวยากรณ์

              1. 助詞 เป็น error ที่เกิดอยู่ซ้ำไปซ้ำมาเพราะความไม่รอบคอบมากกว่าความไม่รู้ บางอันก็คือเขียนแบบ stream of consciousness ไหลไปเรื่อยแบบเช็คอีกรอบก็มองข้ามอะไรแบบนี้ หรืออย่างเรื่อง は・が ก็ยังมีผิดบ้าง บางทีก็ใช้ が ไปทำให้ครอบคลุมเนื้อหาไปไม่ถึงท้ายประโยค

              2. คำศัพท์ บางคำเราใช้โดยไม่ได้เช็คความหมายว่าเข้าบริบทหรือเปล่า เช่น เราใช้คำว่า その時から ถาหากใช้คำนี้จะหมายความว่าเราทำอะไรติดต่อกันตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น แต่ถ้าแค่ปล่อยเวลาผ่านไปเฉย ๆ ก็ใช้ それから ก็พอ (ขอบคุณคุณยามาดะที่ชี้ทางสว่างด้วยค่า)

              อีกคำคือคำว่า くだらない  เราต้องการจะสื่อว่าไร้ประโยชน์ ทำไปก็ไม่เกิดประโยชน์ แต่อันนี้คือประมาณว่า ไม่มีค่าพอจะเอามาเป็นสาระหรือสนใจอะไรแบบนั้น คุณยามาดะแก้มาเป็น つまらない แต่เราก็ว่ายังไม่ตรง เลยแก้เป็น 無駄だ

              3. ภาษาผู้ชาย-ผู้หญิง ส่วนนี้ตอนเขียนลืมนึกถึงไปเลยว่าเขียนอะไรที่มันกึ่งนิยายแบบนี้ก็ควรจะใช้ภาษาแบบปุถุชนทั่วไปไม่ใช่ภาษาสุภาพตลอดเวลา ถามว่ารู้ไหมก็คือรู้แหละ แต่ลืมใส่ใจไปเลย ในเรื่องตัวละครชายก็เลยใช้ 私 ซะงั้น แก้แล้วค่า

              4. Aspect เรื่องใหญ่มากเพราะผิดตรงนี้เยอะมาก ประมาณ 30% ของสิ่งที่ผิดเลยอะ ผิดจนสงสัยต้องกลับไปค้นเรื่อง aspect ในหนังสือของวิชา intro jp ling มาอ่าน ได้ความเกี่ยวกับ aspect ดังนี้

              Aspect (アスペクト) เป็นหน่วยทางไวยากรณ์หน่วยหนึ่ง แปลไทยได้ว่าหน่วยการณ์ลักษณะ ใช้อธิบายสภาพหรือการกระทำว่าอยู่ในขั้นตอนใดของเรื่องราว เช่น เป็นช่วงเริ่มต้นการกระทำ ช่วงระหว่างการกระทำ ช่วงจบการกระทำ สภาพเกิดขึ้นโดยคาดหมายหรือไม่ได้คาดหมาย แสดงรูปด้วยกริยานุเคราะห์ (助動詞)

              Aspect มีหลายรูป ทั้ง している、する、した、してある แต่ aspect ที่เราใช้ผิดทั้งหมดก็คือเราลืมทำเป็นรูป ている ก็เลยขออธิบายโดยโฟกัสที่รูปนี้ aspect ているใช้ได้ทั้งหมด 4 กรณีด้วยกัน คือ

  • แสดงการอยู่ระหว่างดำเนินการกระทำ ใช้กับคำกริยาต่อเนื่อง เช่น 働いている、食べている
  • แสดงความต่อเนื่องของสภาพหลังการกระทำ ใช้กับคำกริยาฉับพลัน เช่น 死んでいる、来ている
  • แสดงสิ่งที่เป็นประสบการณ์ ปรากฏร่วมกับคำกริยากล่าวอ้าง แม้เป็นอดีตที่จบไปแล้ว เมื่อยกขึ้นมากล่าวใหม่ก็มีสภาพเหมือนทำสิ่งนั้นตลอดเวลา เช่น 彼はがんの新薬を発見している。
  • แสดงการกระทำต่อเนื่อง กรณีทำสิ่งนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า

              ที่เราผิดจะเข้าข่ายกรณีแรกกับกรณีที่เป็นการบอกสภาพเลยต้องใช้ ている นั่นเอง   

ที่มา: แปดประเด็นภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น โดย อาจารย์อัษฎายุทธ ชูศรี

              5. อื่น ๆ เช่น เรื่องเรียงคำ เรื่อง tense ตกな・のใน 文型 ที่ควรจะมีบ้าง หรือคำวิเศษณ์ด้านหน้าไม่สัมพันธ์กับการจบประโยค คือคำว่า つい ที่ควรจะจบประโยคด้วย てしまう จะเข้ากว่า แล้วก็ที่แก้ไม่หาย น่าจะเป็น 化石化 แล้วคือ ต้นประโยคขึ้นด้วยคำกริยาที่เติม の・こと ให้เป็นคำนาม ซึ่งท้ายประโยคก็ควรลงด้วยคำนามด้วยแต่ชอบลืม

3. รวมมิตรเรื่องของเพื่อน ๆ ที่ชอบ

– เรื่องน้องหมา

อันนี้ความไบแอสส่วนตัวล้วน ๆ คือ อ่อนไหวกับสัตว์มาก ๆ อ่านเรื่องนี้ เฉลยตอนจบว่า narrator เป็นหมาเท่านั้นแหละ โอโห ร้องไห้น้ำตานองหน้าเลย ฮือ  ชอบตรงที่เฉลยมาก ๆ มันแบบ 自然に出た เลยอะ ก่อนหน้านั้นดูไม่ได้ฝืนหรือพยายามอะไรเลย เป็นธรรมชาติและทำให้เชื่อเลยว่ายังไงคนเล่าก็ต้องเป็นคน พอเฉลย บวกกับการกระทำที่น้องหมาทำมาก่อนหน้าคือ แง อยากกอดหมา แต่หมาที่บ้านตัวเหม็นมาก เอาไว้ก่อน

– 6時のエレベーターの女

ถามว่าเดาเรื่องได้ไหม ก็ตอบเลยว่าเดาได้ แต่การดำเนินเรื่องทำให้เราว้าวได้ ชอบบรรยากาศหลอน ๆ ตอนเล่ากับความดันที่เรารู้สึกไปพร้อมกับตัวเอกที่เล่าด้วย คือจุดนั้นแบบ ตะโกนในใจตลอดเวลาว่าหนีไปปปป5555555 ส่วนที่หลอนนี่เพราะลิฟต์คณะนี่แหละ うわさ เยอะ กลัวสักวันจะเป็นแบบนั้น แง

– 祇園祭りに隠された秘密

อันนี้เป็นแบบไม่เฉลยตู้มเดียวแต่ค่อย ๆ มา ชอบการปล่อย hint แบบพอดีของเรื่องนี้ ค่อย ๆ ปล่อยเรื่อย ๆ ให้งงนิดหน่อยแล้วก็เฉลยด้วยหมัดเด็ด ตอนจบก็อิมแพคมาก จบแค่นั้นแหละ ให้เรารู้สึกตกใจแทนตัวละครเอา 555555555 เรื่องนี้ทำให้เราอยากอ่านตอนต่อเลย

タスク4:透明人間

彼とはもう別れた。

先週のことだ。けんかの原因ははっきり覚えておらず、けんかした後で何か起こったかも私の記憶になかったようだ。確か私たちのアパートから出て、ドラマみたいに雨も降って、私は歩道を歩いていて…。そして、目が覚めた。1年前に彼と一緒に住むことになったアパートではなく、自分が彼と付き合う前に買ったアパートで。状況をつかむことができたとたんに、涙が流れてしまった。

それから一週間が経ち、自分の部屋に閉じこもらずに外に出ることにした。しかし、目の前にあるのは彼の喫茶店だった。無意識にここに来たなんて自分に情けない。せっかくここまで来たから、わけがわからないが入ることにした。普通にカウンターに向かってゆき、普通にコーヒーを注文した。が、カウンターに立っている彼に無視され、注文もお金も受け取ってもらわなかった。ただ1週間しか経っていないのに、無視されるなんてありえないだろうと思った。

そこにしばらく立っていたが、彼は私の存在に気づいていなかったようだ。

そのままでは無駄だなあと思い、その代わりに彼と付き合っていた間にいつも座っている席に腰をかけた。幸いなことにその席は空いている。座ってボーっとして外を見ているうちに、彼が何も言わずにコーヒーカップをそっとテーブルの上に置き、カウンターに戻った。最初はわからないが、彼が言ったことを思い出した。

「俺の恋人になったら、一生コーヒーは無料だよ!」って。彼が約束を守ってくれたのだ。

あの日から2週間、私は毎日彼の喫茶店に通っている。毎日は相変わらず、言葉を交換せずに、目も合わずに、私は私の場所に、彼は彼の場所に。彼にとって私は透明人間なのかもしれない。私はただその席から彼を見る。いつも見えるのは彼がカウンターの後ろにある部屋へ入り込み、誰かに笑顔を見せることだ。

「その部屋の中を見て、いつもにこにこしてるって、誰がいるのかな?」といたずらにお客さんが彼に言った。

「彼女だよ!」と笑顔で答えた。

「えっ、会いたい会いたい!紹介してよ。」

「ダメ!彼女は私だけのものだから。」

そうか。そうだよな。私と別れてすぐ彼女ができたなんてずるい。

そうした日々は続き、私はまだバカみたいに彼の喫茶店に通っている。そこにいる時に、いつもその部屋をじっと見ていて、ついつい彼女のことをうらやましく感じてしまう。私はこんなバカなことをもうしたくない。そこで、私は決めた。一回だけ彼の新しい恋人の顔を見て、あきらめる。自分の新しい人生を始めたい。

彼がその部屋のドアを開けるときに、私はひそかに中を見た。

とたんに、涙が流れてしまった。

特別コーナー:仮説ランキング2

              หลังจากที่สอบจบแล้วก็ได้เวลาเคลียร์ blog กันแล้วววว อันดับแรกเราจะมาพูดสิ่งที่เราเกริ่นไว้ตอนที่ลำดับทฤษฎีสอนภาษาที่เราชอบใน blog ที่แล้ว คือเราลำดับ input hypothesis, interaction hypothesis, output hypothesis, noticing hypothesis, affective filter hypothesis และ sociocultural approach/situated learning ไป แต่ตอนนั้นที่ยังไม่ได้เรียน CLIL ก็เลยยังไม่ได้ลำดับเข้า วันนี้จะมาพูดถึงเจ้า CLIL นี่กัน

              CLIL มีชื่อเต็มว่า content and language integrated learning มีชื่อเล่นน่ารัก ๆ เป็นภาษาญี่ปุ่นว่า クリル (คุริรุ) แนวคิดที่จะเรียนภาษาไปพร้อม ๆ กับการใช้ภาษานั้เพื่อเรียนรู้เนื้อหารหรือสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้ เชื่อม “เนื้อหา” กับ “ภาษา” เข้าด้วยกัน เป็นแนวการสอนที่ไม่ได้พัฒนาเฉพาะทักษะภาษา แต่พัฒนาระบบวิธีคิด การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่นและการเข้าใจวัฒนธรรมของผู้อื่นด้วย

              แนวการสอนนี้บูรณาการแนวคิดที่มีอยู่เดิมหลายแนวคิดด้วยกัน เช่น input hypothesis, content-based instruction, scaffolding, active learning, project work หัวใจของ CLIL มี 4 อย่างด้วยกันคือ

              1. Content มีความรู้ 2 ระดับ คือ ระดับเข้าใจได้ และระดับทำได้ จะทำให้เปลี่ยนระดับจากเข้าใจได้เป็นทำได้ ต้องให้ผู้เรียนเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหา จะทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาระดับลึกได้

              2. Communication มี 3 รูปแบบคือ

  • Language of learning เรียนรู้ตัวภาษา สำนวน ไวยากรณ์
  • Language for learning เรียนรู้วิธีการใช้ภาษา ผ่านการหาข้อมูลหรือทำรายงาน
  • Language through learning เรียนรู้ผ่านการใช้ภาษาจริง ฟัง พูด อ่าน เขียน พัฒนาทั้งด้านภาษาและคิดวิเคราะห์

              3. Cognition พัฒนาการคิดวิเคราะห์ จากระดับต่ำ (LOTS) ไปถึงระดับสูง (HOTS) อ้างอิงตาม Bloom’s Taxonomy

https://s3-us-west-2.amazonaws.com/prodengblogs/assets/2018/07/29428436431_170dc675d7_o1.png
Bloom’s Taxonomy เวอร์ชั่นละเอียดขึ้นนิดหน่อย
ที่มา:
https://www.english.com/blog/content-and-language-integrated-learning/

              พัฒนาเป็นลำดับขั้น ตั้งแต่จำได้ เข้าใจ ใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า และสร้างสรรค์ผลงานของตัวเองได้ โดยกระบวนการกว่าจะถึงขั้นสุดท้ายได้ก็ต้องมีการชี้แนะหรือ scaffolding ที่ดีช่วยผู้เรียนก้าวไปทีละขั้นด้วย

              อันนี้ไปค้นเพิ่มเติมมา เวลาตั้งคำถามของแต่ละขั้นก็เปลี่ยนคำกริยาที่ใช้ไปเรื่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามขั้นตอน แต่เป็นภาษาอังกฤษแหละ ถ้าเป็นภาษาญี่ปุ่นคงต้องแปลอีกรอบเพราะหาแบบภาษาญี่ปุ่นไม่เจอ แหะ ๆ จากตาราง พอเราเปลี่ยนคำ ก็จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาจาก Remember>Understand>Apply>Analyze>Evaluate>Create ไปพร้อมกัน

              ตัวอย่างเช่น หากพูดถึงเรื่องสัตว์ การนำคำกริยาในตารางมาช่วยสร้างคำถามก็จะเป็นประมาณนี้

  • Remember – Can you name 10 different animals that live in the rainforest?
  • Understand – Can you predict what animals eat?
  • Apply – Can you complete a simple food chain?
  • Analyze – Can you categorize animals into different classifications? (mammal, reptile, fish etc.)
  • Evaluate – Can you recommend ways to protect an endangered species?
  • Create – Can you create a new habitat for an endangered species of their choice?

              4. Community/Culture การเรียนแบบนี้จะทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมผู้อื่น ผ่านกิจกรรมพวก peer learning

              ถ้าถามว่า CLIL สำหรับเราอยู่ในลำดับไหน?

             คำตอบก็คือ ระบุไม่ได้ เพราะคิดว่าตัวเองไม่เคยเรียนอะไรแบบนี้ไม่ว่ากับภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่น ตอนที่เรียน Intensive English Program ตอนม.ต้น ก็เหมือนจะคล้าย ๆ CLIL แต่มันก็เป็นแค่ในวิชาภาษาอังกฤษ วิชาเนื้อหาวิชาอื่นเราก็ยังใช้ภาษาไทยในการเรียนอยู่ ส่วนภาษาญี่ปุ่นยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย ยังไม่เคยลองเรียนวิชาเนื้อหาด้วยเลคเชอร์ภาษาญี่ปุ่นล้วน และคิดว่าถ้าหากไปเรียนก็คงงงและใช้เวลาปรับตัวสักพักเลยแหละ

              แต่ด้วยแนวคิดการบูรณาการข้อดีของแต่ละแนวการสอนมาใช้ ได้เรียนเนื้อหาและภาษาไปพร้อมกัน แต่ปัญหาคือถ้าผู้สอนไม่จัดการเรียนการสอนอย่างดี ก็อาจจะทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจเนื้อหา หรือภาษาไปพร้อมกันได้ แต่หากมีบุคลากรที่มีศักยภาพเพียงพอในการสอน แนวคิดนี้ก็น่าจะมีประสิทธิภาพมากทีเดียว และอ้างอิงจาก https://www.english.com/blog/content-and-language-integrated-learning/ (อันนี้เป็นกรณีภาษาอังกฤษ) การเรียนแบบนี้เหมาะสำหรับเด็กที่ไม่ชอบเรียนภาษา เขาก็จะได้เรียนภาษาผ่านเนื้อหาไปด้วย คงเรียกว่าซึมซับไปแบบไม่รู้ตัว และสำหรับคนไม่ชอบเรียนเนื้อหาแต่ชอบเรียนภาษาก็น่าจะสนุกกับการเรียนภาษาผ่านเนื้อหาไปด้วย

             เหนือกว่าการเรียนภาษาคือการส่งเสริมให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล การมีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการสื่อสาร และมีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ถ้าหากเป็นแนวคิดที่สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะดังกล่าวได้ก็คงน่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

             สำหรับ blog นี้ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ เจอกันใหม่ blog หน้าค่าาาา

特別コーナー:仮説ランキング

              ก็เรียนทฤษฎีต่าง ๆ กันไปพอสมควรแล้วนะคะ แต่รู้สึกว่าเราไม่ค่อยได้สรุปทฤษฎีการเรียนเท่าไหร่เลย มีพูดแตะ ๆ บ้างตอนเล่าเรื่องอื่น วันนี้มีโอกาสได้เปิดชีททวน ๆ ที่เรียนไปก็เลยอยากมาจัดลำดับทฤษฎีการเรียนที่เรารู้สึกว่าชอบมาให้ดูกันค่า จะเป็นอย่างไรไปชมกันเลย

① Noticing Hypothesis (気付き仮説)

              สิ่งนี้เป็นทฤษฎีโดย Richard Schmidt เน้นไปที่การให้ผู้เรียนสังเกตตัวเอง แต่ต้องเป็นแบบตั้งใจและรู้สึกตัวคือ noticing consciously ด้วย การ noticing จะนำไปสู่การ intake หรือการรับรู้ความหมายและนำไปปรับระบบความรู้ภายในของตัวเอง กระบวนการจะเป็นแบบนี้

Input -> noticing/hypothesis testing/cognitive comparison -> intake

              จะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่การ noticing อย่างเดียวที่นำไปสู่การ intake แต่ hypothesis testing (ลองใช้ว่าจะสื่อได้หรือไม่) และ cognitive comparison (เทียบกับคนเก่งกว่า) ก็สามารถนำไปสู่การ intake ได้เช่นเดียวกัน การ noticing มี 2 ระดับ คือ แบบผิวเผิน จะรับรู้เพียงแค่มีการใช้อย่างไรบ้าง และระดับลึกซึ้ง ที่เราจะเห็นความแตกต่างของการใช้และความหมายได้มากขึ้น มีการใช้ hypothesis testing เพื่อ restructuring ตัวเอง คือปรับแก้ความรู้ของตัวเองที่มีให้ถูกต้องขึ้น

              แนวการสอนที่มาจากทฤษฎีนี้ก็พวก

              1. TBLT (Task-based language teaching)

              2. FonF (Focus on form) ให้ผู้เรียนรับ input กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การตระหนักรู้และ noticing เพื่อให้เชื่อมโยงความหมายกับรูปภาษา แนวการสอนนี้มีขึ้นเพื่ออุดช่องโหว่วของการสอนแบบ Focus on forms (สนใจแต่รูปภาษา) และ Focus on meaning (แค่สื่อสารรู้เรื่อง) ที่มีมาก่อนหน้า

              3. Processing instruction (อันนี้อาจจะไม่ได้มาจากทฤษฎีนี้อย่างเดียว) เป็นการให้ input ผู้เรียนและให้ผู้เรียนประมวลผลก่อน ทดสอบความเข้าใจแบบง่าย ๆ ก่อนจะให้ผู้เรียน output

เหตุผลที่ชอบ

              รู้สึกเป็นการเรียนรู้แบบกลาง ๆ ไม่ได้บังคับให้เรารับ input ที่อาจจะทำให้เบื่อจนมากเกินไป หรือไม่บังคับให้เราต้อง output โดยที่เราไม่มีความรู้มาก่อนซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเครียด นอกจากนี้ยังมีการทิ้งระยะเวลาให้ทบทวนตัวเองก่อนจะได้รับคำชี้แนะ ซึ่งเป็นเรื่องดี ทำให้เราได้ฝึกสังเกตตัวเอง ตอนที่เรียนจบแล้วไม่มีใครคอยชี้แนะได้ทุกครั้ง การสังเกตตัวเองของเราน่าจะช่วยในการเรียนรู้นอกห้องเรียนได้ดี รวมถึงการให้เรา noticing จะทำให้เราเรียนรู้และจำได้ฝังใจกว่าด้วย

② Sociocultural Approach/ Situated Learning

              ริเริ่มโดย Lev Semyonovich Vygotsky เน้นการเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม ไม่มีการแบ่งผู้เรียนผู้สอน แต่เป็นผู้เข้าร่วมและชี้แนะซึ่งกันและกัน ให้คนที่เก่งกว่าช่วยเหลือ ช่วยพัฒนาจากระดับที่ทำได้จริงไปสู่ระดับที่ควรจะทำได้ จะมี ZPD (Zone of Proximal Development) หรือพื้นที่รอยต่อพัฒนาการระหว่างสิ่งที่ทำได้จริงกับสิงที่จะเป็นไปได้ เน้นการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น อาจจะคล้าย i+1 (ที่เคยพูดไปในบทความก่อนหน้า และจะพูดต่อจากนี้ด้วย) แต่เน้นที่การมีส่วนร่วม ไม่ใช่ input

              มีสิ่งที่เรียกว่า Legitimate Peripheral Participation ด้วย คือการให้มีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับง่ายไปจนถึงระดับยาก จากรอบนอก (Peripheral) เข้าไปถึงข้างใน ถ้าหากเป็นเรื่องภาษาก็คือภาษาระดับง่ายจนถึงยาก เน้นการปฏิบัติจริงเป็นกลุ่มมากกว่าเรียนรู้แบบปัจเจก

เหตุผลที่ชอบ

              ชอบการที่มองผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ เน้นให้ปฏิบัติจริงและเข้าร่วมกิจกรรม ไม่ใช่การสอนหรือการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว รวมถึงบทบาทผู้สอนที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ครูที่สอนอยู่หน้าห้องเรียน แต่เป็นการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันระหว่างผู้เข้าร่วมด้วยกันเอง มีการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน ผู้สอนในทฤษฎีเป็นผู้ชี้แนะหรือช่วยเหลือเท่านั้น ผู้เรียนน่าจะรู้สึกกดดันน้อยกว่า

③ Interaction Hypothesis (インターアクション仮説)

              ทฤษฎีโดย Michael H. Long ดูคล้ายกับ ② แต่อันนี้เน้นการสนทนาแบบ face-to-face ระหว่างผู้เรียนภาษากับเจ้าของภาษา มีการใช้ communicative strategies ต่าง ๆ ทำให้การสื่อสารสามารถเป็นไปได้อย่างราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์ โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ คือ Self-repair (แก้ไขสิ่งที่ตัวเองพูด) confirmation check (ยืนยันว่าเข้าใจตรงกัน) request for clarification (ถามจุดทื่ไม่เข้าใจย้ำ) และ paraphrase (พูดใหม่ อาจจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น)

คุยกับคนญี่ปุ่นนี่บางคนได้ยินว่าเราพูดญี่ปุ่นได้ แต่ลืมถามเราว่าระดับไหน รัวซะ แง
ที่มา :
https://toyokeizai.net/articles/-/215039

              จะมีการใช้ negotiation of meaning คือพยายามสื่อสารจนกว่าจะสื่อสิ่งที่ตัวเองต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจได้หรือการส่ง comprehensible input และหลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ล้มเหลว ด้วยวิธีการสื่อสารแลกเปลี่ยนกับเจ้าของภาษานี้จะทำให้เกิดทั้ง positive evidence (บอกว่าทำอะไรถูกหรือดี และควรใช้ต่อในครั้งต่อไป) และ negative evidence (บอกว่าใช้อะไรผิด ควรแก้อะไร) ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้

เหตุผลที่ชอบ

              เป็นทฤษฎีที่หากสามารถทำได้จริง การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพมาก เพราะการสื่อสารในแต่ละครั้งเราจะได้ใช้ negotiation of meaning และได้ feedback มาเป็นทั้ง negative และ positive evidence ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับปรุงการใช้ภาษาของเราไปเรื่อย ๆ และ feedback นี้มาจากเจ้าของภาษาซึ่งใช้ภาษาได้เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว สิ่งที่ได้รับมาน่าจะเป็นประโยชน์มาก  แต่อาจจะติดปัญหาเรื่องข้อจำกัดเรื่องบุคคล หากไม่ได้ไปแลกเปลี่ยนเราไม่สามารถสนทนากับเจ้าของภาษาได้ตามใจต้องการอยู่แล้ว แล้วคนที่สนทนาด้วยก็ต้องมีการ feedback เราด้วย ตัวเขาเองก็ต้องร่วมสนทนากับเราแบบกระตือรือร้นซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นทุกคน

④ Input Hypothesis (インプット仮説)

              ทฤษฎีของ Stephen Krashen เน้นการให้ input ซึ่ง ไม่ใช่ว่าป้อนข้อมูลอะไรให้ผู้เรียนก็ได้ แต่ต้องเป็น comprehensible input คือสามารถเข้าใจได้ และ lots of input คือจำนวนมากด้วย และ input ที่ว่าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อยากกว่าผู้เรียนเพียงระดับเดียว (i+1) จึงจะส่งผลดีต่อผู้เรียนมากที่สุด  ผู้สอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนรับ input ได้ดีขึ้นด้วยการใช้ input enhancement คือเน้น อาจจะด้วยการไฮไลท์

ไฮไลท์ บางทีผู้เรียนรู้สึกว่าดูเหมือนสำคัญทั้งหน้าเลย ก็ไฮไลท์ทั้งหน้า แหะ ๆ
ที่มา :
https://www.yourdictionary.com/highlight

              แนวการสอนที่พัฒนามาจาก Input Hypothesis เช่น natural approach คือให้ input ที่เหมาะกับระดับของผู้เรียนโดยไม่อธิบายไวยากรณ์หรือการใช้ภาษา และ TPR (Total Physical Response) เน้นให้ฟัง ดู ปฏิบัติ ตอบสนองด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายและไม่บังคับให้ผู้เรียน output

เหตุผลที่ชอบ

              แนวการสอนและทฤษฎีนี้จะไม่สร้างความกดดันและภาระให้ผู้เรียนมากนัก เรียนแล้วสบายสำหรับผู้เรียน แต่หากขาดการกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ก็อาจจะไม่เกิดประสิทธิภาพและทำได้เพียงรับแต่ไม่สามารถก้าวสู่การ intake และ output ได้ ส่วนที่ชอบอีกส่วนคือการใช้ input แบบ i+1 ทำให้ผู้เรียนไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองกำลังเรียนเป็นสิ่งที่ยากเกินไป

⑤ Output Hypothesis (アウトレット仮説)

              ทฤษฎีโดย Merrill Swain เน้นให้ผู้เรียนรู้ GAP หรือช่องว่างระหว่างสิ่งที่ผู้เรียนทำได้และควรทำได้ เมื่อผู้เรียนรู้ช่องว่างก็จะทราบว่าต้องพัฒนาไปในทิศทางใด และพยายามมากแค่ไหน Output ที่ว่าต้องเป็น comprehensible output คือสามารถเข้าใจได้ด้วย ระหว่างที่ผู้เรียน output ก็จะเป็นการทดลองทฤษฎีในหัวผู้เรียนหรือ hypothesis testing ไปด้วยในตัวเอง

              แต่ผู้เรียนต้องมีการ noticing/cognitive comparison (เทียบกับคนที่เก่งกว่า) เพื่อ restructuring ในระหว่างที่ output และรับ feedback ด้วย เมื่อผู้เรียน restructuring และฝึกฝนไปเรื่อย ๆ จะเกิด automaticity/automatization คือฝึกฝนจนสามารถใช้เองได้โดยอัตโนมัติ

              แนวการสอนจากทฤษฎีนี้มี TBLT (Task-based Language Learning) คือให้เรียนรู้ผ่านการทำภารกิจให้สำเร็จลุล่วง มีทั้งแบบที่ให้ input ก่อนและให้ผู้เรียน output เลยแล้วค่อย input/feedback ทีหลัง

เหตุผลที่ชอบ

              ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เอง เจ็บเอง ผู้เรียนมีโอกาสที่จะจำข้อผิดพลาดตัวเองได้แม่นกว่า เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดลองใช้ทักษะทีผู้เรียนมี แต่หากไม่ให้ input ผู้เรียนก่อน อาจจะสร้างความกดดันให้แก่ผู้เรียนได้ โดยเฉพาะการเรียนในขั้นต้นที่ผู้เรียนยังมี input น้อย แต่หากเป็นผู้เรียนในระดับสูง การให้ output เลยน่าจะ challenging และสนุกมากกว่า

              ความจริงแล้วยังมี Affective Filter Hypothesis ด้วยแต่อันนี้ไม่สามารถให้ความเห็นอะไรได้ การให้ผู้เรียนเรียนแบบไม่มี anxiety เป็นเรื่องดีแต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่า anxiety แบบใดที่ส่งผลดีหรือผลเสียต่อผู้เรียน

              อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของเราจากที่เรียนมาหลายทฤษฎี ส่วนนึงที่เราจัดลำดับแบบนี้อาจจะเพราะประสบการณ์การเรียนภาษาญี่ปุ่นของเราเองนี่แหละ เรามีความทรงจำที่ไม่ค่อยดีกับการปล่อยให้ output แบบไม่รู้เหนือรู้ใต้แหละ ตอน feedback เราก็แอบกดดันเพราะกลัวผิด ก็เลยกลายเป็นความกลัวมากกว่าเรียนรู้ ฮือ

              แต่ว่า!

             ดูเหมือนทฤษฎีที่เราจะเรียนยังไม่หมด เปิดชีทแวบ ๆ ไปเจอ 「CLIL」 ไม่รู้จะเป็นยังไง คงต้องตามต่อใน blog หน้า!

タスク3.5:ウォーミング・アップ空想作文

            ได้รับภารกิจที่อาจเรียกได้ว่าเป็นกึ่ง 目に浮かぶ描写 และเป็น 空想作文入門 ด้วย นั่นก็คือออ การเขียนเรื่องผีนั่นเอง อาจจะมึนงงว่าทำไมต้องเรื่องผี คือ คำสั่งของภารกิจนี้เป็นการแต่งเรื่องจาก sequence เหตุการณ์สั้น ๆ ที่อ่านตอนแรกแล้วก็รู้สึกว่าทำไมมันห้วนจนน่าสงสารขนาดนี้

เรื่องมีอยู่ว่า ตัวเอกไปเจอผี แล้วก็มีผีโผล่ออกมาอีกหลายตัว หนีเข้าบ้านหลังหนึ่งไปก็เป็นบ้านผีอีก สุดท้ายก็วิ่งหนีออกมาจนถึงทุ่งหญ้า เจอเพื่อนเพื่อนก็ช่วยปราบผีให้ จบ!

ที่มา: Naverまとめ
ตอนแรกจะใส่ผีน่ากลัว ๆ แต่กลัวคนเข้ามาอ่านตกใจ เอาอันนี้ละกัน เป็นผีที่น่ารักสุดในสายตาเราแล้ว555555

              ซึ่งอ่านแล้วก็ เอ๊ะ? ยังไงนะ ภารกิจที่ได้รับก็คือ เอาโครงเรื่องนี้ไปแต่งต่อยังไงก็ได้ แบบไม่รู้สี่รู้แปด เอาตามที่ชอบเอาที่สบายใจ สุดท้ายแล้วเราก็แต่งออกมาได้ประมาณนี้ ให้ชื่อเรื่องว่า バイトからの帰り道 แต่แทนที่จะเป็นเรื่องผีดันกลายเป็นนิยายรักอยู่กลาย ๆ สงสัยจะอ่านนิยายรักมากไปหน่อย 555555 จนได้คอมเมนต์มาจากเพื่อนว่า ควรเปลี่ยนชื่อเรื่องให้สื่อกว่านี้หน่อย

              คอมเมนต์ที่ได้มาจากเพื่อนที่ให้คะแนนเรา ส่วนมากที่ชอบเพราะมันเป็นนิยายรักนี่แหละ แต่ถ้าหากจุดประสงค์ของภารกิจนี้เป็นการเล่าเรื่องผีให้น่ากลัวเราว่าเราเขียนไม่ค่อยตรงจุดประสงค์เท่าไหร่ ต้นเรื่องก็อึน ๆ หน่อยเพราะต้องบรรยายปูเรื่อง ตรงนี้ก็อาจจะเป็นข้อติได้ เพราะรู้สึกเหมือนกันว่าอ่านแล้วไม่ engage เท่าไหร่ อาจจะทำให้คนเลิกอ่านตั้งแต่ต้นเพราะดูไม่น่าติดตาม แล้วก็บรรยายผีได้ไม่น่ากลัว นี่แหละปัญหา แต่เอาเป็นว่า task นี้มันจบแล้วเราก็เลยปรับปรุงตัวใน 空想作文 full ver. ไปแล้ว ต้องรอดูฟีดแบคชิ้นนั้นจากเพื่อน ๆ อีกรอบ

              ต่อไปก็เป็นการส่องกระจกชะโงกดูความโง่(?) เอ้ย ความผิดพลาดตัวเอง

  • ไวยากรณ์ต่าง ๆ
  • คำช่วย ก็ยังมีเผลอใช้ผิดอยู่ เช่น ใช้ を見える มึนจนสงสัยว่าตัวเองอยู่ปี 3 แล้วจริงเหรอ ส่วน を悲しむ อันนี้ทวนความรู้สมัยเรียนภาษาศาสตร์ญี่ปุ่นเบื้องต้นเลย พวก 形容詞 จะมีที่เป็นแบบแสดงอารมณ์(感情形容詞)กับแสดงลักษณะ(属性形容詞)เจ้า 悲しむ เนี่ย เป็นกริยาคู่กับ 悲しい ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์แสดงอารมณ์ ถ้าใช้ 悲しむ จะเป็นคำช่วย を จะแสดงอารมณ์ที่ลึกซึ้งมากกว่า ส่วน 悲しい จะใช้ に แสดงอารมณ์ไม่รุนแรงเท่า ประมาณนี้
  • กริยา ก็ยังเป็นปัญหาเพราะขาดการตรวจให้รอบคอบอีกนั่นแหละ ใช้ 近づける แทน 近づく บ้าง ผันกริยา 置く เป็น置きて บ้าง อยากตีตัวเองเลย5555555
  • การใช้คำบ่งชี้ เช่น あの・その ซึ่งมันมีหลักการว่าถ้าหากสองฝ่ายทั้งผู้ส่งและผู้รับสารรับรู้ร่วมกันว่าหมายถึงอะไรก็ใช้ あの ได้แต่ในเรื่องเราอาจจะเขียนถึงอะไรที่ผู้รับสารไม่สามารถทราบได้ว่าเราหมายถึงอะไรจึงไม่ควรใช้ あの
  • การดำเนินเรื่อง
  • เปิดเรื่อง จากชีทที่อ.ให้มาหลังจากที่ผลัดกันอ่านของเพื่อนแล้ว ลักษณะการเปิดเรื่องมีประมาณนี้
    • เปิดด้วยบทสนทนา
    • เปิดด้วยประโยคที่ให้ภาพแบบมีการเคลื่อนไหว
    • เปิดด้วยสถานการณ์ที่ประหลาด
    • เปิดด้วยการพูดเป็นนัยว่าจะมีอะไรเกิดต่อจากนี้
    • เปิดแบบไม่มีอะไรเลย

ซึ่งของเราเนี่ยเป็นการเปิดแบบไม่มีอะไรเลย ก็คือเปิดแบบไม่ได้สื่อว่าตอนจบจะเป็นยังไง แค่เราจะเล่าโดยปล่อย clue ไปเรื่อย ๆ แต่ดูท่าจะไม่สำเร็จเพราะอ่านแล้วก็น่าเบื่ออยู่ อันนี้จะเอาไปปรับในงานหน้า

  • การดำเนินเรื่อง รู้สึกว่าเปลี่ยนอารมณ์เรื่องเร็วไปหน่อย คิดถึงแฟนอยู่ดี ๆ อยู่ ๆ ก็กลัวผีเฉยเลย5555 ตอนแต่งเองก็รู้สึกแปลก แต่งเสร็จมาอ่านทวนก็รู้สึกแปลกอีกแต่ก็ไม่รู้จะแก้ยังไงเหมือนกัน แล้วก็ เราไม่ค่อยบรรยายให้เห็นภาพเท่าไหร่ ส่วนมากก็บรรยายด้วยประโยคเรียบ ๆ ส่วนหนึ่งเพราะคลังศัพท์ในหัวก็ค่อนข้างน้อยด้วยแหละ
  • ตอนจบ โดยทั่วไปมี 3 แบบด้วยกัน
    • จบด้วยเรื่องน่ายินดี
    • กลับมาที่จุดเริ่มต้น อันนี้คือเคยอ่านที่ไม่ใช่ในคลาสนี้ อ่านแล้วจะเป็นฟีลแบบ อ่านทั้งหมดมาทำไม555555
    • จบแบบ ทั้งหมดอะ เข้าใจผิด!

เรานี่ไม่รู้จะเรียกตอนจบตัวเองว่าแบบไหนดี ไม่สามารถ categorized ตอนจบที่ตัวเองเขียนเข้าใน 3 แบบที่เขียนมาได้ เราจะเรียกมันว่าความเฉพาะตัวก็แล้วกัน แหะ ๆ

ที่มา : irasutoya

              นอกจากให้เขียนเองแล้วอ.ก็ยังให้ตัวอย่างที่คนญี่ปุ่นเขียนมาด้วย ส่วนตัวเราชอบเรื่อง 民宿のお味噌汁 เป็นเรื่องเล่าที่ดำเนินเรื่องให้ตอนจบรู้สึก เอ๊ะ? ได้ แต่ก็ไม่ได้มาตอนจบทีเดียวตู้มเลยนะ เขาพยายามปล่อย clue มาอยู่ตลอดเรื่อง ส่วนประโยคจบคือ impact มาก ตอนอ่านจบคือว้าวแรง

              สรุปแล้วภารกิจนี้ก็สนุกอยู่นะ แบบได้แหกกฎการเขียนที่เคยเขียนมาตั้งแต่เรียนภาษาญี่ปุ่นเลย ก่อนหน้านี้ก็เขียนพวก 作文 อะไรแบบนี้เยอะอยู่หรอกเพียงแต่ก็เป็น academic writing แบบกลาย ๆ คือเขียนมีรูปแบบและเป็นรูปธรรมชัดเจน ใส่จินตนาการอะไรไม่ได้มาก ออกความคิดเห็นได้บ้างแต่ก็ไม่ได้สนุกเหมือนเขียนอันนี้อะเนอะ

タスク3.5:バイトからの帰り道

バイトからの帰り道

※ที่เป็นตัวหนาไม่ได้มีนัยใดทั้งสิ้นนอกจากเป็นจุดที่โดนแก้ แหะ ๆ

夜11時ぐらい、レストランでのバイトシフトが終わった。僕はいつもと同じように歩きなれた線路沿い道を歩いて家に向かっていた。早くこの辺りを通して帰りたかったが、目に溢れている涙のせいで道がよく見えなくて、思い通りのペースで歩けなかった。今は手をつないで一緒に歩いているはずだったのになあ、と僕は思った。3日前に亡くなった彼女と。思えば思うほど悔しく感じた。なぜその日、彼女と一緒に帰らなかったのだろうと。僕と一緒だったら、強盗にあったときは僕は少しでも助けられるのかなとこの3日間ずっと思っていた。この帰り道が嫌になってしまっても避けることができないなんてもっと悔しい。ただ一つの帰り道だから仕方がなかった。

歩いて歩いて、道も妙に暗くなってしまった。いつもだったらこの帰り道はコンビニや居酒屋ばかりで暗いスポットはほとんどなかった。今日は変だなあと思うと、道の向こうに人間の存在薄く見えた。いや、薄くて、見下ろしたら足が見えなかったから人間はずがないだろう。お化けかもしれないと思ったら、彼女のこと悲しんでいるけど怖がりの僕は怖くなってしまった。怖くて何もかもはっきり見えてなかったのに、パーッと逃げ出した。後ろの方に気をつけながら走っていたが、どれだけ走っても距離が縮まってしまった。後ろを一瞬だけ振り返ったのに、もう一度前に向いたら目の前は行き止まりだった。しかも、一人だったお化けはどの方向からわからないが次々と出てきた。

お化けがどんどん増えてきて、見渡したらコンサート場の中にいるようにお化けが目に余るぐらい多かった。でも、コンサート場の中にいる雰囲気ではなく、今は怖さでいっぱいだった。怖くて息が弾んでおり、逃げ場を必死に探していた。通覧してみると近くに電気がついている家が見つかった。中には人間のような姿が見えて少し安心した。僕は静かに動いて、一歩ずつその家の方に近づいていった。しかし、十分気を付けないせいで道に置いてあるごみ箱にぶつかってしまい、音がしてお化けは全部僕の方に向いた。

まずいと思い、僕は全力で走り出した。追いてくるお化けを無視して僕が見えた家に入り込んだ。不思議なことに目の前にある家は僕の家にそっくり似ていた。しかも、家にいる人は僕の彼女だ。ありえない。彼女はもう…。「松本君…」と彼女はつぶやきながら、僕に近づいてきた。僕も一瞬彼女だと思って彼女の方に歩き出した。しかし、近づくにつれて彼女の顔はだんだん変わってきて別人になってしまった。その時、僕は気づいた。それは彼女ではない。僕の彼女に化けたお化けだ。きれいだった僕の彼女の顔は血まみれになり、笑顔もおかしくなってきた。僕はまた怖くなってその家から逃げ出した。

止まる間もなく僕は暗い道を歩いて野原まで走った。お化けたちもしつこく僕を追いかけていた。どうしたらいいかわからないときに目に入ったのは人間の姿のようだ。その姿は向きを変えて「松本くん!」と叫んだ。あの人は間違いなく親友の櫻井くんだった。でもまだ確信できないと思って、彼に近づかないことにした。どうしようもなくただじっとその場に立っていた。「後ろ!」と櫻井くんに注意されたが、僕は何もできなかった。突然、彼が高速で僕の方に走って「えいっ。」といってやってくるお化けたちをやっつけてくれた。少し時間をかけてやっとお化けは全部倒れてしまった。

「助かった、櫻井くん」と僕は言った。

彼は何も返事しないで、ただ笑った。それで、櫻井くんは僕の亡くなった彼女の姿に少しずつ変わってしまい、彼女が消える前に短い言葉を口にした。「元気でいてね」って。

ขอบคุณประโยคจบ แรงบันดาลใจจากเพลง ハッピーエンド-back number (มันขายของอีกแล้ว แง)

特別コーナー:敬語の特別講義

「お電話ありますか?」

การที่อาจารย์ยกประโยคนี้ขึ้นมาเปิดเลคเชอร์ อธิบายเรื่องไปสักพักแล้วเราเกททันทีว่ามันเป็นมุกนี่ทำให้รู้สึกดีได้จริง ๆ ด้วยความแอคทีฟของอาจารย์ตอนสอนและการเปิดที่ดี มี first impression ที่ดีทำให้วันนั้นเป็นเลคเชอร์ที่สนุกไม่น้อยเลย

敬語

สิ่งที่คนญี่ปุ่นเองก็ยังต้องเรียน ส่วนต่างชาติอย่างเราก็เรียนแต่เหมือนได้แค่ผิว ๆ สุดท้ายเวลาไปทำงานก็น่าจะต้องไปเรียนใหม่อีกรอบอยู่ดี สิ่งที่เราเรียนไปในชั้นต้นก็คือจับต้องไม่ค่อยได้และเอาไปใช้จริงยากอยู่ ส่วนมากได้ใช้แค่ตอนทำข้อสอบ แต่การจะสอน 敬語 ให้ผู้เรียนชั้นต้นเป็นโปรเลยก็คงจะยากไปอยู่ดีแหละเนอะ

อันนี้เป็นตารางสรุปเรื่อง 敬語 ในตำราเรียนชั้นต้นที่เคยเรียนหรืออ่านช่วงเตรียมสอบแพทญี่ปุ่น

อันนี้จากเล่มภาษาญี่ปุ่น ไวยากรณ์เตรียมสอบ ของสุภา ปัทมานันท์ ช่วยชีวิตไว้ตอนสอบแพทไม่น้อย
อันนี้จากเล่มไวยากรณ์ระดับ 3 สำหรับเตรียมสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ก็คือตั้งแต่สมัย JLPT ยังไม่เป็น N5-N1 แต่เล่มนี้ดีอยู่ ช่วยชีวิตไว้ตอนเตรียมสอบแพทและ N4 ตอนม.ปลายเยอะเหมือนกัน

ในตารางที่แปะไปทั้ง 2 อันเป็นรูปแบบที่เรียกว่า 不規則形 คือไม่เป็นไปตามกฎ เป็นข้อยกเว้น อีกแบบคือ 規則形 คือการผันที่มีระเบียบแบบแผน เช่น การผันรูปยกย่องให้เป็น お~になる หรือ ~られる หรือการผันรูปถ่อมตัวให้เป็น お~する

น่าจะสังเกตได้ว่าเล่มแรกคือเป็นฉบับสำเร็จรูปให้ท่องไปสอบจริง ๆ เลย ส่วนอีกเล่มมีการอธิบายเพิ่มเติมก็เหมือนจะเข้าใจขึ้นมานิดนึงแต่สำหรับผู้เรียนชั้นต้นมาอ่านก็คงเอ๊ะ? อยู่พอสมควร ขนาดว่าเราเรียนมาถึงระดับกลางปลาย ๆ แล้วบางอันยังเอ๊ะเลยว่าทำไมกัน แหะ ๆ มันจะเป็นความแบบ จำอันนี้ไปแล้วยังไงต่อ ต้องใช้ตอนไหน ผันยังไง ยกกรณีตัวอย่างที่ประสบด้วยตัวเองก็คือ ตอนคาบคอนเวอร์ (อีกแล้ว?) มีเรียนเรื่องเคโกะแล้วให้ผันประโยคประมาณนี้

今日、先生が大学に来る。

ให้ผัน 2 ระดับ คือระดับที่ใช้พูดกับเพื่อนและใช้พูดกับคนที่อาวุโสกว่า ตอนนั้นก็ผันไปแบบนี้

ระดับเดียวกัน : 今日、先生が大学に来る。

ระดับสุภาพ : 今日、先生が大学にいらっしゃいます。

ปรากฏว่าคนโดะเซนเซบอกว่า อันแรกควรใช้เป็น 今日、先生が大学にいらっしゃる คือต้องผันเป็นรูปยกย่องแต่เป็นรูปธรรมดาไม่ใช่รูปสุภาพ ได้คำอธิบายมาว่าเป็นการกระทำของอาจารย์เลยต้องยกย่องแต่คนที่เราพูดด้วยไม่จำเป็นต้องใช้รูปสุภาพด้วย ซึ่งตรงกับเลคเชอร์ที่ได้ฟังไปเลย

การใช้ก็จะแบ่งออกเป็น 6 แบบดังตารางนี้

  普通形 丁寧形
尊敬形 お~になる お~になります
基本形 ~ます
謙譲形 お~にする お~にします

              การตัดสินว่าจะใช้รูปไหนตอนหนต้องพิจารณาว่า

  1. เราอยู่ในสถานะใด ทั้งต่อคนที่ปรากฎในเรื่องที่กำลังพูด และต่อคู่สนทนา
  2. คนที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่ในสถานะใด : หากพูดถึงคนที่เรายกย่อง เช่น อาจารย์ในเรื่องที่สนทนาเราต้องใช้ 尊敬形 แต่การเลือกว่าจะใช้เป็น 普通・丁寧形 นั้นต้องพิจารณาคู่สนทนาในขณะนี้ด้วย
  3. คนที่เรากำลังสนทนาด้วยอยู่ในสถานะใด : หากคู่สนทนามีสถานะสูงกว่าหรือไม่สนิทก็ต้องใช้รูปสุภาพหรือ 丁寧形 แต่ถ้าเป็นเพื่อนหรือสนิทกันจะใช้ 普通形

สรุปได้ว่าการใช้ 敬語 มี 2 ระดับ คือ ต่อผู้ที่เราพูดถึงในหัวข้อสนทนา (素材敬語) และต่อคู่สนทนาของเรา (対話敬語)

  1. 素材敬語  尊敬語                ใช้ยกย่องการกระทำของอีกฝ่าย

    謙譲語                ใช้ถ่อมการกระทำของตัวเองเพื่อยกย่องอีกฝ่ายโดยอ้อม

2. 対話敬語    丁寧語                ใช้แสดงความสุภาพต่อคู่สนทนา

แต่ประเภทของ 敬語 ไม่ได้มีแค่เพียง 3 ประเภทนี้เท่านั้น ยังมี

  1. 丁重語 ซึ่งสามารถจัดเป็นประเภทหนึ่งของ 謙譲語 ก็ได้ ใช้แสดงความสุภาพต่อคู่สนทนาจึงต้องมีคู่สนทนาและใช้รูป 丁寧形 เสมอ เช่นคำว่า ござる、おる ซึ่งคำเหล่านี้ไม่สามารถใช้รูป 普通形 ได้เพราะดังที่บอกไปว่าใช้แสดงความสุภาพต่อคู่สนทนา หากไม่มีคู่สนทนาก็ใช้ไม่ได้
  2. 美化語 เติม お・ご เพื่อให้ดูเป็นการใช้คำแบบงดงาม ชั้นสูง

สรุปแล้วว่าในเลคเชอร์นี้ ส่วนมากก็จะเป็นความรู้ที่เคยเรียนมาแล้วทั้งจากคาบไวยากรณ์ คาบสนทนา รวมไปถึงคาบภาษาศาสตร์สังคมด้วย แต่การอธิบายของอาจารย์ทำให้เข้าใจเรื่องการใช้มากขึ้นว่าจะใช้ในสถานการณ์ไหนบ้างและมีเกณฑ์ในการเลือกใช้อย่างไรได้แบบคร่าว ๆ

遊ぼう:またバクナンだよ:)

              เพิ่งปั่นรีพอร์ตดราฟแรกเสร็จ มาถึงจุดที่ไม่อยากทำสิ่งมีสาระใด ๆ แล้ว ฮือ เหนื่อย เพราะฉะนั้น blog มีสาระจะตามมาทีหลัง ตอนนี้ขออนุญาตเขียนสิ่งไร้สาระเพื่อเยียวยาจิตใจ

              กลับมากันอีกครั้งกับช่วงขายของ คราวก่อนป้ายยา back number ไปไม่รู้ใครไปลองฟังเพลงบ้างหรือยัง เพื่อเป็นการป้ายยาอย่างต่อเนื่องบล็อคนี้จึงเขียนเรื่องของ back number ต่อเลยแล้วกัน5555555 เพลงพี่เขาดีจริง ๆ ไปฟังเถอะ แล้วจะไม่ผิดหวัง

              แต่สงสัยไหมว่าวงนี้เนี่ย ถือกำเนิดขึ้นมาได้ยังไง?

              มีคำตอบจ้า อยู่ในรายการ 嵐にしやがれ เลย เดี๋ยววันนี้จะมาเหลาให้ฟัง แต่ก็ขอเกริ่นก่อนเลยว่า ช่วง 3-4 ปีก่อนนี่เป็นแฟนรายการนี้เลยแหละ เพราะอะไรให้ทาย ใช่ค่า ชอบอาราชิ555555 (เพราะฉะนั้นนี่จะเป็นการขายแบบ 2 วงพร้อมกัน) สมัยก่อนต้องมุดสตรีมสดดูผิดกฎหมายก็มีความพยายามในการดู แต่ตอนนี้เหนื่อยเลยตามย้อนหลังดูแค่เทปที่อยากดูเอา และแน่นอนว่าก็ผิดลิขสิทธิ์เหมือนเดิม แหะ ๆ

              อะ เข้าเรื่อง วันนึงไถทวิตเตอร์อยู่ก็เจอว่า วง back number เนี่ยจะไปออกรายการ 嵐にしやがれ ซึ่งปกติเนี่ย พี่แบคเขาจะออกแต่รายการพวก Music Station อะไรแบบนี้ ไม่เคยมาออกรายการวาไรตี้อะไรแบบนี้หรอกเพราะเขาสายร้องเพลงจริง ๆ ไม่ใช่สายเอนเตอร์เทนเนอร์แบบไอดอลจอห์นนี่ส์อย่างอาราชิ คือแม้แต่อาราชิเองก็ยังงง นิโนะมิยะซังก็ถามว่า ตอนตอบตกลงมาออกรายการนี่เมาหรือเปล่า 55555

              เอาล่ะ เข้าเรื่อง (ที่ไม่เป็นเรื่อง) กัน!

              ตอนแรกเลยก็คือเล่าเรื่องจุดเริ่มต้นของวง ก็คือว่าตาหัวหน้าวงคือคุณชิมิสึเนี่ย เขาโดนคนที่ทำวงดนตรีอยู่แย่งแฟน พี่แกก็เลยคิดจะตั้งวงแข่ง คิดว่าถ้าชนะแฟนก็คงกลับมาหาตัวเองอะไรแบบนี้ ก็เลยตัดสินใจเล่นกีต้าร์แล้วก็ตั้งวงของตัวเองขึ้นมา แบบนี้นี่เองถึงได้แต่งเพลงอกหักได้ปวดตับมาก ๆ แต่ที่ตลกก็คือ หนึ่งในสมาชิกวงคนปัจจุบันคือมือกลองเนี่ย เคยเป็นอดีตมือกลองวงของคนที่เป็นคนแย่งแฟนคุณชิมิสึไปนั่นเอง55555

              ต่อมาก็พูดถึงที่มาของชื่อวงว่า back number คุณชิมิซึเขาเล่าไว้แบบนี้ค่ะ

              สำหรับเขาที่โดนแฟนทิ้งไปเนี่ย ก็เปรียบตัวเองเป็นของตกรุ่นที่ไม่มีใครต้องการ สแลงภาษาอังกฤษของคนหรือของที่ตกรุ่นหรือแบบไม่มีใครชื่นชม ไม่มีใครสนใจแล้วเพราะมีอย่างอื่นที่ดีกว่าคือคำว่า back number นั่นเอง พี่เขาก็เล่าต่อว่า ช่วงทำวงแรก ๆ เนี่ย ไปแสดงสดก็มีคนดูแบบ หนึ่งคนสองคน และจะไม่ชวนเพื่อนมาดูการแสดงเด็ดขาดเพราะเชื่อมั่นว่า ถ้าแสดงอยู่แล้วคนที่เดินผ่านไปผ่านมาไม่มีใครสนใจเนี่ย ก็คงทำมาหากินด้วยอาชีพนักร้องไม่ได้

              แล้วก็ไม่ได้จริง ๆ แหละช่วงแรก ทั้ง 3 คนคือต้องไปทำงานพิเศษเพื่อเลี้ยงปากท้องตัวเอง ทำไบต์อยู่นานมาก ๆ จนกระทั่งเสียงไปเตะหูได้เดบิวต์ขึ้นมานั่นแหละ ตอนแรกคือส่งเดโม่เพลงไปที่ค่ายเพลงแต่ไม่ได้ให้ช่องทางติดต่อกลับเพราะเชื่อว่า ถ้าดีจริง ๆ ค่ายเพลงจะต้องมาตามหาตัวอะไรแบบนี้ ถ้าเขาไม่มาตามหาแสดงว่าไม่ได้ดีจริง ๆ 5555555 แต่สุดท้ายก็ได้เดบิวต์เพราะว่ามีคนทำงานอยู่ในค่ายเพลงมาฟังการแสดงสดของวงนี้แล้วเอาไปบอกประธานค่าย ก็เลยได้เดบิวต์ในที่สุด

               แล้วก็อย่างที่รู้กันว่า back number เนี่ย ได้รับการขนานนามว่าเป็นราชาเพลงอกหักเลยทีเดียว อาราชิก็เลยถามว่าตอนแต่งเพลงเนี่ยทำยังไง คุณชิมิสึก็เลยตอบว่า ก็เขียนแบบให้มีตัวเอก ถ้าเขียนไปเรื่อย ๆ แล้วตอนไหนเริ่มเห็นหน้าตัวเอกไม่ชัดเจนก็จะเขียนใหม่อยู่แบบนี้ โห ไม่แปลกใจเลยทำไมพี่แกแต่งเพลงออกมาแต่ละเพลงคือในหัวจินตนาการได้เป็นฉาก ๆ

              ที่เหลือของรายการก็เป็นช่วงเม้าท์มอยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย แต่ที่ตลกสุดน่าจะเป็นอันนี้…

              คุณชิมิสึหัวหน้าวงกินโซบะเป็นอาหารกลางวัน 365 วัน?!!

              คือก็ดูเว่อร์มาก และคุณชิมิสึก็แย้งด้วยว่า ไม่จริง ไม่ถึง 365 วันอะ อาจจะแค่ 300 วัน คือพี่คะ มันก็เยอะอยู่ดี55555555 ในการนี้อาราชิก็เลยจัดให้มีควิซแข่งขันกันตอบว่าเสียงนี้คือเสียงอะไร ก็จะมีพวกเสียงที่เปิดก่อนหนังฉาย เสียงโทรศัพท์ในร้านคาราโอเกะอะไรแบบนี้ ให้ back number มาแข่งกับอาราชิที่เห็นแก่กินขนาดนั้นจะชนะเหรอ ผลสุดท้ายก็คือพี่ ๆ back number อดกินจ้า สงสาร555555

              รายการนี้ก็คือ เปิดโลกรายการวาไรตี้สำหรับ back number ถ้าพวกพี่เขาไม่ไปออกรายการวาไรตี้อีกก็รู้เลยว่าเป็นเพราะเข็ดรายการนี้นี่แหละ5555555 สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน เจอกันบล็อกมีสาระคราวหน้า สวัสดีค่ะ

              ก่อนไปขออนุญาตฝากซิงเกิลใหม่ของ back number ชื่อว่า HAPPY BIRTHDAY ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจทุกคนด้วยค่า

実際応用:いい聞き手の繰り返し

              วันจันทร์ที่แล้วนั้นได้เรียนเรื่องการเป็นผู้ฟังที่ดีโดยเรียนจาก task เรื่อง 目に浮かぶ描写 ที่ทำไปก่อนหน้านี้ ตอนนั้นก็คือแอบงงว่าทำไมอ.ถึงต้องให้ถอดเสียงคู่สนทนาด้วย ตอนนี้ถึงบางอ้อแล้ว 55555555 ก็คืออ.จะให้สังเกตพฤติกรรมเวลาที่เราเป็นผู้ฟังเรื่องราวของคนอื่นว่าเรามีการตอบโต้แบบใดบ้าง

              ตอนนั้นคู่สนทนาเราคือพี่โต้ ในเสียงที่อัดมาพี่โต้พูดอยู่ 2 อย่างคือ うん กับ うんうん แล้วก็มีช่วยตอบเวลาเรานึกศัพท์ไม่ออกบ้าง ส่วนเรานั้น…จากที่พี่โต้บันทึกเสียงไว้ สรุปได้ว่า ไม่ได้พูดอะไรเลย! เราก็งงว่า ไม่ตอบไรเลยจริงอ่อ พี่เขาฟังอีกรอบก็บอก ไม่มีจริง ๆ จำได้แค่ว่าตอนนั้นเหมือนเราพยักหน้ารับรู้ตอนเขาเล่า เลยรู้ธรรมชาติตัวเองเลยทันทีว่าเราเกลียดการพูดแทรกคนอื่นเวลาสนทนากันมาก! คือรู้สึกว่ามันค่อนข้างเสียมารยาท ไม่รู้ว่าทำไมถึงคิดแบบนั้น จะว่าเพราะอยู่ในสังคมไทย ๆ ก็ไม่ได้อีกเพราะไม่ได้คิดแบบเราทุกคน

              ซึ่งนี่เป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดในการเป็นผู้ฟังที่ดีแบบชาวญี่ปุ่น เพราะการฟังแบบญี่ปุ่นต้องมีการตอบรับคู่สนทนาด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนขัดกับเนเจอร์ของตัวเราทั้งสิ้น แต่เหมือนจะแก้ได้ด้วยการพยายามรับรู้และตอบรับแบบรับรู้ให้ได้ ไม่ใช่ฟังเพลินฟังผ่าน ในห้องเรียนก็คิดแหละ ไว้คราวหน้าถ้ามีโอกาสจะลองพยายามพูดตอบรับระหว่างสนทนาดูบ้าง

              และโอกาส มาเร็วมาก…

              จนเริ่มสงสัยแล้วว่า ทำไมเนื้อหาวิชานี้กับวิชาอื่นมันทับกันบ่อยจัง แหะ ๆ (แต่ดีตรงมีเรื่องมาให้เขียน blog นี่แหละ) เรื่องก็คือว่า หลังจากวันจันทร์ที่เรียน วันรุ่งขึ้นก็เรียนคาบสนทนาต่อ แล้วก็พบว่า บทเรียนในวันนั้นคือเรื่อง 対話上手 คือไม่ใช่แค่พูดเก่งหรือฟังเก่งนะ ต้อง 対話 เก่ง คือสนทนาตอบโต้เก่งนั่นแหละ

              แต่เราก็แอบสงสัยเล็กน้อยถึงปานกลางว่า 対話 ต่างกับ 会話 ยังไงหว่า ก็เลยลองไปหาใน google ดูแล้วก็พบสิ่งน่าสนใจ เลยแปะไว้ดีกว่า เนื้อความได้ประมาณว่า 会話 เป็นแค่การคุยสนุก ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับคู่ในสนทนา ส่วน 対話 เป็นระดับที่คุยกันเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างจริงจังแต่อยู่ในอารมณ์ที่อิสระ พยายามเข้าใจความคิดเห็นที่แตกต่างของอีกฝ่ายหนึ่ง ใช้คำถามเพื่อเอาความรู้จากอีกฝ่ายหนึ่ง ตามรูปด้านล่างนี้

ที่มา:
https://www.ourfutures.net/about/dialogue

              จริงเท็จเพียงใดไม่รู้ แต่กลับมาที่การสนทนาในคาบนี้กันดีกว่า ที่เรียนมาก็คือการจะตอบโต้ได้เก่งนั้น เป็นผู้พูดหรือเล่าเรื่องก็ต้องคอยสังเกตผู้ฟังและไม่ทิ้งผู้ฟังไว้กลางทาง ไม่ให้ผู้ฟังรู้สึกว่า เอ…พูดอัลไลของแกว้า อะไรประมาณนั้น

              ส่วนฝ่ายที่ฟังเนี่ยก็จะมีหลักการเดียวกับที่เรียนในคาบ App Jp Ling เลยก็คือ ต้องมีการตอบโต้คู่สนทนาให้รู้ว่าเรากำลังฟังอยู่นะ แสดงออกว่าเห็นด้วย แสดงอารมณ์ตกใจ สงสัย กระตุ้นให้คู่สนทนาเล่า ออกความเห็นหรือความรู้สึกต่อเรื่องของผู้พูดหรือไม่ก็เสนอข้อมูลที่เรามีอยู่

              ซึ่งในคาบสนทนา เราเรียนว่าการตอบโต้มี 3 แบบคือ 1.พยักหน้า 2.การใช้あいづち3.ทวนคำพูดอีกฝ่าย (オウム返し)หลักการเดียวกันเป๊ะ ๆ จนหันไปมองน้องอาร์ต (ที่เรียนด้วยกันเนี่ย) ว่ามันคุ้น ๆ เนอะแกร555555

สำนวนนี้ก็มีที่มาจากนกแก้ว (オウム)นี่แหละ เวลาคนพูดอะไรใส่ นกแก้วก็จะทวนคำพูด หลักการเดียวกันกับการสนทนาเลย
ที่มา:
https://www.direct-commu.com/training/a_013.html

              แต่การจะพูด あいづち ระหว่างการสนทนาก็มีเรื่องควรระวังเหมือนกัน คือ ต้องพูดแบบไม่ให้รบกวนการพูดของอีกฝ่าย ไม่ทำให้อีกฝ่ายผิดจังหวะและบอกความคิดหรือความรู้สึกของตัวเองอย่างง่าย ๆ ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยากมากและขัดกับธรรมชาติของตัวเราเองมาก ๆ พอพยายามจะพูด あいづち ก็ดันคิดเยอะอีกว่า จะไปกวนเขาหรือเปล่า สรุปก็คือมัวแต่คิดถึงหลักการ พูดไม่ออก แง

              แต่สุดท้ายท้ายคาบก็แจคพอตต้องออกไปสนทนากับเพื่อน ความจริงแล้วเป็นผลกรรมที่ไปชี้เพื่อนว่าอยากฟังเพื่อนพูดก่อน เพื่อนเลยชี้กลับนั่นเอง ตอนนั้นก็คือ พยายามมากในการเป็นผู้ฟังที่ดี ทั้งพยักหน้า ทั้ง あいづち ทั้ง オウム返し คือรู้สึกตัวว่าตัวเองเนี่ยพูดเยอะขึ้นและเลิกพยักหน้าอย่างเดียวแล้ว เพียงแต่ว่า คุยเสร็จก็คือ พลังงานหมด เหนื่อยมากเพราะฝืนตัวเอง แต่ฝืนบ่อย ๆ ก็น่าจะติดเป็นนิสัยได้บ้างแหละ

              เพราะฉะนั้น จากนี้จะพยายามเยอะ ๆ ในการเป็นผู้ฟังที่ดีและเป็นผู้ฟังที่ไม่แทรกในจังหวะนรก!